7 กันยายน 2555

การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานของบุคคล


การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานของบุคคล
ดร.พจน์ พจนพาณิชย์กุล

        ในการบริหารงานไม่ว่าภาครัฐ หรือเอกชน ผู้บริหารทุกคนล้วนมีความต้องการให้บุคลากรของตนได้รับการพัฒนา และต้องการให้บุคลากรของตนมีการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา ซึ่งบุคคลที่มีการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลานั้นจะมีความพร้อมต่อการแข่งขัน และจะเป็นบุคคลที่พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หน่วยงานหรือองค์กรใดก็ตามที่บุคลากรมีการพัฒนาตนเอง ย่อมก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานและนำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้าขององค์กร
        นอกเหนือจากการพัฒนาบุคลากรเพื่อองค์กรแล้ว การพัฒนาตนเองของบุคลากรยังส่งผลต่อความสำเร็จหรือเพื่อความก้าวหน้าในอาชีพอีกด้วย การพัฒนาตนเองนั้นถือเป็นการแข่งขันกับตัวเองเพื่อเป็นบันไดไปสู่ความก้าวหน้าในอนาคต และเป็นการเตรียมความพร้อมในการที่จะต้องแข่งขันกับคนอื่น ในโลกของการทำงานที่มีการแข่งขันสูงเวทีการทำงานจะเปิดโอกาสให้กับคนที่มีประสิทธิภาพในการทำงานเสมอ และเช่นเดียวกัน “คนที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงจากการพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่องในเรื่องต่าง ๆ มักจะพร้อมอยู่เสมอสำหรับการแข่งขันไม่ว่าในเวทีหรือสถานการณ์ใดก็ตาม”
        การพัฒนา (Development) คือ การทำให้ดีขึ้น หรือเป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งที่ดีกว่า (Change for the better) ส่วนประสิทธิภาพในการทำงานนั้น หมายถึง การทำงานที่ให้ผลผลิต (Out Put) สูงเมื่อเทียบกับปัจจัยนำเข้า (In Put) หรือพูดให้ง่ายขึ้นก็คือ การประหยัดทรัพยากร (4 M) และเวลา ซึ่งมีความเกี่ยวพันธ์กับต้นทุนนั้นเอง ดังนั้นการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตที่เพิ่มขึ้น หรือสามารถลดต้นทุนได้เพิ่มขึ้น ถ้าจะว่าไปแล้วการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน ถือเป็นการพัฒนาศักยภาพของบุคคลให้มีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง
การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานของบุคคลนั้น สามารถกระทำได้หลากหลายรูปแบบ ในที่นี้ผู้เขียนขอแนะนำเทคนิคที่ใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานของบุคคล ซึ่งทุกคนสามารถนำไปปฏิบัติเพื่อการพัฒนาตนเองได้ดังนี้

1. วิเคราะห์ตนเอง
ก่อนที่เราจะเปลี่ยนแปลงหรือปรับเปลี่ยนตัวเอง สิ่งแรกที่ควรต้องทำคือ การวิเคราะห์ตนเอง คนเรานั้นถ้ารู้ว่าตนเองมีความสามารถ ความชำนาญหรือมีศักยภาพพิเศษในด้านใด ก็ควรที่จะต้องเสริมศักยภาพของตนในด้านนั้น และควรที่จะต้องทำในสิ่งที่ตนเองมีความถนัดหรือมีความชำนาญ และสำหรับความสามารถในด้านที่ยังขาดทักษะและความชำนาญก็ควรที่จะหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อเป็นการพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น ในอนาคต

2. มุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลง
การที่จะพัฒนาตนเองได้ ต้องมีความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง และต้องมีความมุ่งมั่นมากกว่าแค่ความตั้งใจ ต้องมีความเชื่อว่า ศักยภาพของตนเองนั้นสามารถพัฒนาขึ้นได้ และทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจ ในการที่จะเปลี่ยนแปลงตนเองให้เป็นคนใหม่ที่มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น และต้องเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงจะนำมาซึ่งสิ่งดี ๆ ในชีวิตวันข้างหน้า

