21 ธันวาคม 2558

ภาพกิจกรรม KM Day ครั้งที่ 9 วันที่ 16 ธันวาคม 2558

ภาพกิจกรรม KM Day 

ภาพกิจกรรม KM Day ครั้งที่ 9 วันที่ 16 ธันวาคม 2558
ณ ห้องโถงชั้น 1 สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่








สามารถเข้าชมรูปภาพงานกิจกรรม ได้ที่ :

http://www.med.cmu.ac.th/library/km-neardr/pickm/KM02/pickm2558.html

และ

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.10153843602532792.1073741970.162309272791&type=3

คลังความรู้ กิจกรรม KM ครั้งที่ 5 เรื่อง แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องงานบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น8)

คลังความรู้ กิจกรรม KM ครั้งที่ 5

เรื่อง แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องงานบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น8)
วันที่จัดกิจกรรม 17 พ.ย. 2558 เวลา  13.00 – 15.30 น 
สถานที่ ห้องประชุมชั้น 8  ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์

สไลด์การนำเสนองานบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น8)  โดยวิทยากร ได้แก่ คุณวุฒิไกร  อุสุยะ
คุณวิชชนน  วศินเมธากูร และ อ.กมลชนก มาแสงตา 

สามารถดาวน์โหลด ได้ที่ :

http://www.med.cmu.ac.th/library/km-neardr/neadr58/KM%205nd/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%20%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%20KM%20%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%205.pdf

คลังความรู้ กิจกรรม KM ครั้งที่ 4 เรื่อง แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องงานบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น6)

คลังความรู้ กิจกรรม KM ครั้งที่ 4

เรื่อง แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องงานบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น6)
วันที่จัดกิจกรรม 27 ต.ค. 2558   เวลา  14.00 – 16.00 น 
สถานที่ ห้องประชุมชั้น 5  ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์

สไลด์การนำเสนองานบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น6)  โดยวิทยากร ได้แก่ คุณเกตุ  เถาเปาอินทร์  คุณอัมพร  อินทรัตน์  และคุณทรัพย์  เรือนมั่น  (เจ้าหน้าที่งานบริการห้องสมุด ชั้น 6) และ อ.ชนันท์ฐิดา  ผะสม (หัวหน้าหน่วยบริการห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์)

สามารถดาวน์โหลด ได้ที่ :

http://www.med.cmu.ac.th/library/km-neardr/neadr58/KM%204nd/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%20%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%20KM%20%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%204.pdf

คลังความรู้ กิจกรรม KM ครั้งที่ 3 เรื่อง เติมเต็มความรู้เรื่องมาตรฐานงานบริการของห้องสมุดในภาพรวม

คลังความรู้ กิจกรรม KM ครั้งที่ 3

เรื่อง เติมเต็มความรู้เรื่องมาตรฐานงานบริการของห้องสมุดในภาพรวม
วันที่จัดกิจกรรม 1 ก.ย. 2558  เวลา  13.30 – 15.30 น 
สถานที่ ห้องประชุมชั้น 5  ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์

สไลด์การนำเสนอมาตรฐานงานบริการของห้องสมุดในภาพรวม โดย อ.ชนันท์ฐิดา  ผะสม (หัวหน้าหน่วยบริการห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์)

สามารถดาวน์โหลด ได้ที่ :

http://www.med.cmu.ac.th/library/km-neardr/neadr58/KM%203nd%2001082015/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%20%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%20KM%20%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%203.pdf

รายงานผลการจัดการความรู้ กิจกรรม ครั้งที่ 5 เรื่อง แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องงานบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น8)

รายงานผลการจัดการความรู้ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
1. ชุมชนแนวปฏิบัติ   ชุมชนคนใกล้หมอ
2. ประเด็นความรู้ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์  พัฒนาห้องสมุดให้เป็น Learning Center
3. องค์ความรู้ที่จำเป็น การบริการและส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ
4. กิจกรรม ครั้งที่ 5
                   เรื่อง  แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องงานบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น8)
5. วันที่จัดกิจกรรม 17 พ.ย. 2558  เวลา  13.3015.30 น  สถานที่ ห้องประชุมชั้น 8  ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์
6. วัตถุประสงค์  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องงานบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น6)

7. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม สมาชิกชุมชนคนใกล้หมอ จำนวน  21 คน
เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน2558 ได้จัดกิจกรรม KM ครั้งที่ 5 ของชุมชนคนใกล้หมอ ในครั้งนี้มีเนื้อหาที่นำมาศึกษาด้วยกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องงานบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น 8)  โดยวิทยากร ได้แก่ คุณกมลชนก  มาแสงตา คุณวิชชนน  วศินเมธากูร และคุณวุฒิไกร อุสุยะ เป็นผู้ให้ความรู้สำหรับกิจกรรม KM ในครั้งนี้   ก่อนอื่นนั้น คุณชมพูนุช สราวุเดชา หัวหน้างานห้องสมุด (คุณเอื้อ) ได้กล่าวถึงกิจกรรม KM ของครั้งที่ผ่านมา เพื่อเป็นการทบทวนเนื้อหาเดิมที่ผ่านมา โดยในกิจกรรมครั้งที่  4 นั้นเป็นกิจกรรมเติมเต็มความรู้ เรื่อง  แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องงานบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น 8)   โดยทีมวิทยากรนำโดย คุณชนันท์ฐิดา  ผะสม หัวหน้าหน่วยบริการห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ ซึ่งสมาชิกในชุมชนต่างก็เข้าร่วมกิจกรรมโดยพร้อมเพียงกัน ทั้งนี้เพื่อเป็นการเติมเต็มความรู้เรื่องการให้บริการห้องสมุดของสมาชิกด้วย นอกจากนี้ประธานชุมชนยังได้เชิญชวนให้สมาชิกในชุมชนเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์ของชุมชนคนใกล้หมอ เพื่อทบทวนเนื้อหากิจกรรม KM ที่ผ่านมาในแต่ละครั้ง รูปภาพกิจกรรมต่างๆ คลังความรู้ และสรุปแบบประเมินผลกิจกรรม KM แต่ละครั้งอีกด้วยเช่นกัน
          จากนั้นคุณเอื้อได้ส่งมอบให้กับวิทยากรรับช่วงต่อในการให้ความรู้ ดังนี้
          1. คุณกมลชนก  มาแสงตา ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับภาพรวมในงานบริการและทรัพยากรที่มีให้บริการในชั้น8 ซึ่งจะขออธิบายคร่าวๆ ดังนี้
         1. New Book Releases  ชั้นแสดงทรัพยากรใหม่มีมาให้บริการที่ชั้น8 ซึ่งทรัพยากรทุกประเภทที่จะนำขึ้นชั้นให้บริการนั้น จะต้องนำจัดขึ้นชั้นที่ชั้นนี้ก่อนเสมอ
         2. General Book หนังสือทั่วไป ผู้ใช้สามารถยืมได้ 7 วัน
         3. Juvenile Book & Fiction Books หนังสือเยาวชน หนังสือนวนิยาย ฯลฯ สามารถยืมได้ 7 วัน
         4. General Book Collection หนังสือคอลเลคชั่นพิเศษ ดังนี้
1) หนังสือศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย ฯพณฯ องคมนตรี (แถบเขียวแดง) (ห้ามยืมออก)
2) หนังสือการเงิน การออม และการลงทุน (จุดม่วง)
3) หนังสือท่องเที่ยว (จุดเหลือง)
4) หนังสืออาหารและงานฝีมือ (จุดแดง)
5) หนังสือคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี (จุดเขียว)
6) หนังสือฝึกทักษะภาษา (จุดขาว)
7) หนังสืออาเซียน (จุดน้ำเงิน
          5. Magazine นิตยสารทั่วไป  เช่น อสท. เที่ยวรอบโลก แพรว / ดิฉัน Secret National Geographic ฉบับภาษาไทย Money & Wealth Health Today
          6. Edutainment Resource CD / VCD / DVD แบ่งตามประเภท ดังนี้
1) ภาพยนตร์ (จุดแดง)
2) ความรู้และสารคดี (จุดม่วง)
3) ธรรมะ (จุดเหลือง)
4) คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี (จุดเขียว)
5) ทักษะภาษา (จุดขาว)
6) สุขภาพและการออกกำลังกาย (จุดน้ำเงิน)
          พื้นที่ให้บริการในบริเวณชั้น8 ที่ให้บริการแก่ผู้ใช้ มีดังนี้
         1. Asean Corner พื้นที่นั่งอ่านมุมอาเซียน ให้บริการหนังสือและทรัพยากรอื่นๆเกี่ยวกับอาเซียน รวมทั้งความรู้เกี่ยวกับอาเซียนทางการแพทย์
         2. Interesting Book Displays มุมนิทรรศการหนังสือน่าอ่านหมุนเวียนทุก 2 เดือน
          3. English Clinic: S.E.L.F. Center: ENCONCEPT ห้องเรียนภาษาอังกฤษสำหรับผู้ลงทะเบียนเรียน เป็นห้องฝึกทักษะภาษาอังกฤษที่มีคอมพิวเตอร์และโปรแกรมให้นักศึกษาฝึกทักษะภาษาอังกฤษด้วยตนเอง โดยสถาบันกวดวิชาภาษาอังกฤษ Enconcept โดยผู้ใช้จะต้องจองเครี่องคอมพิวเตอร์ก่อนเข้าเรียนทุกครั้ง
          4. Living & Reading area บริเวณโถงกลางส่วน Living area สามารถใช้เป็นพื้นที่จัดกิจกรรม หรือแสดงนิทรรศการได้ตามโอกาส โดยนักศึกษาสามารถทำเรื่องขอใช้สถานที่ได้ที่หน่วยบริการและธุรการ
         5. Private reading rooms  ห้องศึกษาค้นคว้าส่วนตัว จำนวน 10 ห้อง โดยผู้ใช้ต้องวางบัตรประจำตัวเพื่อแลกกุญแจห้อง การคืนกุญแจ ให้คืนกุญแจก่อนออกนอกห้องสมุด, ไม่นำกุญแจออกจากห้องสมุด ขอความร่วมมือไม่นำเบาะนั่ง-อาหารเครื่องดื่มเข้าไปในห้อง และไม่ส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น
          6. เคาท์เตอร์บริการ ชั้น 8 โดยมีเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ ช่วยตอบคำถามเบื้องต้นให้แก่ผู้ใช้ และช่วยเหลือผู้ใช้ รวมทั้งมีการกรอกสถิติการใช้ห้องอ่านเดี่ยว โดยจะกรอกผ่านระบบออนไลน์ในหน้าจอคอมพิวเตอร์
         7. ห้องเทคโนโลยีสารเทศ (ITSC) ให้บริการคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (JumboPlus) จำนวน 25 เครื่อง รวมทั้งมีการกรอกสถิติการใช้ห้อง ITSC โดยจะกรอกผ่านโปรแกรม Excel ในหน้าจอคอมพิวเตอร์ (ระบบออฟไลน์) โดยจะเก็บสถิติวันละ 2 ครั้ง คือ ช่วงเช้า เวลาประมาน 10.30 น. และช่วงบ่าย เวลาประมาน 14.30 น.
         8. ห้องประชุมเล็ก ชั้น 8 การใช้ห้องประชุมกลุ่มย่อย โดยจะต้องมีผู้ใช้ไม่ต่ำกว่า 5 คน ซึ่งสามารถจองล่วงหน้าได้ที่สำนักงานห้องสมุดชั้น 5 โทร. 35202-3  หรือทำหนังสือขอใช้ห้องผ่านทางสำนักงานห้องสมุดได้เช่นกัน
         เพิ่มเติม ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 5 หน่วยงานอื่นสามารถมาใช้บริการได้ โดยสามารถจองล่วงหน้าได้ โดยการทำหนังสือขอใช้ห้องผ่านทางสำนักงานห้องสมุดได้
         9. ห้องโสตทัศนศึกษา บริการ CD-DVD สารคดี, สื่อเรียนรู้ฝึกภาษาต่างประเทศ การสอบ TOEFL, IELTS ฯลฯ ภาพยนตร์ประเภทบันเทิง ให้เปิดชมภายในห้องเท่านั้น ขอความร่วมมือไม่นำขนม-เครื่องดื่มเข้ามาทานในห้อง และไม่ยืมใช้ห้องเพื่อนั่งอ่านหนังสือ หากนักศึกษาต้องการดูสื่ออื่นๆที่ไม่มีในห้องสมุด ต้องให้เจ้าหน้าที่ห้องสมุดตรวจสอบก่อนเสมอ โดยรายชื่อสื่อวีดิทัศน์ที่มีให้บริการ ดูได้จากฐานข้อมูล CD-ROM ได้ที่ http://www.med.cmu.ac.th/library/mult_res/ นอกจากนี้ CD-DVD ทางวิชาการ, สารคดี, สื่อเรียนรู้ฝึกภาษาต่างประเทศ นักศึกษาปริญญาตรีสามารถยืมได้จำนวน 3 เรื่อง 7 วัน
          Living Library ชั้น 8 สามารถเข้าใช้บริการทางประตูทางเข้าชั้น 8 และออกจากห้องสมุดทางชั้น 6 เท่านั้น และขอความร่วมมือผู้ใช้บริการเก็บเบาะรองนั่งและหมอนอิงให้เป็นระเบียบ หลังจากใช้บริการเสร็จเรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้นักศึกษาช่วยเสนอสั่งซื้อได้ผ่านบริการขอสั่งซื้อหนังสือทางออนไลน์ /รวบรวมที่หัวหน้าชมรมห้องสมุด สโมสรนักศึกษา แพทย์/เลือกเสนอรายชื่อหนังสือได้ที่ร้านหนังสือที่ร่วมงาน Medical Book Day ทุกปี
           จากนั้นได้ให้สมาชิกในชุมชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ เกี่ยวกับงานบริการของชั้น 8 โดยมีประเด็นที่สำคัญ ดังนี้
           คุณชมพูนุช  ประธานชุมชนฯ ได้สอบถามเรื่องการกรอกสติถิการใช้บริการห้องศูนย์ ITSC และห้องอ่านเดี่ยว ซึ่งคุณวุฒิไกร ก็ได้อธิบายการเก็บสถิติ และการกรอกสถิติในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะมีแบบฟอร์มออนไลน์ และแบบออฟไลน์ไว้ที่ไอคอนตรงหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่เคาท์เตอร์ให้บริการ ชั้น 8
           คุณสุรชาติ ได้สอบถามถึงเรื่องการขาดการปฏิบัติงานของนักศึกษาช่วยงานห้องศูนย์ ITSC ว่ายังมีการขาดการปฏิบัติงานของนักศึกษาหรือไม่ คุณวิชชนนได้ให้คำตอบว่า ปัจจุบันมีการขาดการปฏิบัติงานของนักศึกษาลดน้อยลงไปมาก
          คุณอัมพรได้เสนอเรื่อง การนำกุญแจห้องอ่านเดี่ยวออกจากห้องสมุด โดยอยากให้เน้นย้ำและเตือนผู้ใช้ก่อนที่จะให้บริการว่าไม่ให้นำเอากุญแออกติดตัวจากห้องสมุด
          คุณชัยรัตน์ได้อธิบายเรื่อง หนังสือประเภท Staff only ว่าเป็นหนังสือที่จัดให้บริการสำหรับบุคลากรภายในห้องสมุด ซึ่งจัดเก็บไว้ที่ห้องของหน่วยบริการชั้น 6 แต่ Location ใน OPAC ยังเป็น Living Library ชั้น 8 อย่างไรก็ตาม หนังสือประเภทนี้สามารถให้ผู้ใช้ยิมได้ตามปกติ แต่ขอความกรุณาเมื่อผู้ใช้นำหนังสือมาคืนแล้ว ให้นำมาเก็บไว้ที่ห้องของหน่วยบริการชั้น 6 ตามเดิม
           จากนั้นมีการปรึกษาหารือ เรื่องแนวทางการให้บริการห้องอ่านเดี่ยว ว่าควรให้บริการแก่ผู้ใช้ครั้งละกี่คน และกี่ชั่วโมง ซึ่งได้ข้อสรุปว่า ไม่จำกัดจำนวนการใช้ห้องอ่านเดี่ยว แต่ต้องเฝ้าระวังไม่ให้เกิดเสียงดังรบกวนห้องข้างเคียง และแก้ไขปัญหาตามสถานการณ์ ส่วนเรื่องของจำนวนชั่วโมงการใช้บริการในแต่ละครั้ง กับเรื่องประเภทของผู้ใช้บริการนั้น ตอนนี้ยังไม่มีข้อสรุป และยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนว่าจะให้บริการในรูปแบบไหน ซึ่งจะต้องหาแนวทางที่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสมที่สุด นอกจากนี้มีการแนะนำเรื่องการเก็บสถิติการใช้ห้องอ่านเดี่ยว โดยแนะนำให้เก็บสถิติโดยแยกประเภทของผู้ใช้บริการ จำนวนคน/เดือน เพื่อที่จะนำข้อมูลมาประมวลผลและใช้เป็นแนวทางการให้บริการต่อไปในอนาคต และเรื่องการนำกุญแจห้องอ่านเดี่ยวเข้าสู่ระบบ Millinium  เพื่อให้ผู้ใช้ที่มีบัตรสมาชิกห้องสมุดสามารถเข้าใช้บริการ ให้เหมือนกับการยืมทรัพยากรสารสนเทศประเภทอื่นๆ ซึ่งประเด็นนี้เป็นแนวทางที่ได้หารือกันในการให้บริการต่อไปในอนาคต
           นอกจากนี้มีประเด็นเรื่องการถ่ายเอกสารของผู้ใช้ โดยจะหาแนวทางการให้บริการต่อไป ซึ่งคุณชัยรัตน์ได้ให้ข้อเสนอแนะว่า อาจจะมีการให้บริการเครื่องสแกนไว้ให้บริการที่ชั้น 6 ให้แก่ผู้ใช้ เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการถ่ายเอกสารในเบื้องต้น ซึ่งหากจะปฏิบัติจริงๆ ก็ต้องหาเครื่องสแกนที่มีประสิทธิภาพและสามารถให้บริการได้อย่างเกิดปัญหาน้อยที่สุด จากนั้นมีการเสนอเรื่องการเก็บข้อมูลการให้บริการการขอถ่ายเอกสารจากผู้ใช้ โดยทางหน่วยบริหารและธุรการได้รับหน้าที่จัดทำแบบฟอร์มขนาดเล็ก เพื่อเก็บข้อมูลการจากผู้ใช้ เกี่ยวกับแสดงความต้องการ ความประสงค์เครื่องถ่ายเอกสาร เพื่อประกอบการพิจารณาขอใช้เครื่องถ่ายเอกสารต่อไป
          สำหรับเรื่องการให้บริการนิตยสารทั่วไปที่มีให้บริการที่ชั้น 8 นั้น เป็นนิตยสารที่ได้จากการบอกรับของห้องสมุด และได้จากการบริจาคจากหน่วยงานอื่นๆ ซึ่งเป็นนิตยสารที่ค่อยข้างทันสมัย และได้รับความนิยมจากผุ้ใช้มาก
           สำหรับกิจกรรม KM ในครั้งนี้มีสมาชิกชุมชนให้ความสนใจเข้าร่วมอบรมจำนวน 21 คน จากสมาชิกของชุมชนทั้งหมด 27 คน คิดเป็นร้อยละ 86 ซึ่งคาดว่าสมาชิกชุมชนที่มาเข้าร่วมกิจกรรม KM ในครั้งจะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น8)  และสื่อที่วิทยากรนำเสนอในครั้งนี้ จะจัดเก็บไว้ในคลังความรู้ของกิจกรรม KM  ของทางชุมชน  ซึ่งสมาชิกในชุมชนสามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้
          หลังจากนั้นคุณเอื้อได้แจ้งกิจกรรมครั้งต่อไปของชุมชน คือ กิจกรรมแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง งานบริการพื้นฐานของห้องสมุดในรูปแบบออนไลน์ ในวันที่ 15 ธันวาคม 2558  ณ ห้องประชุมชั้น 5 ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ ซึ่งสมาชิกรับทราบโดยทั่วกัน
 







