21 ธันวาคม 2558

รายงานผลการจัดการความรู้ กิจกรรม ครั้งที่ 4 เรื่อง แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องงานบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น6)

รายงานผลการจัดการความรู้ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
1. ชุมชนแนวปฏิบัติ   ชุมชนคนใกล้หมอ
2. ประเด็นความรู้ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์  พัฒนาห้องสมุดให้เป็น Learning Center
3. องค์ความรู้ที่จำเป็น การบริการและส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ
4. กิจกรรม ครั้งที่ 4
                   เรื่อง  แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องงานบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น6)
5. วันที่จัดกิจกรรม 27 ต.ค. 2558  เวลา  14.0016.00 น  สถานที่ ห้องประชุมชั้น 5  ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์
6. วัตถุประสงค์  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องงานบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น6)

7. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม สมาชิกชุมชนคนใกล้หมอ จำนวน  24 คน
เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2558 ได้จัดกิจกรรม KM ครั้งที่ 4 ของชุมชนคนใกล้หมอ ในครั้งนี้มีเนื้อหาที่นำมาศึกษาด้วยกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง งานบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น 6)  โดยวิทยากร ได้แก่ คุณเกตุ  เถาเปาอินทร์  คุณอัมพร  อินทรัตน์ 
คุณทรัพย์  เรือนมั่น  เจ้าหน้าที่งานบริการห้องสมุด ชั้น 6  และคุณชนันท์ฐิดา  ผะสม หัวหน้าหน่วยบริการห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ เป็นผู้ให้ความรู้สำหรับกิจกรรม
KM ในครั้งนี้   ก่อนอื่นนั้น คุณชมพูนุช สราวุเดชา หัวหน้างานห้องสมุด (คุณเอื้อ) ได้กล่าวถึงกิจกรรม KM ของครั้งที่ผ่านมา เพื่อเป็นการทบทวนเนื้อหาเดิมที่ผ่านมา โดยในกิจกรรมครั้งที่  3 นั้นเป็นกิจกรรมเติมเต็มความรู้ เรื่อง  มาตรฐานงานบริการของห้องสมุดในภาพรวม  วิทยากร โดย  คุณชนันท์ฐิดา  ผะสม หัวหน้าหน่วยบริการห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์  ซึ่งสมาชิกในชุมชนต่างก็เข้าร่วมกิจกรรมโดยพร้อมเพียงกัน ทั้งนี้เพื่อเป็นการเติมเต็มความรู้เรื่องการให้บริการห้องสมุดของสมาชิกด้วย
          จากนั้นคุณเอื้อได้ส่งมอบให้กับวิทยากรรับช่วงต่อในการให้ความรู้ ดังนี้
          1. คุณเกตุ  เถาเปาอินทร์  เจ้าหน้าที่ให้บริการประจำเคาท์เตอร์ให้บริการ ชั้น 6 ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดังนี้  การปฏิบัติงานให้บริการห้องสมุดให้แก่ผู้ใช้  เพื่อมาเปิดประตูห้องสมุด  จากนั้นก็มาเปลี่ยนวันที่ของตราปั้มที่โต๊ะเคาท์เตอร์ให้บริการให้ครบทุกอัน  เพื่อความพร้อมในการให้บริการ  จากนั้นก็เปิดโปรแกรม Innopac Millennium  เพื่อพร้อมให้บริการระบบยืม-คืน ทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด 