3. มองโลกในแง่ดี (คิดบวก)
“พรุ่งนี้ต้องดีกว่าเมื่อวาน”..... “ปัญหาทุกอย่างแก้ไขได้ และมีทางออกของปัญหาเสมอ”
หลายคนคงเคยได้ยิน 2 ประโยคนี้มาแล้ว แต่ใครจะสามารถทำใจให้คิดและยอมรับกับความรู้สึกเหล่านี้ได้ตลอดเวลา ในการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานของบุคคลนั้น ใช่ว่าจะเป็นการพัฒนาประสิทธิภาพในงานแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่การพัฒนาทางความคิดและทัศนคติในการทำงานก็จะเป็นปัจจัยเสริมต่อการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานให้เพิ่มขึ้น ดังนั้นการมองโลกในแง่ดี หรือการคิดบวกนั้น เป็นพฤติกรรมของบุคคลที่ควรปฏิบัติ และสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้เกิดเป็นนิสัย การมองโลกในแง่ดี และการคิดบวกจะช่วยในการเสริมกำลังใจและสามารถช่วยลดปัญหาในเรื่องของความขัดแย้งได้เป็นอย่างดี ทั้งความขัดแย้งที่เกิดขึ้นกับบุคคลอื่น และความขัดแย้งในตัวตนของตนเอง

4. ใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ
การหาความรู้เพิ่มเติมจะช่วยให้สมองได้รับการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการหาความรู้เพิ่มเติมไม่จำเป็นจะต้องเป็นความรู้ที่เกี่ยวกับงานที่ทำอยู่ในขณะนั้นเพียงเท่านั้น แต่เราสามารถหาความรู้ในด้านอื่น ๆ ที่เรายังไม่รู้เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม อาทิเช่น ความรู้ทางด้านการตลาด เศรษฐกิจ การเมือง กฎหมาย โดยความรู้เหล่านี้เราสามารถหาได้จากการสัมมนา ฝึกอบรม อ่านหนังสือ หรือสอบถาม พูดคุย ปรึกษากับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญก็ได้เช่นกัน ดังคำกล่าวที่ว่า “ความรู้ไม่มีวันเรียนจบ และไม่มีใครแก่เกินเรียน” อีกทั้งคนที่มีความรู้มากก็จะสามารถแก้ปัญหาได้ง่าย หาทางออกของปัญหาได้มากขึ้น
แน่นอนว่าผลตอบแทนสูงสุดที่เราได้จากการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานนั้น ไม่ได้อยู่ที่ผลงานของเราแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่อยู่ที่ศักยภาพทางสมองของเราได้มีการพัฒนามากขึ้น พร้อมกับประสบการณ์และทักษะของการทำงานที่เฉียบคมมากขึ้นกว่าเดิม

5. ตั้งเป้าหมายในการทำงาน
เป้าหมาย เป็นปลายทางที่ต้องให้ไปถึง ไม่ว่าจะในชีวิตการทำการหรือในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะการกำหนดเป้าหมายในการทำงานนั้น ถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำงาน เพราะในการบริหารงานใด ๆ ก็ตาม มักจะเน้นที่ความสำเร็จตามที่ได้ตั้งใจไว้หรือกำหนดไว้ ไม่ว่าจะกำหนดเอาไว้ในรูปแบบใดก็ตาม ถ้าทำงานแบบมีเป้าหมายว่างานแต่ละอย่างที่อยู่ในความรับผิดชอบมีเป้าหมายของความสำเร็จอยู่ ณ จุดใด ภายในเวลาเท่าใด ความชัดเจนของงานหรือการกำหนดแผนการปฏิบัติงานย่อมอยู่บนพื้นฐานของความเป็นไปได้ กว่าการที่จะปฏิบัติงานไปวัน ๆ หรือทำงานไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีจุดหมายปลายทางของความสำเร็จ
หากเป็นการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานของบุคคล การตั้งเป้าหมายในการทำงานควรเป็นการตั้งเป้าหมายให้อยู่ในระดับที่สูงกว่า ศักยภาพปกติของตนจะดำเนินการได้เพื่อให้เกิดการพัฒนาในการที่จะให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย ดังคำกล่าวที่ว่า “ฝันให้ไกล ไปให้ถึง” นั่นเอง