รายงานผลการจัดการความรู้ กิจกรรม ครั้งที่ 4 เรื่อง แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องงานบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น6)

รายงานผลการจัดการความรู้ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
1. ชุมชนแนวปฏิบัติ   ชุมชนคนใกล้หมอ
2. ประเด็นความรู้ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์  พัฒนาห้องสมุดให้เป็น Learning Center
3. องค์ความรู้ที่จำเป็น การบริการและส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ
4. กิจกรรม ครั้งที่ 4
                   เรื่อง  แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องงานบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น6)
5. วันที่จัดกิจกรรม 27 ต.ค. 2558  เวลา  14.0016.00 น  สถานที่ ห้องประชุมชั้น 5  ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์
6. วัตถุประสงค์  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องงานบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น6)

7. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม สมาชิกชุมชนคนใกล้หมอ จำนวน  24 คน
เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2558 ได้จัดกิจกรรม KM ครั้งที่ 4 ของชุมชนคนใกล้หมอ ในครั้งนี้มีเนื้อหาที่นำมาศึกษาด้วยกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง งานบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น 6)  โดยวิทยากร ได้แก่ คุณเกตุ  เถาเปาอินทร์  คุณอัมพร  อินทรัตน์ 
คุณทรัพย์  เรือนมั่น  เจ้าหน้าที่งานบริการห้องสมุด ชั้น 6  และคุณชนันท์ฐิดา  ผะสม หัวหน้าหน่วยบริการห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ เป็นผู้ให้ความรู้สำหรับกิจกรรม
KM ในครั้งนี้   ก่อนอื่นนั้น คุณชมพูนุช สราวุเดชา หัวหน้างานห้องสมุด (คุณเอื้อ) ได้กล่าวถึงกิจกรรม KM ของครั้งที่ผ่านมา เพื่อเป็นการทบทวนเนื้อหาเดิมที่ผ่านมา โดยในกิจกรรมครั้งที่  3 นั้นเป็นกิจกรรมเติมเต็มความรู้ เรื่อง  มาตรฐานงานบริการของห้องสมุดในภาพรวม  วิทยากร โดย  คุณชนันท์ฐิดา  ผะสม หัวหน้าหน่วยบริการห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์  ซึ่งสมาชิกในชุมชนต่างก็เข้าร่วมกิจกรรมโดยพร้อมเพียงกัน ทั้งนี้เพื่อเป็นการเติมเต็มความรู้เรื่องการให้บริการห้องสมุดของสมาชิกด้วย
          จากนั้นคุณเอื้อได้ส่งมอบให้กับวิทยากรรับช่วงต่อในการให้ความรู้ ดังนี้
          1. คุณเกตุ  เถาเปาอินทร์  เจ้าหน้าที่ให้บริการประจำเคาท์เตอร์ให้บริการ ชั้น 6 ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดังนี้  การปฏิบัติงานให้บริการห้องสมุดให้แก่ผู้ใช้  เพื่อมาเปิดประตูห้องสมุด  จากนั้นก็มาเปลี่ยนวันที่ของตราปั้มที่โต๊ะเคาท์เตอร์ให้บริการให้ครบทุกอัน  เพื่อความพร้อมในการให้บริการ  จากนั้นก็เปิดโปรแกรม Innopac Millennium  เพื่อพร้อมให้บริการระบบยืม-คืน ทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด 
            แนวทางการให้บริการระบบยืม-คืน ในเบื้องต้น มีดังนี้
 