            แนวทางการให้บริการระบบยืม-คืน ในเบื้องต้น มีดังนี้
 
             1) เข้าโปรแกรม Innopac Millennium 
             2) ล็อคอินรหัสของเจ้าหน้าที่  ก่อนเข้าใช้งานระบบยืม-คืน
             3) กรณีที่ผู้ใช้ต้องการยืมหนังสือ  ให้คลิกที่
 Check out  จากนั้นให้สแกนบัตรของผู้ใช้
             4) สแกนหนังสือที่ผู้ใช้ต้องการยืมออก  ระบบจะขึ้นข้อมูลบาร์โค้ด
  ชื่อหนังสื และวันกำหนดส่ง  ซึ่งหนังสือแต่ละประเภทจะมีระยะเวลากำหนดส่งไม่เท่ากัน ดังนั้นก่อนจะปั้มวันที่ส่งคืน ให้ตรวจสอบก่อนทุกครั้ง
             5) กรณีที่ผู้ใช้ต้องการคืน หนังสือ  ให้คลิกที่ Check In  โดยการคืนหนังสือนั้น ไม่ต้องใช้บัตรในการคืน  ให้เจ้าหน้าที่สแกนบาร์โค้ดตัวเล่มหนังสือที่ต้องการส่งคืนได้เลย
            6) การคืนหนังสือจากตู้ล่วงเวลา โดยเจ้าหน้าที่จะเปิดตู้คืนหนังสือ 2 ครั้งต่อวัน คือ ในช่วงเช้า  จะต้อง
Back date 1 วัน และเปิดตู้ในช่วงบ่าย  ซึ่งจะไม่ Back date ให้ เนื่องจากอยู่ในเวลาเปิดให้บริการของห้องสมุด
          การทำบัตรสมาชิก
          การทำบัตรสมาชิกของห้องสมุดคณะแพทย์นั้น จะแตกต่างจากห้องสมุดอื่นๆ  เนื่องจากมีประเภทสมาชิกที่หลากหลาย  ซึ่งรายละเอียดพื้นฐานดีดังนี้
          1) ข้าราชการ  ลูกจ้างประจำ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้ ถ่ายเอกสารบัตรประจำตัวและกรอกแบบฟอร์มทำบัตรที่เคาท์เตอร์ให้บริการชั้น 6
          2) ลูกจ้างชั่วคราว พนักงานส่วนงาน จะต้องถ่ายบัตรประจำตัวที่ตึกหน้าอธิการบดี ก่อน  แล้วนำบัตรประจำตัวที่มาถ่ายเอกสาร แล้วนำหนังสือรับรองให้หัวหน้าเซ็นต์รับรอง  จากนั้นกรอกแบบฟอรม์ พร้อมวางเงินประกัน 1,000 บาท
           3) แพทย์ประจำบ้าน แพทย์ใช้ทุน แพทย์ต่อยอด  ให้เอาเอกสารรับรองจากภาควิชาหรือหน่วยงานพร้อมรูปถ่าย 1 ใบ แล้วมากรอกแบบฟอร์มการสมัครสมาชิก พร้อมวางเงินประกัน 1,000 บาท ค่าทำบัตร 200 บาท รวมเป็นเงิน 1,200 บาท กรณีที่บัตรหมดอายุ สามารถไปรับเงินประกันคืนได้จำนวน 1,000 บาท  หมายเหตุ แพทย์ประจำบ้าน แพทย์ใช้ทุน แพทย์ต่อยอด อายุบัตรสมาชิกจะใช้ได้ปีต่อปี
           4) แพทย์ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง ให้มากรอกแบบฟอร์มการสมัครสมาชิกได้ทันที โดยไม่ต้องเสียค่าประกัน  เพียงนำรูปถ่ายมา 1 ใบ พร้อมเงินค่าทำบัตร 200 บาท ซึ่งขณะนี้บัตรที่คณะออกให้ ใช้ทำบัตรสมาชิกไม่ได้  เพราะเป็นสมาทการ์ดและไม่สามารถติดบาร์โค้ดได้
          5) บุคคลภายนอกให้ไปติดต่อขอทำบัตรสมาชิกด้วยตนเองที่สำนักสมุดกลาง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