6. วางแผนก่อนลงมือทำ
ในการทำงานนั้นนอกจากการกำหนดวัตถุประสงค์ในการทำงานแล้ว การวางแผนช่วยให้งานบรรลุผลสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังช่วยลดเวลาและการใช้ทรัพยากรในการทำงาน การทำงานที่มีประสิทธิภาพนั้นเกิดขึ้นได้ด้วยเงื่อนไขของการวางแผนงานที่ดี การวางแผนที่ดีเกิดจากความคิดที่รอบคอบ คิดจากมุมมองที่หลากหลาย การวางแผนเป็นการสร้างข้อเสนอของการดำเนินงานที่เป็นไปได้หลายทางเลือก โดยเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของแต่ละทางเลือก และยังเป็นการประเมินสถานการณ์ความเป็นไปได้ในการทำงานเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในการทำงานได้อีกทางหนึ่งด้วย ดังนั้นการวางแผนถือองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการทำงานให้มีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น

7. มีการสื่อสารที่ดี
การสื่อสารมีความสำคัญกับมนุษย์มาตั้งแต่กำเนิด เนื่องจากการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการบอกความต้องการของตนเองต่อผู้อื่น นอกจากนี้การสื่อสารยังเป็นความสามารถหรือทักษะที่ทุกคนมีมาตั้งแต่กำเนิดแม้แต่เด็กทารกที่ยังไม่สามารถที่จะพูดก็ยังมีทักษะในการสื่อสารเพื่อให้ได้ตามที่ตนต้องการ อาทิเช่น เมื่อเด็กทารกหิวก็จะส่งเสียงร้องเพื่อสื่อสารให้ผู้เป็นแม่ได้รับรู้ว่าตนต้องการที่จะกิน (ดื่ม) นมแม่ เป็นต้น
เนื่องจากการสื่อสารเป็นเครื่องมือสำคัญในการแสดงความต้องการระหว่างบุคคล โดยเฉพาะในการปฏิบัติงานนั้น จำเป็นที่จะต้องใช้ทักษะในการสื่อสารทั้ง การพูด การอ่าน การเขียน และการฟัง รวมไปถึงการแสดงออกด้วยท่าทาง โดยมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน เช่น เพื่อให้ข้อมูล เพื่อชักจูงหรือโน้มน้าวใจ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี เพื่อให้เกิดการยอมรับและได้รับความร่วมมือจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง ด้วยเหตุนี้ ผู้ปฏิบัติงานควรมีการฝึกเพื่อเพิ่มทักษะในการสื่อสารให้เหมาะสมกับกาลเทศะสามารถเลือกใช้ทั้งวัจนภาษา และอวัจนภาษาในการสื่อความหมายให้ชัดเจน เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ต่อไป

8. มีบุคลิกภาพดี
สุภาษิตที่ว่า “ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง” ยังคงใช้ได้ดีเสมอ บุคลิกและการแต่งกาย เป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งที่จะช่วยเสริมความสำเร็จในการทำงาน การแต่งกายนั้นมีหลักการง่าย ๆ คือ อย่าพยายามแต่งกายมากเกินไป หรือน้อยเกินไป และที่สำคัญการแต่งกายต้องให้เหมาะสมกับรูปร่าง และบุคลิกของตนเอง อย่าแต่งกายแบบที่ไม่ใช่ตัวตนของตัวเอง การแต่งการตามแบบอย่างดารา นางแบบ นั้นต้องคิดเสมอว่า ผู้ผลิตเสื้อผ้าแฟชั่นเมื่อผลิตออกมาแล้วก็มีความต้องการที่จะจำหน่ายให้มาก จึงต้องหาดารา นางแบบมาใส่โชว์ ดังนั้นการที่ดารา นางแบบคนหนึ่งใส่เสื้อตัวหนึ่งสวย แต่ก็ไม่ใช่ว่าเมื่อเราใส่แล้วจะสวยเหมือนนางแบบ การแต่งกายที่ดีสำหรับการทำงานก็คือ สะอาด สุภาพ และโชว์บุคลิกเฉพาะของคุณออกมา