             1) เข้าโปรแกรม Innopac Millennium 
             2) ล็อคอินรหัสของเจ้าหน้าที่  ก่อนเข้าใช้งานระบบยืม-คืน
             3) กรณีที่ผู้ใช้ต้องการยืมหนังสือ  ให้คลิกที่
 Check out  จากนั้นให้สแกนบัตรของผู้ใช้
             4) สแกนหนังสือที่ผู้ใช้ต้องการยืมออก  ระบบจะขึ้นข้อมูลบาร์โค้ด
  ชื่อหนังสื และวันกำหนดส่ง  ซึ่งหนังสือแต่ละประเภทจะมีระยะเวลากำหนดส่งไม่เท่ากัน ดังนั้นก่อนจะปั้มวันที่ส่งคืน ให้ตรวจสอบก่อนทุกครั้ง
             5) กรณีที่ผู้ใช้ต้องการคืน หนังสือ  ให้คลิกที่ Check In  โดยการคืนหนังสือนั้น ไม่ต้องใช้บัตรในการคืน  ให้เจ้าหน้าที่สแกนบาร์โค้ดตัวเล่มหนังสือที่ต้องการส่งคืนได้เลย
            6) การคืนหนังสือจากตู้ล่วงเวลา โดยเจ้าหน้าที่จะเปิดตู้คืนหนังสือ 2 ครั้งต่อวัน คือ ในช่วงเช้า  จะต้อง
Back date 1 วัน และเปิดตู้ในช่วงบ่าย  ซึ่งจะไม่ Back date ให้ เนื่องจากอยู่ในเวลาเปิดให้บริการของห้องสมุด
          การทำบัตรสมาชิก
          การทำบัตรสมาชิกของห้องสมุดคณะแพทย์นั้น จะแตกต่างจากห้องสมุดอื่นๆ  เนื่องจากมีประเภทสมาชิกที่หลากหลาย  ซึ่งรายละเอียดพื้นฐานดีดังนี้
          1) ข้าราชการ  ลูกจ้างประจำ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้ ถ่ายเอกสารบัตรประจำตัวและกรอกแบบฟอร์มทำบัตรที่เคาท์เตอร์ให้บริการชั้น 6
          2) ลูกจ้างชั่วคราว พนักงานส่วนงาน จะต้องถ่ายบัตรประจำตัวที่ตึกหน้าอธิการบดี ก่อน  แล้วนำบัตรประจำตัวที่มาถ่ายเอกสาร แล้วนำหนังสือรับรองให้หัวหน้าเซ็นต์รับรอง  จากนั้นกรอกแบบฟอรม์ พร้อมวางเงินประกัน 1,000 บาท
           3) แพทย์ประจำบ้าน แพทย์ใช้ทุน แพทย์ต่อยอด  ให้เอาเอกสารรับรองจากภาควิชาหรือหน่วยงานพร้อมรูปถ่าย 1 ใบ แล้วมากรอกแบบฟอร์มการสมัครสมาชิก พร้อมวางเงินประกัน 1,000 บาท ค่าทำบัตร 200 บาท รวมเป็นเงิน 1,200 บาท กรณีที่บัตรหมดอายุ สามารถไปรับเงินประกันคืนได้จำนวน 1,000 บาท  หมายเหตุ แพทย์ประจำบ้าน แพทย์ใช้ทุน แพทย์ต่อยอด อายุบัตรสมาชิกจะใช้ได้ปีต่อปี
           4) แพทย์ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง ให้มากรอกแบบฟอร์มการสมัครสมาชิกได้ทันที โดยไม่ต้องเสียค่าประกัน  เพียงนำรูปถ่ายมา 1 ใบ พร้อมเงินค่าทำบัตร 200 บาท ซึ่งขณะนี้บัตรที่คณะออกให้ ใช้ทำบัตรสมาชิกไม่ได้  เพราะเป็นสมาทการ์ดและไม่สามารถติดบาร์โค้ดได้
          5) บุคคลภายนอกให้ไปติดต่อขอทำบัตรสมาชิกด้วยตนเองที่สำนักสมุดกลาง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
       ในกรณีที่ที่แพทย์ไม่มีบัตร  แต่ต้องการยืมหนังสือ  ก็จะมีสมุดให้เซ็นต์ชื่อและข้อมูลของหนังสือ  โดยเจ้าหน้าที่จะต้องเน้นย้ำให้แพทย์เขียนให้สามารถอ่านออกได้  ในการเซ็นต์ยืมของแพทย์นั้น  ก่อนการให้ยืมจะมีการตรวจสอบรายชื่อของแพทย์ในสมุดรายชื่อที่ห้องสมุดได้รับจากภาควิชาต่างๆ ซึ่งจะวางไว้ที่เคาท์เตอร์ให้บริการ  ส่วน แพทย์ Elective  ที่มาปฏิบัติงานในระยะเวบา 1-2 อาทิตย์ จะไม่อนุญาตให้ยืมออกได้  เนื่องจากจะติดตามในการส่งคืนยาก  แต่จะอนุญาตให้ยืมได้ก็ต่อเมื่อมีหนังสือรับรองจากภาควิชา
        เจ้าหน้าที่ห้องสมุดทุกคนไม่มีสิทธิ์ในการต่ออายุสมาชิกให้กับนักศึกษาคณะอื่นที่ไม่ใช่นักศึกษาคณะแพทยศาสตร์
        คุณสุรชาติได้แนะนำว่า อยากให้เพิ่มช่องข้อมูลของผู้ใช้ โดยเพิ่มเติมช่องของเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ของผู้ใช้  เพื่อใช้ในการติดต่อผู้ใช้ในกรณีติดตามหนังสือที่ไม่ได้รับการคืน  จากนั้นคุณชัยรัตน์ ได้แสดงความคิดเห็นว่า ไม่เห็นด้วยกับการให้เบอร์โทรศัพท์  เนื่องจากเป็นข้อมูลส่วนตัวที่เป็นความลับส่วนบุคคล  ในการติดตามหนังสือที่ไม่ได้รับคืนนั้น  ยังเกิดปัญหาในการติดตามผ่านทางภาควิชา
      สำหรับสิทธิในการยืม  สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี  10 เล่ม สำหรับหนังสือ Basic  และภาษาไทยยืมได้ 2 เล่ม / นักศึกษาปริญญาโท ยืมได้ 20 เล่ม สำหรับหนังสือ Basic  และภาษาไทยยืมได้ 3 เล่ม / อาจารย์ ยืมได้ 40 เล่ม สำหรับหนังสือ Basic  และภาษาไทยยืมได้ 3 เล่ม / ลูกจ้าง, ข้าราชการ ยืมได้ 10 เล่ม สำหรับหนังสือ Basic  และภาษาไทยยืมได้ 3 เล่ม
         การยืมวารสาร
        
