21 ธันวาคม 2558

รายงานผลการจัดการความรู้ กิจกรรม ครั้งที่ 5 เรื่อง แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องงานบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น8)

รายงานผลการจัดการความรู้ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
1. ชุมชนแนวปฏิบัติ   ชุมชนคนใกล้หมอ
2. ประเด็นความรู้ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์  พัฒนาห้องสมุดให้เป็น Learning Center
3. องค์ความรู้ที่จำเป็น การบริการและส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ
4. กิจกรรม ครั้งที่ 5
                   เรื่อง  แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องงานบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น8)
5. วันที่จัดกิจกรรม 17 พ.ย. 2558  เวลา  13.3015.30 น  สถานที่ ห้องประชุมชั้น 8  ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์
6. วัตถุประสงค์  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องงานบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น6)

7. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม สมาชิกชุมชนคนใกล้หมอ จำนวน  21 คน
เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน2558 ได้จัดกิจกรรม KM ครั้งที่ 5 ของชุมชนคนใกล้หมอ ในครั้งนี้มีเนื้อหาที่นำมาศึกษาด้วยกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องงานบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น 8)  โดยวิทยากร ได้แก่ คุณกมลชนก  มาแสงตา คุณวิชชนน  วศินเมธากูร และคุณวุฒิไกร อุสุยะ เป็นผู้ให้ความรู้สำหรับกิจกรรม KM ในครั้งนี้   ก่อนอื่นนั้น คุณชมพูนุช สราวุเดชา หัวหน้างานห้องสมุด (คุณเอื้อ) ได้กล่าวถึงกิจกรรม KM ของครั้งที่ผ่านมา เพื่อเป็นการทบทวนเนื้อหาเดิมที่ผ่านมา โดยในกิจกรรมครั้งที่  4 นั้นเป็นกิจกรรมเติมเต็มความรู้ เรื่อง  แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องงานบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น 8)   โดยทีมวิทยากรนำโดย คุณชนันท์ฐิดา  ผะสม หัวหน้าหน่วยบริการห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ ซึ่งสมาชิกในชุมชนต่างก็เข้าร่วมกิจกรรมโดยพร้อมเพียงกัน ทั้งนี้เพื่อเป็นการเติมเต็มความรู้เรื่องการให้บริการห้องสมุดของสมาชิกด้วย นอกจากนี้ประธานชุมชนยังได้เชิญชวนให้สมาชิกในชุมชนเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์ของชุมชนคนใกล้หมอ เพื่อทบทวนเนื้อหากิจกรรม KM ที่ผ่านมาในแต่ละครั้ง รูปภาพกิจกรรมต่างๆ คลังความรู้ และสรุปแบบประเมินผลกิจกรรม KM แต่ละครั้งอีกด้วยเช่นกัน
          จากนั้นคุณเอื้อได้ส่งมอบให้กับวิทยากรรับช่วงต่อในการให้ความรู้ ดังนี้
          1. คุณกมลชนก  มาแสงตา ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับภาพรวมในงานบริการและทรัพยากรที่มีให้บริการในชั้น8 ซึ่งจะขออธิบายคร่าวๆ ดังนี้
         1. New Book Releases  ชั้นแสดงทรัพยากรใหม่มีมาให้บริการที่ชั้น8 ซึ่งทรัพยากรทุกประเภทที่จะนำขึ้นชั้นให้บริการนั้น จะต้องนำจัดขึ้นชั้นที่ชั้นนี้ก่อนเสมอ