9. สมาธิเพิ่มพลังในการคิด
สมาธิ คือ การที่มีใจตั้งมั่นในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งอย่างแน่วแน่ กล่าวในภาษาชาวบ้านก็คือ การมีใจจดจ่ออยู่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่านนั่นเอง การฝึกสมาธิมิใช่ด้วยเหตุผลของการเข้าถึงนิพานแต่เพียงเท่านั้น แต่การฝึกสมาธิสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้เช่นกัน เพราะการฝึกสมาธินั้นทำให้ผู้ปฏิบัติมีจิตใจผ่องใส ประกอบกิจการงานได้ราบรื่นและคิดอะไรก็รวดเร็วทะลุปรุโปร่ง เพราะว่าระดับจิตใจได้ถูกฝึกมาให้มีความนิ่งดีแล้ว เมื่อมีความนิ่งเป็นสมาธิดีแล้ว ย่อมมีพลังแรงกว่าใจที่ไม่มีสมาธิ ดังนี้เมื่อจะคิดทำอะไร ก็จะทำได้ดี และได้เร็วกว่าคนปกติ ที่ไม่ได้ผ่านการฝึกสมาธิมาก่อน
การฝึกสมาธิจะช่วยในด้านการพัฒนาบุคลิกภาพ ทำให้เป็นผู้มีบุคลิกภาพดี กระฉับกระเฉง กระปรี้กระเปร่า มีความองอาจสง่าผ่าเผย มีผิวพรรณผ่องใส มีความมั่นคงทางอารมณ์ หนักแน่น เยือกเย็น และเชื่อมั่นในตนเอง มีมนุษย์สัมพันธ์ดี วางตัวได้เหมาะสมกับกาลเทศะ เป็นผู้มีเสน่ห์ เพราะไม่มักโกรธ มีความเมตตากรุณาต่อบุคคลทั่วไป การฝึกสมาธิบ่อย ๆ ทำให้เกิดปัญญาในการทำสิ่งใด ๆ ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้น นอกจากนี้การฝึกสมาธิยังช่วยคลายเครียด และลดความเครียดที่จะเข้ามากระทบจิตใจได้ เมื่อเราไม่เครียด ร่างกายก็จะหลั่งสารทำให้เกิดความสุข ทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง เพราะมีภูมิต้านทานทั้งภูมิต้านทานทางจิตใจ และภูมิต้านทานเชื้อโรค และยังทำให้ดูอ่อนกว่าวัยช่วยชะลอความแก่ได้ด้วย

10.สุขภาพดีมีชัยไปกว่าครึ่ง
สุขภาพร่างกายมีส่วนสำคัญต่อการปฏิบัติงาน งานทุกอย่างจะไม่สามารถสำเร็จลุล่วงไปได้หากผู้ปฏิบัติงานเกิดการเจ็บป่วย ผู้มีสุขภาพดีย่อมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นควรดูแลสุขภาพให้ดี และออกกำลังกายสม่ำเสมอ การมีสุขภาพที่ดีเป็นสภาวะที่ร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ไม่มีความพิการใด ๆ ร่างกายสามารถทำงานต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งลักษณะสุขภาพที่ดีทางกายนั้น ควรประกอบด้วย ร่างกายที่มีความสมบูรณ์แข็งแรง ระบบต่าง ๆ และอวัยวะทุกส่วนทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพ ร่างกายมีการเจริญเติบโตของอวัยวะต่าง ๆ เป็นไปอย่างเหมาะสมกับวัย รวมทั้งภาวะทางสมองด้วย การที่จะมีสุขภาพร่างกายที่ดีได้นั้นร่างกายต้องได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ และการพักผ่อนที่สุดคือ การได้นอนหลับอย่างพอเพียง ภายหลังจากการนอนหลับและพักผ่อนแล้ว ร่างกายจะคืนสู่สภาพปกติสดชื่น พร้อมรับกับการปฏิบัติหน้าที่ หรือภารกิจในวันต่อไป