การยืมวารสารจะต้องนำบัตรออกจากวารสาร มาใส่ในช่องเสียบบัตรวารสาร และนำมาปั้มวันที่  จากนั้นให้ผู้ใช้เซ็นต์ยืมวารสารในสมุด  แล้วนำบัตรที่ปั้มวันที่เสียบไว้หลังตัวเล่มวารสารเช่นเดิม
        2. คุณอัมพร อินทรัตน์  เจ้าหน้าที่ให้บริการประจำเคาท์เตอร์ให้บริการ ชั้น 6 ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดังนี้ 
         บริการ Document Delivery : DD
        บริการ Document Delivery ให้บริการเฉพาะอาจารย์  ข้าราชการ พนักงานประจำ  และพนักงานส่วนงาน นักศึกษาบัณฑิต ส่วนนักศึกษาปริญญาตรีสงวนสิทธิ์ในการยืม ยกเว้นนักศึกษาของคณะสัตวแพทยศาสตร์ทุกชั้นปี  สามารถใช้บริการได้  เนื่องจากนักศึกษาคณะสัตวแพทย์อยู่ไกลเกิน ไม่สะดวกในการเดินทางมา ยืม-คืนหนังสือได้ทางห้องสมุดทุกคณะได้เปิดให้บริการแก่นักศึกษาเฉพาะคณะสัตวแพทย์
         สำหรับในการเข้าให้บริการ  ผู้ใช้สามารถเข้าใช้บริการได้ โดยเข้าใช้ผ่านทางเว็บไซต์ของห้องสมุดคณะแพทย์  http://www.med.cmu.ac.th/library   แล้วเลือก Document Delivery      จะลิ้งค์ไปยังหน้าบริการ Document Delivery  ของสำนักหอสมุด http://library.cmu.ac.th/dd2/ ซึ่งผู้ใช้สามารถกรอกรายละเอียดต่างๆ ได้แก่ เขียนชื่อ- นามสกุล- บาร์โค้ค-อีเมล์-สถานภาพ-เบอร์โทร-สถานที่มารับหนังสือที่ห้องสมุดอะไร ลงบนแบบฟอร์มในเว็บไซต์ 
          จากนั้นเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการจะเข้าระบบ DD-Admin  เป็นการตรวจเช็คว่ามีการขอยืม DD  หรือไม่ โดยจะล็อคอินเข้าไปเช็ครายชื่อหนังสือ  หากตรวจสอบแล้วพบว่ามีผู้ขอยืม DD มาทางเว็บไซต์  ให้จดเลขหมู่ของหนังสือที่ทางผู้ใช้ต้องการยืมแล้วไปหาหนังสือบนชั้นเพื่อดำเนินการยืมผ่านระบบยืมคืนต่อไป หลังจากที่ได้ตัวเล่มมาแล้วให้เข้าชื่อผู้ยืมผ่านระบบ  Millennium  หลังจากผ่านการยืมเข้าระบบแล้ว ก็มากด Sign Out เพื่อออกจากระบบ DD
           การบริการยืม iPad
             ห้องสมุดคณะแพทย์ได้จัดให้ยืม iPad เพื่อใช้ในการศึกษา ค้นคว้าสารสนเทศในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์  โดยผู้ใช้บริการสามารถติดต่อขอยืม(iPad) ได้ที่เคาน์เตอร์บริการชั้น 6
         การให้บริการ ผู้ใช้บริการต้องวางบัตรนักศึกษาหรือประจำตัวประชาชนพื้นที่ในการให้บริการผู้ใช้จะต้องใช้ภายในบริเวณห้องสมุดเท่านั้น ไม่สามารถนำออกจากห้องสมุดได้  ระยะเวลาการใช้งานไม่จำกัดเวลาชั่วโมง  แต่ต้องส่งคืนภายในวันที่ยืม  หากเกินกำหนดส่งคืน  ผู้ใช้จะเสียค่าปรับวันละ 200 บาท/ วัน และหากตรวจสอบพบความเสียหายของเครื่องจะต้องเสียค่าเสียหายเป็น 2 เท่าของราคาเครื่อง
         3. คุณทรัพย์  เรือนมั่น  เจ้าหน้าที่หน่วยบริการ ชั้น 6 ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดังนี้ 
         บริการยืมระหว่างห้องสมุด (
Inter library loan)
         บริการยืมระหว่างห้องสมุดให้บริการถ่ายสำเนาบทความวารสารจากห้องสมุดอื่นภายในประเทศ และต่างประเทศมีขั้นตอนในการปฏิบัติดังนี้
         บุคลากรในคณะแพทยศาสตร์สามารถขอใช้บริการ
ILL ผ่านคำขอออนไลน์โดยเข้าไปที่หน้าเว็บไซต์ห้องสมุด  คลิกตรงที่ Article Request  และกรอกรายละเอียดคำขอออนไลน์  ซึ่งจะใช้ได้เฉพาะอินเตอร์เน็ตเครือข่ายของคณะแพทย์  จากนั้นเข้าเจ้าหน้าที่ของห้องสมุดจะตรวจเช็คคำขอออนไลน์ที่จะต้องดำเนินการ (Staff Login)  แล้วตรวจสอบคำขอบทความ  โดยจะแสดงรายการคำขอตามเดือน  โดยสามารถค้นหาบทความที่ผู้ใช้ขอมา  หรือค้นหาจากชื่อผู้ขอวารสาร จากนั้นเจ้าหน้าที่ก็จะทำกรค้นหาบทความเพื่อส่งให้กับผู้ใช้                 
           หากห้องสมุดคณะแพทย์ไม่มีบทความที่ผู้ใช้ต้องการ  จะดำเนินการขอบทความจากห้องสมุดแพทย์ภูมิภาคก่อน  เนื่องจากเป็นความร่วมมือกัน  หากยังไม่พบบทความที่ต้องการจะดำเนินการขอบทความจากห้องสมุดแพทย์อื่นๆทั่วประเทศ  หรือห้องสมุดอื่นๆในประเทศ  และหากยังไม่พบบทความที่ต้องการอีก  จะดำเนินการขอบทความจาก World Cat ซึ่งจะส่งคำขอผ่านทางสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ต่อไป
          ค่าบริการการขอบทความ 
           บุคลากรคณะแพทย์(อาจารย์ บุคลากร นักศึกษาแพทย์) ไม่มีค่าใช้จ่าย
          ส่วนคำขอจากต่างคณะ หรือต่างสถาบัน หรือโรงพยาบาลในเครือข่าย  จะคิดค่าบริการ ดังนี้ คือ  บทความ
full text บทความละ 20 บาท  ส่วนบทความที่ต้องสแกนไฟล์  คิดค่าบริการ แผ่นละ 3 บาท
           สำหรับรายละเอียดในเชิงลึกอื่นๆ จะอยู่ในคลังความรู้ของกิจกรรม KM ครั้งที่ 4  ซึ่งสามารถเข้าดูรายละเอียดอื่นๆเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์  KM ของห้องสมุด http://www.med.cmu.ac.th/library/km-neardr/
           หลังจากจบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของวิทยากรทั้ง 3 ท่าน ต่อไปเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคุณชนันท์ฐิดา  ผะสม หัวหน้าหน่วยบริการห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยจะขอสรุปเฉพาะประเด็นสำคัญๆ  ซึ่งรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถ เข้าดูรายละเอียดอื่นๆเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์  KM ของห้องสมุดเช่นกัน สำหรับประเด็นสำคัญๆ  ที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้นั้น มีดังนี้
         1. บริการสืบค้น
          ผู้ใช้สามารถสืบค้นได้จากเว็บไซต์ห้องสมุดคณะแพทย์  โดยสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศได้ทุกประเภท  โดยระบบ
OPAC จะลิ้งค์ไปยัง OPAC ของสำหนักหอสมุด http://search.lib.cmu.ac.th/  หรือสามารถค้นหาทรัพยากรสารสนเทศได้ที่หน้าเว็บไซต์ของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้  ทรัพยากรสารสนเทศที่ห้องสมุดคณะแพทย์มีให้บริการ ผู้ใช้สามารถเข้าดูได้ที่  Explore our collection  ซึ่งประกอบด้วยทรัพยากรสารสนเทศ  ดังนี้
  Books  -- ค้นหาหนังสือภายในห้องสมุด
 Journals – ค้นหาตัวเล่มวารสารที่มีให้บริการภายในห้องสมุด
  e-Books – ฐานข้อมูล  e-Books ที่รวบรวม e-Books ที่มีให้บริการในห้องสมุดคณะแพทย์
  e-Journals – ฐานข้อมูล Medical Journals Index (MJI ) ที่รวบรวมรายชื่อวารสารออนไลน์  ที่เปิดให้บริการโดยห้องสมุดคณะแพทย์