       ในกรณีที่ที่แพทย์ไม่มีบัตร  แต่ต้องการยืมหนังสือ  ก็จะมีสมุดให้เซ็นต์ชื่อและข้อมูลของหนังสือ  โดยเจ้าหน้าที่จะต้องเน้นย้ำให้แพทย์เขียนให้สามารถอ่านออกได้  ในการเซ็นต์ยืมของแพทย์นั้น  ก่อนการให้ยืมจะมีการตรวจสอบรายชื่อของแพทย์ในสมุดรายชื่อที่ห้องสมุดได้รับจากภาควิชาต่างๆ ซึ่งจะวางไว้ที่เคาท์เตอร์ให้บริการ  ส่วน แพทย์ Elective  ที่มาปฏิบัติงานในระยะเวบา 1-2 อาทิตย์ จะไม่อนุญาตให้ยืมออกได้  เนื่องจากจะติดตามในการส่งคืนยาก  แต่จะอนุญาตให้ยืมได้ก็ต่อเมื่อมีหนังสือรับรองจากภาควิชา
        เจ้าหน้าที่ห้องสมุดทุกคนไม่มีสิทธิ์ในการต่ออายุสมาชิกให้กับนักศึกษาคณะอื่นที่ไม่ใช่นักศึกษาคณะแพทยศาสตร์
        คุณสุรชาติได้แนะนำว่า อยากให้เพิ่มช่องข้อมูลของผู้ใช้ โดยเพิ่มเติมช่องของเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ของผู้ใช้  เพื่อใช้ในการติดต่อผู้ใช้ในกรณีติดตามหนังสือที่ไม่ได้รับการคืน  จากนั้นคุณชัยรัตน์ ได้แสดงความคิดเห็นว่า ไม่เห็นด้วยกับการให้เบอร์โทรศัพท์  เนื่องจากเป็นข้อมูลส่วนตัวที่เป็นความลับส่วนบุคคล  ในการติดตามหนังสือที่ไม่ได้รับคืนนั้น  ยังเกิดปัญหาในการติดตามผ่านทางภาควิชา
      สำหรับสิทธิในการยืม  สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี  10 เล่ม สำหรับหนังสือ Basic  และภาษาไทยยืมได้ 2 เล่ม / นักศึกษาปริญญาโท ยืมได้ 20 เล่ม สำหรับหนังสือ Basic  และภาษาไทยยืมได้ 3 เล่ม / อาจารย์ ยืมได้ 40 เล่ม สำหรับหนังสือ Basic  และภาษาไทยยืมได้ 3 เล่ม / ลูกจ้าง, ข้าราชการ ยืมได้ 10 เล่ม สำหรับหนังสือ Basic  และภาษาไทยยืมได้ 3 เล่ม
         การยืมวารสาร
        
การยืมวารสารจะต้องนำบัตรออกจากวารสาร มาใส่ในช่องเสียบบัตรวารสาร และนำมาปั้มวันที่  จากนั้นให้ผู้ใช้เซ็นต์ยืมวารสารในสมุด  แล้วนำบัตรที่ปั้มวันที่เสียบไว้หลังตัวเล่มวารสารเช่นเดิม
        2. คุณอัมพร อินทรัตน์  เจ้าหน้าที่ให้บริการประจำเคาท์เตอร์ให้บริการ ชั้น 6 ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดังนี้ 
         บริการ Document Delivery : DD
        บริการ Document Delivery ให้บริการเฉพาะอาจารย์  ข้าราชการ พนักงานประจำ  และพนักงานส่วนงาน นักศึกษาบัณฑิต ส่วนนักศึกษาปริญญาตรีสงวนสิทธิ์ในการยืม ยกเว้นนักศึกษาของคณะสัตวแพทยศาสตร์ทุกชั้นปี  สามารถใช้บริการได้  เนื่องจากนักศึกษาคณะสัตวแพทย์อยู่ไกลเกิน ไม่สะดวกในการเดินทางมา ยืม-คืนหนังสือได้ทางห้องสมุดทุกคณะได้เปิดให้บริการแก่นักศึกษาเฉพาะคณะสัตวแพทย์
         สำหรับในการเข้าให้บริการ  ผู้ใช้สามารถเข้าใช้บริการได้ โดยเข้าใช้ผ่านทางเว็บไซต์ของห้องสมุดคณะแพทย์  http://www.med.cmu.ac.th/library   แล้วเลือก Document Delivery      จะลิ้งค์ไปยังหน้าบริการ Document Delivery  ของสำนักหอสมุด http://library.cmu.ac.th/dd2/ ซึ่งผู้ใช้สามารถกรอกรายละเอียดต่างๆ ได้แก่ เขียนชื่อ- นามสกุล- บาร์โค้ค-อีเมล์-สถานภาพ-เบอร์โทร-สถานที่มารับหนังสือที่ห้องสมุดอะไร ลงบนแบบฟอร์มในเว็บไซต์ 