จากที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการปฏิบัติเพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานของบุคคล ที่ผู้เขียนได้นำเสนอเพียงหวังให้ผู้อ่านได้นำไปปฏิบัติเพื่อการพัฒนาตนเอง ซึ่งนอกจากแนวทางปฏิบัติดังกล่าวแล้วยังมีแนวทางปฏิบัติอื่น ๆ ที่สามารถกระทำได้อีกหลากหลายรูปแบบ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดของการพัฒนาตนเอง คือ การมีจิตใจที่มุ่งมั่นในการที่จะเปลี่ยนแปลงตนเองไปในทิศทางที่ดีขึ้นนั่นเอง

15 กรกฎาคม 2555

เติมเต็มความรู้ เรื่อง การให้บริการตรวจสอบการทำซ้ำผลงานวิชาการด้วยโปรแกรม TurnItIn วันที่ 4 กรกฎาคม 2555

กระบวนการ/วิธีการสู่ความสำเร็จ
        งานห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ บอกรับโปรแกรมออนไลน์ TurnItIn (อ่านว่า เทิร์น อิท อิน) สำหรับนำมาใช้ตรวจสอบการคัดลอกทำซ้ำผลงานวิจัย ผลงานขอตำแหน่งวิชาการและวิทยานิพนธ์ (Plagiarism program) และระบบบริหารจัดการการเรียนการสอนทางออนไลน์เพื่อใช้สั่งงาน ส่งรายงานและประเมินผลของอาจารย์ผู้สอนกระบวนวิชาต่างๆ ของคณะแพทยศาสตร์ เริ่มใช้งานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 เป็นต้นมา

       ขณะนี้ บัณฑิตวิทยาลัย เห็นควรให้มีกระบวนการตรวจสอบการคัดลอก ทำซ้ำผลงานวิจัยของนักศึกษาก่อนทำเรื่องอนุมัติปริญญา ซึ่งงานบริหารงานวิจัย คณะแพทยศาสตร์เองก็เล็งเห็นความสำคัญที่ต้องดำเนินการให้เกิดกระบวนการตรวจสอบดังกล่าว แต่เนื่องจากมีเพียงคณะแพทยศาสตร์แห่งเดียวที่บอกรับโปรแกรม TurnItIn มาเป็นเครื่องมือช่วยการตรวจสอบดังกล่าว ดังนั้นบุคลากรผู้ปฏิบัติงานบริการของห้องสมุดคณะฯ จำเป็นต้องทำความเข้าใจและรู้จักวิธีการใช้งานโปรแกรมเพื่อบริการให้คำแนะนำ อบรมวิธีการใช้งาน ตลอดจนให้บริการตรวจสอบผลงานให้แก่ผู้มาติดต่อใช้โปรแกรม
หลักเกณฑ์การให้บริการ
1. กลุ่มผู้รับบริการภายในคณะแพทยศาสตร์ ได้แก่ นักศึกษาปริญญาโท-เอก และบุคลากรของคณะฯ สามารถเข้าใช้งานโปรแกรมด้วยตัวเองได้ หรือติดต่อสอบถามเพิ่มเติมที่ หน่วยบริการ ชั้น 6 โทร. 5206 หากต้องการให้ห้องสมุดตรวจสอบให้ สามารถส่งไฟล์เอกสารมาที่ e-mail: cboonyan@med.cmu.ac.th
2. นักศึกษาปริญญาโท-เอก และบุคลากรคณะอื่นๆ สามารถติดต่อขอรับบริการได้ที่หน่วยบริการห้องสมุด ชั้น 6 หรือสอบถามเพิ่มเติมที่ โทร. 053 945206 หรือ e-mail: cboonyan@med.cmu.ac.th
ขั้นตอนการใช้งานโปรแกรม TurnItIn
     ผู้ใช้งานครั้งแรก
- จากเมนูหลักบนหน้าเว็บไซต์ห้องสมุด คลิกที่หัวข้อ Medical Databases
- ภายใต้หัวข้อ Clinical/Evidence-based Medicine คลิกเข้าสู่โปรแกรม
สร้างบัญชีผู้ใช้งานโปรแกรม (Create a New Account)
ผู้ใช้ประเภท อาจารย์ (Instructor) ใช้รหัสสถาบัน (Organization code) เพื่อทำการลงทะเบียน ซึ่งสามารถขอรับได้จากบรรณารักษ์หน่วยบริการ ห้องสมุดชั้น 6 ทั้งนี้ขอสงวนสิทธิ์การจ่ายรหัสให้เฉพาะบุคลากรของคณะแพทยศาสตร์เท่านั้น
- ป้อน account ID: 6372* และ join password: cmuform20**
- กรอกข้อมูลผู้ใช้งาน (user information) ได้แก่ ชื่อ, นามสกุล, email address, รหัสผ่าน (password), เลือกกำหนดคำถาม-คำตอบ (secret question & answer) และตอบรับข้อตกลงการใช้งานโปรแกรม