  e-Databases – ฐานข้อมูล Medical Database ที่ห้องสมุดคณะแพทย์บอกรับ และเปิดให้บริการ โดยจะแบ่งตามประเภททรัพยากร  ได้แก่  Medical E-Journals [index] ,  Medical E-Books [index] , Clinical/Evidence Base Medicine ,     Free Trial Database
  e-Newspapers – ฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์อิเล็คทรอนิกส์ โดยจะลิ้งค์ไปยังเว็บไซต์ http://www.pressreader.com/
  Audio-Visual – ฐานข้อมูลสื่อโสตทัศนวัสดุ ได้แก่ CD, VCD, DVD  ที่มีให้บริการในห้องสมุดคณะแพทย์
          2. บริการตอบคำถามทั่วไป
          บริการตอบคำถามทั่วไปของห้องสมุดคณะแพทย์  มี 5 ช่องทาง  ดังนี้
              1. เคาท์เตอร์บริการตอบคำถาม
              2. ทางเว็บไซต์
Ask a librarian  ที่ลิ้งค์http://www.med.cmu.ac.th/library/ask_librarian/
              3. Line ของห้องสมุด โดย ID คือ 053-945206
              4.
Facebook ของห้องสมุด ที่ลิ้งค์  https://www.facebook.com/cmumedlib/
              5. โทรศัพท์  เบอร์โทร 053-935206
            3. Medical Application
            ห้องสมุดคณะแพทย์ให้บริการคำแนะนำในการใช้ Medical Application  ดังนี้
            1.
UpToDate เป็นฐานข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ทางการแพทย์ (Evidence-Based Medicine) ที่ทันสมัย เพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูลในการตัดสินใจรักษาผู้ป่วย  โดยผู้ใช้สามารถใช้งานนอกเครือข่ายคณะแพทยศาสตร์ โดยดาวน์โหลด Uptodate Application  และลงทะเบียนการใช้งานที่เว็บไซต์ห้องสมุด  http://www.med.cmu.ac.th/library  เท่านั้น และต้องใช้อินเตอร์เน็ตภายในเครือข่ายคณะแพทยศาสตร์ มช. เท่านั้นเช่นกัน  Account มีระยะเวลาการใช้งาน 90 วัน การต่ออายุการใช้งานของ Account โดยการ login ภายในเครือข่ายคณะแพทย์ มช. และสามารถใช้งานได้กับ Android, iOS, Windows phones
          2.
Unbound Medicine เป็นแหล่งรวบรวมสารสนเทศประเภทหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ทางการแพทย์  (E-books) จำนวน 12 เล่ม ได้แก่
5 Minute clinical Consult, 5 Minute Emergency Consult, 5 Minute Pediatric Consult, Harrison’s Manual of Medicine, Taber’s Medical Dictionary, John Hopkins ABX, John Hopkins Diabetes Guide, John Hopkins HIV Guide, Davis’s Drug Guide, Evidence-Based Medicine Guidelines, Field Operations Guide
        โดยสามารถใช้งานผ่านเว็บไซต์ และโทรศัพท์มือถือได้ทุกระบบปฏิบัติการ สามารถใช้งานได้ทั้งเครือข่ายมช. และเครือข่ายคณะแพทย์  สามารถสมัครสมาชิกได้ทั้งทางคอมพิวเตอร์ และในแอพลิเคชั่น uCentral และสามารถใช้งานผ่านระบบออฟไลน์ได้อีกด้วย
         3.
BMJ Best Pactice  ฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ทางการแพทย์ ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัย คู่มือ ตลอดจน ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาสำหรับใช้ประกอบการตัดสินใจเพื่อวินิจฉัย รักษา พยากรณ์โรคและดูแล ป้องกันโรคได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว พร้อมข้อมูลอ้างอิงเพื่อการตรวจสอบ หรือเพิ่มเติมความรู้ ให้บริการข้อมูลตั้งแต่ปี 1997 ถึงปัจจุบัน สามารถใช้งานได้ทั้งเครือข่ายมช. และเครือข่ายคณะแพทย์  Account มีระยะเวลาการใช้งาน 6 เดือน การต่ออายุของ Account โดยการ login ภายในเครือข่ายมช. และคณะแพทย์สามารถใช้งานได้กับ Android และ iOS
          4. AccessMedicine Application  ฐานข้อมูลหนังสือตําราทางการแพทย์ฉบับเต็มของสํานักพิมพ์ McGraw
Hill ซึ่งประกอบด้วยตําราหลัง 2 กลุ่ม คือ
     1) กลุ่มทางคลินิก (Clinical Library) ได้แก่ Harrison’s, Hurst’s the Heart, Schwartz Surgery, Goodman & Gilman’s, Tintinalli’s Emergency Medicine, Fitzpatrick Color Atlas เป็นต้น
       2) กลุ่มทางคลินิกและพรีคลินิกจาก LANGE (LANGE Educational Library) ได้แก่  Current Diagnosis & Treatment, Harper’s Illustrated Biochemistry, Basic Histology เป็นต้น 
และยังประกอบไปด้วยข้อมูลยามากกว่า
51,000 รายการ ข้อมูลแนวทางการรักษา วินิจฉัยอาการความผิดปกติและข้อมูลเชิงสรุป วีดิโอ ภาพประกอบ คู่มือผู้ป่วย ข้อมูลปัจจุบันและข่าวในวงการแพทย์และสาธารณสุข ตลอดจนแบบทดสอบเพื่อประเมินตนเองจากหนังสือเล่มต่างๆ  โดยสามารถใช้งานได้ทั้งเครือข่ายมช. และเครือข่ายคณะแพทย์  Account มีระยะเวลาการใช้งาน 90 วัน การต่ออายุของ Account โดยการ login ภายในเครือข่ายมช. และคณะแพทย์ สามารถใช้งานได้กับ Android และ iOS
         5. Journal of Neurosurgery App  สามารถเข้าดูวารสารอิเล็กทรอนิกสืได้ที่ลิ้งค์ MJI ของห้องสมุดคณะแพทย์  JNS Mobile คือ Application ของวารสารThe Journal of Neurosurgery สำหรับอ่านบทความฉบับเต็มของวารสาร และสามารถดูรูปภาพความละเอียดสูงและวิดีโอ การเข้าถึงฟีดข่าวบทความที่ทำ bookmark การค้นหาเนื้อหาวารสารรับการแจ้งเตือนทันทีที่เนื้อหาล่าสุด  สามารถอ่านและแบ่งปันเนื้อหาผ่านสื่อสังคมออนไลน์  สามารถใช้งานได้ทั้งเครือข่ายมช. และเครือข่ายคณะแพทย์ Account มีระยะเวลาการใช้งาน 90 วัน การต่ออายุของ Account โดยการ login ภายในเครือข่ายมช. และคณะแพทย์ สามารถใช้งานได้กับ Android และ iOS         
           สำหรับกิจกรรม KM ในครั้งนี้มีสมาชิกชุมชนให้ความสนใจเข้าร่วมอบรมจำนวน 24 คน จากสมาชิกของชุมชนทั้งหมด 27 คน คิดเป็นร้อยละ 89 ซึ่งคาดว่าสมาชิกชุมชนที่มาเข้าร่วมกิจกรรม KM ในครั้งจะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น6)  และสื่อที่วิทยากรนำเสนอในครั้งนี้ จะจัดเก็บไว้ในคลังความรู้ของกิจกรรม KM  ของทางชุมชน  ซึ่งสมาชิกในชุมชนสามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้
          หลังจากนั้นคุณเอื้อได้แจ้งกิจกรรมครั้งต่อไปของชุมชน คือ กิจกรรมแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง งานบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น 8) ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2558 ณ ห้องประชุมชั้น 5 ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ ซึ่งสมาชิกรับทราบโดยทั่วกัน
 