          จากนั้นเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการจะเข้าระบบ DD-Admin  เป็นการตรวจเช็คว่ามีการขอยืม DD  หรือไม่ โดยจะล็อคอินเข้าไปเช็ครายชื่อหนังสือ  หากตรวจสอบแล้วพบว่ามีผู้ขอยืม DD มาทางเว็บไซต์  ให้จดเลขหมู่ของหนังสือที่ทางผู้ใช้ต้องการยืมแล้วไปหาหนังสือบนชั้นเพื่อดำเนินการยืมผ่านระบบยืมคืนต่อไป หลังจากที่ได้ตัวเล่มมาแล้วให้เข้าชื่อผู้ยืมผ่านระบบ  Millennium  หลังจากผ่านการยืมเข้าระบบแล้ว ก็มากด Sign Out เพื่อออกจากระบบ DD
           การบริการยืม iPad
             ห้องสมุดคณะแพทย์ได้จัดให้ยืม iPad เพื่อใช้ในการศึกษา ค้นคว้าสารสนเทศในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์  โดยผู้ใช้บริการสามารถติดต่อขอยืม(iPad) ได้ที่เคาน์เตอร์บริการชั้น 6
         การให้บริการ ผู้ใช้บริการต้องวางบัตรนักศึกษาหรือประจำตัวประชาชนพื้นที่ในการให้บริการผู้ใช้จะต้องใช้ภายในบริเวณห้องสมุดเท่านั้น ไม่สามารถนำออกจากห้องสมุดได้  ระยะเวลาการใช้งานไม่จำกัดเวลาชั่วโมง  แต่ต้องส่งคืนภายในวันที่ยืม  หากเกินกำหนดส่งคืน  ผู้ใช้จะเสียค่าปรับวันละ 200 บาท/ วัน และหากตรวจสอบพบความเสียหายของเครื่องจะต้องเสียค่าเสียหายเป็น 2 เท่าของราคาเครื่อง
         3. คุณทรัพย์  เรือนมั่น  เจ้าหน้าที่หน่วยบริการ ชั้น 6 ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดังนี้ 
         บริการยืมระหว่างห้องสมุด (
Inter library loan)
         บริการยืมระหว่างห้องสมุดให้บริการถ่ายสำเนาบทความวารสารจากห้องสมุดอื่นภายในประเทศ และต่างประเทศมีขั้นตอนในการปฏิบัติดังนี้
         บุคลากรในคณะแพทยศาสตร์สามารถขอใช้บริการ
ILL ผ่านคำขอออนไลน์โดยเข้าไปที่หน้าเว็บไซต์ห้องสมุด  คลิกตรงที่ Article Request  และกรอกรายละเอียดคำขอออนไลน์  ซึ่งจะใช้ได้เฉพาะอินเตอร์เน็ตเครือข่ายของคณะแพทย์  จากนั้นเข้าเจ้าหน้าที่ของห้องสมุดจะตรวจเช็คคำขอออนไลน์ที่จะต้องดำเนินการ (Staff Login)  แล้วตรวจสอบคำขอบทความ  โดยจะแสดงรายการคำขอตามเดือน  โดยสามารถค้นหาบทความที่ผู้ใช้ขอมา  หรือค้นหาจากชื่อผู้ขอวารสาร จากนั้นเจ้าหน้าที่ก็จะทำกรค้นหาบทความเพื่อส่งให้กับผู้ใช้                 
           หากห้องสมุดคณะแพทย์ไม่มีบทความที่ผู้ใช้ต้องการ  จะดำเนินการขอบทความจากห้องสมุดแพทย์ภูมิภาคก่อน  เนื่องจากเป็นความร่วมมือกัน  หากยังไม่พบบทความที่ต้องการจะดำเนินการขอบทความจากห้องสมุดแพทย์อื่นๆทั่วประเทศ  หรือห้องสมุดอื่นๆในประเทศ  และหากยังไม่พบบทความที่ต้องการอีก  จะดำเนินการขอบทความจาก World Cat ซึ่งจะส่งคำขอผ่านทางสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ต่อไป
          ค่าบริการการขอบทความ 
           บุคลากรคณะแพทย์(อาจารย์ บุคลากร นักศึกษาแพทย์) ไม่มีค่าใช้จ่าย
          ส่วนคำขอจากต่างคณะ หรือต่างสถาบัน หรือโรงพยาบาลในเครือข่าย  จะคิดค่าบริการ ดังนี้ คือ  บทความ