การสร้าง Class โดย
- คลิกที่  +Add Class
- กำหนดรายละเอียดของกระบวนวิชา โดย
        - เลือกประเภทเป็น Standard class
        - ตั้งชื่อ Class name
        - กำหนดรหัสผ่านการลงทะเบียน (enrollment password)
        - ระบุวันสิ้นสุดของวิชา (Class end date)
        - คลิก submit
- จด Class ID และ Enrollment password ไว้ให้ข้อมูลนักศึกษาใช้ลงทะเบียนส่งรายงาน

การกำหนดค่าการสั่งงานในฟังก์ชั่น Assignment โดย
- คลิกเข้าสู่ Class ที่ต้องการ
- สั่งงานในกระบวนวิชา (Assignment) คลิกที่ Add assignment
- กำหนดชื่องาน เช่น Theses
- กำหนดคะแนนรายงาน (Point Value)
- กำหนดวันเริ่มต้น (Start date), กำหนดส่งงาน (Due date)
- กำหนดตั้งค่าตัวเลือก (Optional Setting)
         - Allow submissions after the due date? เลือก No
         - Originality Report: Generate Originality Reports for submissions? เลือก Yes
         - Generate Originality Reports for student submissions เลือก immediately first report is final
         - Exclude bibliographic materials from Similarity Index for all papers in this assignment? เลือก No
         - Exclude quoted materials from Similarity Index for all papers in this assignment? เลือก No
         - Exclude small matches? เลือก No
         - Allow students to see Originality Reports? เลือก No
- Submit paper to... เลือก no repository เพื่อไม่ให้ข้อมูลเอกสารถูกส่งไปเก็บไว้ในระบบ
- Attached a rubric to this assignment เลือก no rubric
- คลิก submit