รายงานผลการจัดการความรู้ กิจกรรม ครั้งที่ 3 เรื่อง เติมเต็มความรู้ เรื่อง มาตรฐานงานบริการของห้องสมุดในภาพรวม

รายงานผลการจัดการความรู้ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
1. ชุมชนแนวปฏิบัติ   ชุมชนคนใกล้หมอ
2. ประเด็นความรู้ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์  พัฒนาห้องสมุดให้เป็น Learning Center
3. องค์ความรู้ที่จำเป็น การบริการและส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ
4. กิจกรรม ครั้งที่ 3
                   เรื่อง  เติมเต็มความรู้เรื่องมาตรฐานงานบริการของห้องสมุดในภาพรวม
5. วันที่จัดกิจกรรม 1 ก.ย. 2558  เวลา  13.3015.30 น  สถานที่ ห้องประชุมชั้น 5  ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์
6. วัตถุประสงค์  เพื่อเติมเต็มความรู้เรื่องมาตรฐานงานบริการของห้องสมุดในภาพรวม โดยหน่วยบริการห้องสมุด

7. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม สมาชิกชุมชนคนใกล้หมอ จำนวน  19 คน
          เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2558 ได้จัดกิจกรรม KM ครั้งที่ 3 ของชุมชนคนใกล้หมอ ในครั้งนี้มีเนื้อหาที่นำมาศึกษาด้วยกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง งานบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น 6)  ครั้งที่ 1 โดยวิทยากร ได้แก่ คุณชนันท์ฐิดา  ผะสม หัวหน้าหน่วยบริการห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ เป็นผู้ให้ความรู้สำหรับกิจกรรม KM ในครั้งนี้   ก่อนอื่นนั้น คุณชมพูนุช สราวุเดชา หัวหน้างานห้องสมุด (คุณเอื้อ) ได้กล่าวถึงกิจกรรม KM ของครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 เพื่อเป็นการทบทวนเนื้อหาเดิมที่ผ่านมา โดยในกิจกรรมครั้งที่ 2 นั้นเป็นกิจกรรมเติมเต็มความรู้ เรื่อง พฤติกรรมที่เป็นเลิศ ( Excellent service behavior) วิทยากรโดย อ.ชลธร บุญศรี ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารเรียนรวม คณะแพทยศาสตร์ ซึ่งสมาชิกในชุมชนต่างก็เข้าร่วมกิจกรรมโดยพร้อมเพียงกัน ทั้งนี้เพื่อเป็นการเติมเต็มความรู้เรื่องการให้บริการห้องสมุดของสมาชิกด้วย
          จากนั้นคุณเอื้อได้ส่งมอบให้กับวิทยากรรับช่วงต่อในการให้ความรู้ ดังนี้
           คุณชนันท์ฐิดา  ผะสม ได้นำความรู้ที่ได้จากการฟังบรรยายเรื่อง พฤติกรรมที่เป็นเลิศ ของอ.ชลธร บุญศรี มาประยุกต์ใช้กับงานบริการห้องสมุด โดยมีเนื้อหาโดยสรุป  ดังนี้
       1. ความสําคัญของการบริการ
       คำว่า การบริการตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Service” ในความหมายที่ว่าเป็นการกระทำที่เปี่ยมไปด้วยความช่วยเหลือ การให้ความช่วยเหลือ การดำเนินการที่เป็นประโยชน์ (จิตตินันท์ เดชะคุปต์, 2540. หน้า 6) ดังนั้น งานบริการเป็นงานสร้างความพึงพอใจและประทับใจให้กับลูกค้าที่มาติดต่อ การบริการที่ดีย่อมมีผลดีต่อการปฏิบัติงาน ความล้มเหลวในการบริการจะเป็นผลเสียอย่างร้ายแรงหากไม่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น ดังนั้นผู้รับผิดชอบในการให้บริการและการต้อนรับต้องตระหนักและระลึกอยู่เสมอว่า การบริการที่ดีต้องมีความรับผิดชอบ (ไพรัช วิริยะลัพภะ, 2544. หน้า 19)
     การบริการสามารถแสดงออกเป็น 2 แบบ คือ
        1. ขั้นตอนการให้บริการ เป็นการปฏิบัติการตามขั้นตอน และเทคนิค ของวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้ผู้รับบริการ ได้ประโยชน์ ตรงตามความต้องการมากที่สุด
       2. พฤติกรรมการบริการ เป็นการแสดงออกด้านการแต่งกาย สีหน้า แววตา กิริยา ท่าทาง และ การพูดจา ซึ่งพฤติกรรมที่ดี ย่อมสร้างความสุข ให้เกิดขึ้นกับผู้บริการได้เป็นอย่างดี ได้แก่ การแต่งกายที่สุขภาพ สะอาด เรียบร้อย สีหน้าและแววตาที่ยิ้มแย้ม แจ่มใส อ่อนโยน กิริยาท่าทางที่ สุภาพ อ่อนน้อม การพูดจาด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวล สุภาพ ชัดเจน ให้เกียรติ มีหางเสียง
     การบริการจะเกี่ยวข้องกับบุคคล 2 ฝ่าย
        1. ผู้ให้บริการ : ผู้ให้บริการ หมายถึง ผู้ปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือต่อบุคคลอื่นที่ร้องขอความช่วยเหลือ หรือแสดงความต้องการอย่างใดอย่างหนึ่ง
        2. ผู้รับบริการ : ผู้รับบริการ หมายถึง ผู้ที่แจ้งความประสงค์ หรือ ความต้องการเพื่อให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งตอบสนองตามความต้องการของตนเองและตนเองรู้สึกพอใจ
     2. งานบริการของห้องสมุด
         สุทธิลักษณ์ อำพันวงษ์ (2521, หน้า 56-57) อธิบายว่า บริการของห้องสมุด คืองานที่ห้องสมุดจะอำนวยความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้เริ่มตั้งแต่การสร้างบรรยากาศเชิญชวนให้เข้าห้องสมุดด้วยการจัดสถานที่ภายในห้องสมุดให้ดูสวยงาม มีระเบียบ สะอาดตา ทาสีเย็นตาภายในห้อง ขัดพื้นห้องให้เรียบ เพื่อให้เด็กนั่งอ่านหนังสือได้ ตกแต่งห้อง จัดชั้นหนังสือให้เป็นระเบียบ มีตู้บัตรรายการ และยังจัดให้มีบริการจ่ายรับ บริการหนังสือจอง บริการตอบคำถาม บริการแนะแนวการอ่าน บริการปฐมนิเทศการใช้ห้องสมุด บริการจัดทำคู่มือการใช้ห้องสมุด และบริการจัดทำรายชื่อหนังสือประกอบรายวิชาต่างๆ เป็นต้น  
         2.1 ความสำคัญของการบริการในห้องสมุด
              2.1.1 ความสำคัญต่อผู้ใช้บริการ
                       - การส่งเสริมการศึกษา
                       - การสนองความต้องการและความสนใจในการศึกษาค้นคว้าของผู้ใช้
                      - การสนับสนุนการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
                      - การสนับสนุนการค้นคว้าวิจัย
                      - การช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย
                      - การประหยัดเวลาในการแสวงหาสารนิเทศ
                      - การส่งเสริมการใช้เวลาให้เป็นประโยชน์
                      - การสนับสนุนให้ผู้ใช้เป็นคนทันสมัย ทันเหตุการณ์ ก้าวทันโลก
             2.1.2 ความสำคัญต่อห้องสมุด
                      การบริการเป็นภารกิจหลักของห้องสมุด สร้างการรับรู้ หรือภาพลักษณ์ที่ดีต่อห้องสมุด ทำให้ผู้ใช้เห็นว่าห้องสมุดเป็นที่พึ่งได้ เนื่องจากได้รับการบริการตามที่คาดหวังและพึงพอใจ เกิดการยอมรับและศรัทธา นำไปสู่การได้รับความร่วมมือสนับสนุนทั้งจากภายในและภายนอก
             2.1.3 ความสำคัญต่อองค์กรที่ห้องสมุดสังกัด          
                      บริการของห้องสมุดเป็นภาพลักษณ์ของหน่วยงาน เป็นการประชาสัมพันธ์องค์กรทั้งทางตรงและทางอ้อม
             2.1.4 ความสำคัญต่อผู้ให้บริการ
                         ด้านผู้ปฏิบัติงานนั้น การบริการช่วยให้มีอาชีพและมีรายได้ เกิดความภาคภูมิใจที่ได้ประกอบภารกิจที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและสังคม ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
        2.2 วัตถุประสงค์ของบริการของห้องสมุด       
                   เพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงทรัพยากรสารนิเทศทุกประเภทของห้องสมุดอย่างสะดวกและรวดเร็ว ให้ผู้ใช้ได้รับประโยชน์จากทรัพยากรของห้องสมุดให้มากที่สุด
                   เพื่อให้ผู้ใช้มีโอกาสเลือกสรรทรัพยากรสารนิเทศได้ตรงกับความต้องการ และทราบวิธีใช้ทรัพยากรสารนิเทศแต่ละประเภท  