full text บทความละ 20 บาท  ส่วนบทความที่ต้องสแกนไฟล์  คิดค่าบริการ แผ่นละ 3 บาท
           สำหรับรายละเอียดในเชิงลึกอื่นๆ จะอยู่ในคลังความรู้ของกิจกรรม KM ครั้งที่ 4  ซึ่งสามารถเข้าดูรายละเอียดอื่นๆเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์  KM ของห้องสมุด http://www.med.cmu.ac.th/library/km-neardr/
           หลังจากจบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของวิทยากรทั้ง 3 ท่าน ต่อไปเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคุณชนันท์ฐิดา  ผะสม หัวหน้าหน่วยบริการห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยจะขอสรุปเฉพาะประเด็นสำคัญๆ  ซึ่งรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถ เข้าดูรายละเอียดอื่นๆเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์  KM ของห้องสมุดเช่นกัน สำหรับประเด็นสำคัญๆ  ที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้นั้น มีดังนี้
         1. บริการสืบค้น
          ผู้ใช้สามารถสืบค้นได้จากเว็บไซต์ห้องสมุดคณะแพทย์  โดยสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศได้ทุกประเภท  โดยระบบ
OPAC จะลิ้งค์ไปยัง OPAC ของสำหนักหอสมุด http://search.lib.cmu.ac.th/  หรือสามารถค้นหาทรัพยากรสารสนเทศได้ที่หน้าเว็บไซต์ของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้  ทรัพยากรสารสนเทศที่ห้องสมุดคณะแพทย์มีให้บริการ ผู้ใช้สามารถเข้าดูได้ที่  Explore our collection  ซึ่งประกอบด้วยทรัพยากรสารสนเทศ  ดังนี้
  Books  -- ค้นหาหนังสือภายในห้องสมุด
 Journals – ค้นหาตัวเล่มวารสารที่มีให้บริการภายในห้องสมุด
  e-Books – ฐานข้อมูล  e-Books ที่รวบรวม e-Books ที่มีให้บริการในห้องสมุดคณะแพทย์
  e-Journals – ฐานข้อมูล Medical Journals Index (MJI ) ที่รวบรวมรายชื่อวารสารออนไลน์  ที่เปิดให้บริการโดยห้องสมุดคณะแพทย์
  e-Databases – ฐานข้อมูล Medical Database ที่ห้องสมุดคณะแพทย์บอกรับ และเปิดให้บริการ โดยจะแบ่งตามประเภททรัพยากร  ได้แก่  Medical E-Journals [index] ,  Medical E-Books [index] , Clinical/Evidence Base Medicine ,     Free Trial Database
  e-Newspapers – ฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์อิเล็คทรอนิกส์ โดยจะลิ้งค์ไปยังเว็บไซต์ http://www.pressreader.com/
  Audio-Visual – ฐานข้อมูลสื่อโสตทัศนวัสดุ ได้แก่ CD, VCD, DVD  ที่มีให้บริการในห้องสมุดคณะแพทย์
          2. บริการตอบคำถามทั่วไป
          บริการตอบคำถามทั่วไปของห้องสมุดคณะแพทย์  มี 5 ช่องทาง  ดังนี้
              1. เคาท์เตอร์บริการตอบคำถาม
              2. ทางเว็บไซต์
Ask a librarian  ที่ลิ้งค์http://www.med.cmu.ac.th/library/ask_librarian/
              3. Line ของห้องสมุด โดย ID คือ 053-945206
              4.