         2. General Book หนังสือทั่วไป ผู้ใช้สามารถยืมได้ 7 วัน
         3. Juvenile Book & Fiction Books หนังสือเยาวชน หนังสือนวนิยาย ฯลฯ สามารถยืมได้ 7 วัน
         4. General Book Collection หนังสือคอลเลคชั่นพิเศษ ดังนี้
1) หนังสือศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย ฯพณฯ องคมนตรี (แถบเขียวแดง) (ห้ามยืมออก)
2) หนังสือการเงิน การออม และการลงทุน (จุดม่วง)
3) หนังสือท่องเที่ยว (จุดเหลือง)
4) หนังสืออาหารและงานฝีมือ (จุดแดง)
5) หนังสือคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี (จุดเขียว)
6) หนังสือฝึกทักษะภาษา (จุดขาว)
7) หนังสืออาเซียน (จุดน้ำเงิน
          5. Magazine นิตยสารทั่วไป  เช่น อสท. เที่ยวรอบโลก แพรว / ดิฉัน Secret National Geographic ฉบับภาษาไทย Money & Wealth Health Today
          6. Edutainment Resource CD / VCD / DVD แบ่งตามประเภท ดังนี้
1) ภาพยนตร์ (จุดแดง)
2) ความรู้และสารคดี (จุดม่วง)
3) ธรรมะ (จุดเหลือง)
4) คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี (จุดเขียว)
5) ทักษะภาษา (จุดขาว)
6) สุขภาพและการออกกำลังกาย (จุดน้ำเงิน)
          พื้นที่ให้บริการในบริเวณชั้น8 ที่ให้บริการแก่ผู้ใช้ มีดังนี้
         1. Asean Corner พื้นที่นั่งอ่านมุมอาเซียน ให้บริการหนังสือและทรัพยากรอื่นๆเกี่ยวกับอาเซียน รวมทั้งความรู้เกี่ยวกับอาเซียนทางการแพทย์
         2. Interesting Book Displays มุมนิทรรศการหนังสือน่าอ่านหมุนเวียนทุก 2 เดือน
          3. English Clinic: S.E.L.F. Center: ENCONCEPT ห้องเรียนภาษาอังกฤษสำหรับผู้ลงทะเบียนเรียน เป็นห้องฝึกทักษะภาษาอังกฤษที่มีคอมพิวเตอร์และโปรแกรมให้นักศึกษาฝึกทักษะภาษาอังกฤษด้วยตนเอง โดยสถาบันกวดวิชาภาษาอังกฤษ Enconcept โดยผู้ใช้จะต้องจองเครี่องคอมพิวเตอร์ก่อนเข้าเรียนทุกครั้ง
          4. Living & Reading area บริเวณโถงกลางส่วน Living area สามารถใช้เป็นพื้นที่จัดกิจกรรม หรือแสดงนิทรรศการได้ตามโอกาส โดยนักศึกษาสามารถทำเรื่องขอใช้สถานที่ได้ที่หน่วยบริการและธุรการ
         5. Private reading rooms  ห้องศึกษาค้นคว้าส่วนตัว จำนวน 10 ห้อง โดยผู้ใช้ต้องวางบัตรประจำตัวเพื่อแลกกุญแจห้อง การคืนกุญแจ ให้คืนกุญแจก่อนออกนอกห้องสมุด, ไม่นำกุญแจออกจากห้องสมุด ขอความร่วมมือไม่นำเบาะนั่ง-อาหารเครื่องดื่มเข้าไปในห้อง และไม่ส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น
          6. เคาท์เตอร์บริการ ชั้น 8 โดยมีเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ ช่วยตอบคำถามเบื้องต้นให้แก่ผู้ใช้ และช่วยเหลือผู้ใช้ รวมทั้งมีการกรอกสถิติการใช้ห้องอ่านเดี่ยว โดยจะกรอกผ่านระบบออนไลน์ในหน้าจอคอมพิวเตอร์
         7. ห้องเทคโนโลยีสารเทศ (ITSC) ให้บริการคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (JumboPlus) จำนวน 25 เครื่อง รวมทั้งมีการกรอกสถิติการใช้ห้อง ITSC โดยจะกรอกผ่านโปรแกรม Excel ในหน้าจอคอมพิวเตอร์ (ระบบออฟไลน์) โดยจะเก็บสถิติวันละ 2 ครั้ง คือ ช่วงเช้า เวลาประมาน 10.30 น. และช่วงบ่าย เวลาประมาน 14.30 น.