                   เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า วิจัย โดยเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้แสวงหาความรู้ต่าง ๆ ซึ่งช่วยให้ศึกษาได้อย่างกว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งขึ้น 
                   เพื่อบริการข่าวสาร ข้อมูล อย่างละเอียดลึกซึ้ง ทันสมัย ทันเหตุการณ์ 
                   เพื่อให้ผู้ใช้เกิดนิสัยรักการอ่านและการศึกษาค้นคว้า ส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าด้วย ตนเองและมีนิสัยรักการอ่านอย่างยั่งยืน
 2.3 องค์ประกอบของบริการของห้องสมุดและศูนย์สารนิเทศ
       องค์ประกอบที่ 1 ทรัพยากรสารนิเทศ โดยที่ทรัพยากรสารสนเทศจะต้องตรงตามความสนใจและต้องการของผู้ใช้ มีหลากหลายประเภท รูปแบบ มีคุณภาพ และทันสมัย และมีปริมาณสำหรับให้บริการเพียงพอ
       องค์ประกอบที่ 2 ผู้ใช้บริการ เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้งานบริการสามารถดำเนินไปได้เพราะงานบริการของห้องสมุดจัดขึ้นเพื่อสนองความต้องการของผู้ใช้  และเพื่อส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรสารนิเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์
      องค์ประกอบที่ 3 วิธีบริการ เป็นการจัดบริการให้ได้ประสิทธิภาพซึ่งต้องคำนึงถึงความสะดวกในการใช้บริการของผู้ใช้ ทั้งบริการภายในห้องสมุดและบริการภายนอกห้องสมุด ไม่ว่าจะเป็น บริการแบบตั้งรับ คือ บริการที่จัดให้เป็นประจำแก่ผู้ใช้ภายในห้องสมุด เข้ามาเลือกใช้ด้วยตนเองจากทรัพยากรสารนิเทศที่จัดไว้เป็นระบบ พร้อมมีคู่มือหรือคำแนะนำในการใช้บริการ หรือ บริการเชิงรุก ได้แก่การจัดบริการแก่ผู้ที่ไม่สามารถเข้าใช้บริการในห้องสมุด ด้วยสาเหตุต่างๆ เช่น อยู่ไกลจากห้องสมุด มีภาระหน้าที่ไม่สามารถมาใช้บริการในเวลาห้องสมุดเปิดทำการ หรือมีข้อจำกัดด้านอื่นๆ ก็ตามให้ได้ใช้บริการของห้องสมุด (จารุวรรณ สินธุโสภณ, 2527, หน้า 284-285)
      องค์ประกอบที่ 4 ผู้ให้บริการ คือ ผู้ให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการห้องสมุด หากผู้ใช้บริการได้รับบริการที่ดีก็จะก่อให้เกิดความประทับใจและเกิดความชื่นชมในองค์กร ซึ่งเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่ห้องสมุด แต่ในทางกลับกันถ้าผู้ใช้บริการไม่ได้รับการบริการที่ดีก็จะเกิดความรู้สึกในแง่ลบต่อผู้ให้บริการและต่อห้องสมุดในทันที  ดังนั้นผู้ให้บริการจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญ ซึ่งนำไปสู่การบริการที่เป็นเลิศ
      คุณลักษณะของผู้ให้บริการที่ดีควรประกอบไปด้วย กาย  วาจา  ใจ จะนำไปสู่การให้บริการที่เป็นเลิศ 
-  กาย  บุคลิกภาพและการแต่งกายเป็นอีกองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดอีกเรื่องหนึ่ง เพราะเป็นสิ่งแรกที่ผู้ใช้บริการได้พบเห็นและอาจเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถสร้างความประทับใจแรกพบ (First Impression) ได้ทั้งด้านบวกและลบ เพราะผู้ให้บริการเป็นตัวแทนขององค์กรที่มีผลต่อความประทับใจอย่างชัดเจน หากผู้ให้บริการแต่งกายเรียบร้อย และพฤติกรรมการให้บริการดี ย่อมเป็นภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร
-  วาจา ต้องใช้ถ้อยคำชวนฟัง น้ำเสียงไพเราะชัดเจน พูดมีหางเสียง มีคำขานรับที่เหมาะสม กล่าวต้อนรับและสอบถามความต้องการของผู้ใช้บริการ ไม่พูดแทรก ไม่กล่าวคำตำหนิ และอาจพูดทวนย้ำสิ่งที่มีผู้ใช้บริการต้องการให้ผู้ใช้บริการฟังเพื่อความเข้าใจตรงกัน พูดให้เกิดประโยชน์ต่อผู้รับบริการ ไม่พูดมากจนเกินจริง และใช้ถ้อยคำที่เหมาะสม
- ใจ ได้แก่ คนมีจิตบริการ ชอบทำงานเพื่อคนอื่นอย่างเป็นสุข  คนมีจิตบริการจะทำงานด้วยใจกว้าง ชอบสร้างประโยชน์มากกว่ารอรับผลประโยชน์  คนมีจิตบริการจะเต็มใจและจริงใจในการช่วยเหลือหรือให้บริการกับผู้อื่น
ส่วนคุณลักษณะอื่นๆของผู้ให้บริการที่ดี  ก็ได้แก่ มีความรับผิดชอบ อดทน มีทักษะด้านการสื่อสารที่ดี  มีความคล่องแคล่ว  มีความกระตือรือร้น  มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี  มีจิตวิทยาในการสื่อสาร  มีวุฒิภาวะทางอารมณ์  มีมารยาทและรู้จักกาลเทศะ
องค์ประกอบที่ 5 อุปกรณ์และเครื่องมือในการให้บริการ เป็นการจัดบริการห้องสมุดในปัจจุบันซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีการพัฒนาอย่างมาก การจัดบริการต้องคำนึงถึงอุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ ที่จะอำนวยความสะดวกและรวดเร็วในการใช้บริการ เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ โทรสาร ระบบเครือข่ายไร้สาย เป็นต้น 
สรุปแล้ว การบริการที่เป็นเลิศ ประกอบไปด้วยหลายปัจจัย ซึ่งผู้ให้บริการคือกลไกสำคัญที่สุดที่จะต้องพัฒนาบุคลิกภาพและมีทัศนคติที่ดี โดยเฉพาะการมีจิตสำนึกในการรักการให้บริการเพื่อการพัฒนาการบริการห้องสมุดอย่างสมบูรณ์แบบ  แต่ท้ายที่สุด การบริการที่เป็นเลิศจะเกิดขึ้นได้ เมื่อคนในห้องสมุดมีความร่วมมือร่วมใจกัน มีการทำงานอย่างเป็นระบบและสนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน เพื่อส่งเสริมการบริการของห้องสมุดให้เป็นเลิศ
          เมื่อจบการบรรยายจากวิทยากร วิทยากรได้เปิดโอกาสให้สอบถามเพิ่มเติม และเสนอแนะในเรื่องการให้บริการ ดังนี้
         คุณสุรชาติ สุวรรณ์ ได้แนะนำเรื่องการแต่งกาย  การสวมรองเท้า  การแต่งกายให้เรียบร้อย  และเสนอแนะให้แต่งกายอย่างเรียบร้อย  เหมาะสมของบุคลากรห้องสมุดทุกๆคน  เรื่องการใช้อุปกรณ์อื่นๆในเวลาปฏิบัติงาน  การใช้อินเตอร์เน็ต  การใช้หูฟัง  รวมทั้งเรื่องการอยู่เวรล่วงเวลา  การพูดคุยกันในเวลาปฏิบัติงาน
          คุณชมพูนุช สราวุเดชา  เสนอแนะแนวทางในการพูดคุยกับผู้ใช้บริการกับผู้ใช้ประเภทต่างๆ  และการยิ้มให้กับผู้ใช้บริการ  และเสนอแนะว่าการปฏิบัติงานด้านงานบริการที่ดีเริ่มต้นที่ใจ 
            จากนั้นได้ถามวิทยากรว่า  ควรจะเริ่มการฝึกอย่างไร? วิทยากรตอบว่า  การเริ่มต้มการฝึกควรเริ่มต้นจากการช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานในการทำงานในเรื่องเล็กๆน้อยๆก่อน  หรือช่วยเหลือผู้ใช้ในเรื่องเล็กๆน้อยๆ  คิดในแง่ดี  มองโลกในแง่ดี มีทัศนคติในแง่บวก  และนำมาเป็นแรงบันดาลในการทำงานต่อไป
          คำถามต่อไป ถามว่า  ในกรณีที่พบเจอผู้ใช้ที่ไม่เข้าใจในการให้บริการ  จะมีวิธีในการจัดการปัญหาอย่างไร?
          วิทยากรตอบว่า  เวลาที่พบเจอผู้ใช้ที่ไม่เข้าใจในการให้บริการ  ให้ใช้การยิ้มในการเปิดทางการอธิบายข้อมูลต่างๆแก่ผู้ใช้  ใช้เหตุผลในการให้บริการ  และหากไม่สามารถให้บริการได้ อาจจะต้องขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆต่อไป
           สำหรับกิจกรรม KM ในครั้งนี้มีสมาชิกชุมชนให้ความสนใจเข้าร่วมอบรมจำนวน 19 คน จากสมาชิกของชุมชนทั้งหมด 27 คน คิดเป็นร้อยละ 70  ซึ่งคาดว่าสมาชิกชุมชนที่มาเข้าร่วมกิจกรรม KM ในครั้งจะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมบริการที่เป็นเลิศ และมาตรฐานงานบริการของห้องสมุดในภาพรวม  และสื่อที่วิทยากรนำเสนอในครั้งนี้ จะจัดเก็บไว้ในคลังความรู้ของกิจกรรม KM  ของทางชุมชน  ซึ่งสมาชิกในชุมชนสามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้
          หลังจากนั้นคุณเอื้อได้แจ้งกิจกรรมครั้งต่อไปของชุมชน คือ กิจกรรมแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง งานบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น 6) ในวันที่ 20 ตุลาคม 2558 ณ ห้องประชุมชั้น 5 ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ ซึ่งสมาชิกรับทราบโดยทั่วกัน