Facebook ของห้องสมุด ที่ลิ้งค์  https://www.facebook.com/cmumedlib/
              5. โทรศัพท์  เบอร์โทร 053-935206
            3. Medical Application
            ห้องสมุดคณะแพทย์ให้บริการคำแนะนำในการใช้ Medical Application  ดังนี้
            1.
UpToDate เป็นฐานข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ทางการแพทย์ (Evidence-Based Medicine) ที่ทันสมัย เพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูลในการตัดสินใจรักษาผู้ป่วย  โดยผู้ใช้สามารถใช้งานนอกเครือข่ายคณะแพทยศาสตร์ โดยดาวน์โหลด Uptodate Application  และลงทะเบียนการใช้งานที่เว็บไซต์ห้องสมุด  http://www.med.cmu.ac.th/library  เท่านั้น และต้องใช้อินเตอร์เน็ตภายในเครือข่ายคณะแพทยศาสตร์ มช. เท่านั้นเช่นกัน  Account มีระยะเวลาการใช้งาน 90 วัน การต่ออายุการใช้งานของ Account โดยการ login ภายในเครือข่ายคณะแพทย์ มช. และสามารถใช้งานได้กับ Android, iOS, Windows phones
          2.
Unbound Medicine เป็นแหล่งรวบรวมสารสนเทศประเภทหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ทางการแพทย์  (E-books) จำนวน 12 เล่ม ได้แก่
5 Minute clinical Consult, 5 Minute Emergency Consult, 5 Minute Pediatric Consult, Harrison’s Manual of Medicine, Taber’s Medical Dictionary, John Hopkins ABX, John Hopkins Diabetes Guide, John Hopkins HIV Guide, Davis’s Drug Guide, Evidence-Based Medicine Guidelines, Field Operations Guide
        โดยสามารถใช้งานผ่านเว็บไซต์ และโทรศัพท์มือถือได้ทุกระบบปฏิบัติการ สามารถใช้งานได้ทั้งเครือข่ายมช. และเครือข่ายคณะแพทย์  สามารถสมัครสมาชิกได้ทั้งทางคอมพิวเตอร์ และในแอพลิเคชั่น uCentral และสามารถใช้งานผ่านระบบออฟไลน์ได้อีกด้วย
         3.