         8. ห้องประชุมเล็ก ชั้น 8 การใช้ห้องประชุมกลุ่มย่อย โดยจะต้องมีผู้ใช้ไม่ต่ำกว่า 5 คน ซึ่งสามารถจองล่วงหน้าได้ที่สำนักงานห้องสมุดชั้น 5 โทร. 35202-3  หรือทำหนังสือขอใช้ห้องผ่านทางสำนักงานห้องสมุดได้เช่นกัน
         เพิ่มเติม ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 5 หน่วยงานอื่นสามารถมาใช้บริการได้ โดยสามารถจองล่วงหน้าได้ โดยการทำหนังสือขอใช้ห้องผ่านทางสำนักงานห้องสมุดได้
         9. ห้องโสตทัศนศึกษา บริการ CD-DVD สารคดี, สื่อเรียนรู้ฝึกภาษาต่างประเทศ การสอบ TOEFL, IELTS ฯลฯ ภาพยนตร์ประเภทบันเทิง ให้เปิดชมภายในห้องเท่านั้น ขอความร่วมมือไม่นำขนม-เครื่องดื่มเข้ามาทานในห้อง และไม่ยืมใช้ห้องเพื่อนั่งอ่านหนังสือ หากนักศึกษาต้องการดูสื่ออื่นๆที่ไม่มีในห้องสมุด ต้องให้เจ้าหน้าที่ห้องสมุดตรวจสอบก่อนเสมอ โดยรายชื่อสื่อวีดิทัศน์ที่มีให้บริการ ดูได้จากฐานข้อมูล CD-ROM ได้ที่ http://www.med.cmu.ac.th/library/mult_res/ นอกจากนี้ CD-DVD ทางวิชาการ, สารคดี, สื่อเรียนรู้ฝึกภาษาต่างประเทศ นักศึกษาปริญญาตรีสามารถยืมได้จำนวน 3 เรื่อง 7 วัน
          Living Library ชั้น 8 สามารถเข้าใช้บริการทางประตูทางเข้าชั้น 8 และออกจากห้องสมุดทางชั้น 6 เท่านั้น และขอความร่วมมือผู้ใช้บริการเก็บเบาะรองนั่งและหมอนอิงให้เป็นระเบียบ หลังจากใช้บริการเสร็จเรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้นักศึกษาช่วยเสนอสั่งซื้อได้ผ่านบริการขอสั่งซื้อหนังสือทางออนไลน์ /รวบรวมที่หัวหน้าชมรมห้องสมุด สโมสรนักศึกษา แพทย์/เลือกเสนอรายชื่อหนังสือได้ที่ร้านหนังสือที่ร่วมงาน Medical Book Day ทุกปี
           จากนั้นได้ให้สมาชิกในชุมชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ เกี่ยวกับงานบริการของชั้น 8 โดยมีประเด็นที่สำคัญ ดังนี้
           คุณชมพูนุช  ประธานชุมชนฯ ได้สอบถามเรื่องการกรอกสติถิการใช้บริการห้องศูนย์ ITSC และห้องอ่านเดี่ยว ซึ่งคุณวุฒิไกร ก็ได้อธิบายการเก็บสถิติ และการกรอกสถิติในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะมีแบบฟอร์มออนไลน์ และแบบออฟไลน์ไว้ที่ไอคอนตรงหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่เคาท์เตอร์ให้บริการ ชั้น 8
           คุณสุรชาติ ได้สอบถามถึงเรื่องการขาดการปฏิบัติงานของนักศึกษาช่วยงานห้องศูนย์ ITSC ว่ายังมีการขาดการปฏิบัติงานของนักศึกษาหรือไม่ คุณวิชชนนได้ให้คำตอบว่า ปัจจุบันมีการขาดการปฏิบัติงานของนักศึกษาลดน้อยลงไปมาก
          คุณอัมพรได้เสนอเรื่อง การนำกุญแจห้องอ่านเดี่ยวออกจากห้องสมุด โดยอยากให้เน้นย้ำและเตือนผู้ใช้ก่อนที่จะให้บริการว่าไม่ให้นำเอากุญแออกติดตัวจากห้องสมุด
          คุณชัยรัตน์ได้อธิบายเรื่อง หนังสือประเภท Staff only ว่าเป็นหนังสือที่จัดให้บริการสำหรับบุคลากรภายในห้องสมุด ซึ่งจัดเก็บไว้ที่ห้องของหน่วยบริการชั้น 6 แต่ Location ใน OPAC ยังเป็น Living Library ชั้น 8 อย่างไรก็ตาม หนังสือประเภทนี้สามารถให้ผู้ใช้ยิมได้ตามปกติ แต่ขอความกรุณาเมื่อผู้ใช้นำหนังสือมาคืนแล้ว ให้นำมาเก็บไว้ที่ห้องของหน่วยบริการชั้น 6 ตามเดิม
           จากนั้นมีการปรึกษาหารือ เรื่องแนวทางการให้บริการห้องอ่านเดี่ยว ว่าควรให้บริการแก่ผู้ใช้ครั้งละกี่คน และกี่ชั่วโมง ซึ่งได้ข้อสรุปว่า ไม่จำกัดจำนวนการใช้ห้องอ่านเดี่ยว แต่ต้องเฝ้าระวังไม่ให้เกิดเสียงดังรบกวนห้องข้างเคียง และแก้ไขปัญหาตามสถานการณ์ ส่วนเรื่องของจำนวนชั่วโมงการใช้บริการในแต่ละครั้ง กับเรื่องประเภทของผู้ใช้บริการนั้น ตอนนี้ยังไม่มีข้อสรุป และยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนว่าจะให้บริการในรูปแบบไหน ซึ่งจะต้องหาแนวทางที่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสมที่สุด นอกจากนี้มีการแนะนำเรื่องการเก็บสถิติการใช้ห้องอ่านเดี่ยว โดยแนะนำให้เก็บสถิติโดยแยกประเภทของผู้ใช้บริการ จำนวนคน/เดือน เพื่อที่จะนำข้อมูลมาประมวลผลและใช้เป็นแนวทางการให้บริการต่อไปในอนาคต และเรื่องการนำกุญแจห้องอ่านเดี่ยวเข้าสู่ระบบ Millinium  เพื่อให้ผู้ใช้ที่มีบัตรสมาชิกห้องสมุดสามารถเข้าใช้บริการ ให้เหมือนกับการยืมทรัพยากรสารสนเทศประเภทอื่นๆ ซึ่งประเด็นนี้เป็นแนวทางที่ได้หารือกันในการให้บริการต่อไปในอนาคต
           นอกจากนี้มีประเด็นเรื่องการถ่ายเอกสารของผู้ใช้ โดยจะหาแนวทางการให้บริการต่อไป ซึ่งคุณชัยรัตน์ได้ให้ข้อเสนอแนะว่า อาจจะมีการให้บริการเครื่องสแกนไว้ให้บริการที่ชั้น 6 ให้แก่ผู้ใช้ เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการถ่ายเอกสารในเบื้องต้น ซึ่งหากจะปฏิบัติจริงๆ ก็ต้องหาเครื่องสแกนที่มีประสิทธิภาพและสามารถให้บริการได้อย่างเกิดปัญหาน้อยที่สุด จากนั้นมีการเสนอเรื่องการเก็บข้อมูลการให้บริการการขอถ่ายเอกสารจากผู้ใช้ โดยทางหน่วยบริหารและธุรการได้รับหน้าที่จัดทำแบบฟอร์มขนาดเล็ก เพื่อเก็บข้อมูลการจากผู้ใช้ เกี่ยวกับแสดงความต้องการ ความประสงค์เครื่องถ่ายเอกสาร เพื่อประกอบการพิจารณาขอใช้เครื่องถ่ายเอกสารต่อไป
          สำหรับเรื่องการให้บริการนิตยสารทั่วไปที่มีให้บริการที่ชั้น 8 นั้น เป็นนิตยสารที่ได้จากการบอกรับของห้องสมุด และได้จากการบริจาคจากหน่วยงานอื่นๆ ซึ่งเป็นนิตยสารที่ค่อยข้างทันสมัย และได้รับความนิยมจากผุ้ใช้มาก
           สำหรับกิจกรรม KM ในครั้งนี้มีสมาชิกชุมชนให้ความสนใจเข้าร่วมอบรมจำนวน 21 คน จากสมาชิกของชุมชนทั้งหมด 27 คน คิดเป็นร้อยละ 86 ซึ่งคาดว่าสมาชิกชุมชนที่มาเข้าร่วมกิจกรรม KM ในครั้งจะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น8)  และสื่อที่วิทยากรนำเสนอในครั้งนี้ จะจัดเก็บไว้ในคลังความรู้ของกิจกรรม KM  ของทางชุมชน  ซึ่งสมาชิกในชุมชนสามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้
          หลังจากนั้นคุณเอื้อได้แจ้งกิจกรรมครั้งต่อไปของชุมชน คือ กิจกรรมแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง งานบริการพื้นฐานของห้องสมุดในรูปแบบออนไลน์ ในวันที่ 15 ธันวาคม 2558  ณ ห้องประชุมชั้น 5 ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ ซึ่งสมาชิกรับทราบโดยทั่วกัน
 







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น