BMJ Best Pactice  ฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ทางการแพทย์ ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัย คู่มือ ตลอดจน ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาสำหรับใช้ประกอบการตัดสินใจเพื่อวินิจฉัย รักษา พยากรณ์โรคและดูแล ป้องกันโรคได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว พร้อมข้อมูลอ้างอิงเพื่อการตรวจสอบ หรือเพิ่มเติมความรู้ ให้บริการข้อมูลตั้งแต่ปี 1997 ถึงปัจจุบัน สามารถใช้งานได้ทั้งเครือข่ายมช. และเครือข่ายคณะแพทย์  Account มีระยะเวลาการใช้งาน 6 เดือน การต่ออายุของ Account โดยการ login ภายในเครือข่ายมช. และคณะแพทย์สามารถใช้งานได้กับ Android และ iOS
          4. AccessMedicine Application  ฐานข้อมูลหนังสือตําราทางการแพทย์ฉบับเต็มของสํานักพิมพ์ McGraw
Hill ซึ่งประกอบด้วยตําราหลัง 2 กลุ่ม คือ
     1) กลุ่มทางคลินิก (Clinical Library) ได้แก่ Harrison’s, Hurst’s the Heart, Schwartz Surgery, Goodman & Gilman’s, Tintinalli’s Emergency Medicine, Fitzpatrick Color Atlas เป็นต้น
       2) กลุ่มทางคลินิกและพรีคลินิกจาก LANGE (LANGE Educational Library) ได้แก่  Current Diagnosis & Treatment, Harper’s Illustrated Biochemistry, Basic Histology เป็นต้น 
และยังประกอบไปด้วยข้อมูลยามากกว่า
51,000 รายการ ข้อมูลแนวทางการรักษา วินิจฉัยอาการความผิดปกติและข้อมูลเชิงสรุป วีดิโอ ภาพประกอบ คู่มือผู้ป่วย ข้อมูลปัจจุบันและข่าวในวงการแพทย์และสาธารณสุข ตลอดจนแบบทดสอบเพื่อประเมินตนเองจากหนังสือเล่มต่างๆ  โดยสามารถใช้งานได้ทั้งเครือข่ายมช. และเครือข่ายคณะแพทย์  Account มีระยะเวลาการใช้งาน 90 วัน การต่ออายุของ Account โดยการ login ภายในเครือข่ายมช. และคณะแพทย์ สามารถใช้งานได้กับ Android และ iOS
         5. Journal of Neurosurgery App  สามารถเข้าดูวารสารอิเล็กทรอนิกสืได้ที่ลิ้งค์ MJI ของห้องสมุดคณะแพทย์  JNS Mobile คือ Application ของวารสารThe Journal of Neurosurgery สำหรับอ่านบทความฉบับเต็มของวารสาร และสามารถดูรูปภาพความละเอียดสูงและวิดีโอ การเข้าถึงฟีดข่าวบทความที่ทำ bookmark การค้นหาเนื้อหาวารสารรับการแจ้งเตือนทันทีที่เนื้อหาล่าสุด  สามารถอ่านและแบ่งปันเนื้อหาผ่านสื่อสังคมออนไลน์  สามารถใช้งานได้ทั้งเครือข่ายมช. และเครือข่ายคณะแพทย์ Account มีระยะเวลาการใช้งาน 90 วัน การต่ออายุของ Account โดยการ login ภายในเครือข่ายมช. และคณะแพทย์ สามารถใช้งานได้กับ Android และ iOS         
           สำหรับกิจกรรม KM ในครั้งนี้มีสมาชิกชุมชนให้ความสนใจเข้าร่วมอบรมจำนวน 24 คน จากสมาชิกของชุมชนทั้งหมด 27 คน คิดเป็นร้อยละ 89 ซึ่งคาดว่าสมาชิกชุมชนที่มาเข้าร่วมกิจกรรม KM ในครั้งจะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น6)  และสื่อที่วิทยากรนำเสนอในครั้งนี้ จะจัดเก็บไว้ในคลังความรู้ของกิจกรรม KM  ของทางชุมชน  ซึ่งสมาชิกในชุมชนสามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้
          หลังจากนั้นคุณเอื้อได้แจ้งกิจกรรมครั้งต่อไปของชุมชน คือ กิจกรรมแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง งานบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น 8) ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2558 ณ ห้องประชุมชั้น 5 ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ ซึ่งสมาชิกรับทราบโดยทั่วกัน
 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น