การส่งไฟล์ข้อมูลรายงาน/เอกสารผลงาน เพื่อการตรวจสอบการทำซ้ำ คัดลอกงาน
- เข้าที่ Class name ที่ต้องการ
- ในฟังก์ชั่น Assignments ภายใต้ Assignment title ที่อาจารย์กำหนด ที่เมนู More actions เลือก Submit paper
- Choose a paper item submission method: เลือกวิธีส่งไฟล์เอกสาร/รายงาน ได้แก่ Single file upload | Multiple file upload | Cut & paste upload | Zip file upload
- Author ให้เป็นตัวเลือกตามที่ระบบตั้งค่าไว้คือ Non-enrollment student
- กรอกชื่อ นามสกุล ชื่อเรื่องงานที่ส่ง (Submission title)
- Browse for the file to upload ทำการเลือกค้นหาไฟล์ที่จะทำการอัพโหลดเข้าสู่โปรแกรม
- คลิกปุ่ม Upload
ระบบมีข้อกำหนดเบื้องต้นของไฟล์ข้อมูลที่จะอัพโหลด ดังนี้ ขนาดของไฟล์ไม่เกิน 20 MB ความยาวไม่เกิน 400 หน้า และสกุลไฟล์ที่รองรับคือ MS Word, WordPerfect, PostScript, PDF, HTML, RTF และ plain text
- รอจนหน้าจอขึ้นแจ้งผลการส่งข้อมูลเรียบร้อย คลิกปุ่ม Submit
- คลิก Go to Inbox เพื่อดูรายงานผลจากตรวจสอบ รอจนโปรแกรมแจ้งเปอร์เซ็นการตรวจซ้ำ (Similarity)

 การแสดงผลรายงานข้อมูล มีให้เลือกดู 3 แบบ คือ
แบบ Document Viewer

แบบ Text-only Report

แบบ Quickview (classic) report

ค่าเปอร์เซ็นการซ้ำข้อมูลจะระบุแยกตามแหล่งที่พบข้อมูลซ้ำ 3 แหล่งคือ Internet/Web, Publication, Student papers ที่มีข้อมูลอยู่ในโปรแกรม

- กำหนดตั้งค่าเปอร์เซ็นการนับคำ (Word count) ที่ตรงกัน แล้วคลิกปุ่ม Submit

- การบันทึกหรือดาวน์โหลดไฟล์รายงานผลการตรวจสอบ คลิกสัญลักษณ์ download

* ควรนำข้อมูลผลการตรวจสอบส่งให้เจ้าของรายงาน/ผลงานไปเช็คซ้ำด้วยตัวเองอีกครั้ง เพื่อปรับให้ตรงความเป็นจริง โดยสามาถแก้ไขตัดออกข้อมูลที่ไม่ตรงความเป็นจริงได้จาก ฟังก์ชั่น matched overview

เล่าสู่กันฟัง เรื่อง การศึกษาดูงานห้องสมุดและแหล่งสารสนเทศในประเทศ ประจำปี 2555 วันที่ 12 มิถุนายน 2555

กระบวนการ/วิธีการสู่ความสำเร็จ
1.  ชุมชนแนวปฏิบัติคนใกล้หมอ งานห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ส่งบุคลากรจำนวน 3 คน ประกอบด้วย
        1. นางเพียงขอบฟ้า ปัญญาเพ็ชร บรรณารักษ์
        2. นางสาวพิมพรรณ ไชยวุฒิ เจ้าหน้าที่สำนักงาน
        3. นายครรชิต พรมเสพสัก พนักงานบริการฝีมือ (ด้านสำนักงาน)
เข้าร่วมกิจกรรมโครงการศึกษาดูงานห้องสมุดและแหล่งสารสนเทศในประเทศ ประจำปี 2555 ซึ่งสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 23-26 พฤษภาคม 2555 โดยห้องสมุดที่เดินทางไปศึกษาดูงานมี 2 แห่งคือ สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) จังหวัดปทุมธานี และห้องสมุดประชาชนจังหวัดระยอง

2.  สมาชิกชุมชนฯ นำประสบการณ์ที่ได้รับจากการศึกษาดูงาน เก็บเกี่ยวจุดเด่น ประเด็นประทับใจของห้องสมุดแต่ละแห่ง มาบอกเล่าต่อให้กับเพื่อนสมาชิกชุมชนฯ ดังนี้
        สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
1. การปรับแต่งทางกายภาพของห้องสมุด ใช้เวลาดำเนินการ 1 ปี โดยไม่หยุดการให้บริการ
2. บริการจัดส่งเอกสาร (Document Delivery) ถึงอาจารย์ที่ภาควิชา โดยใช้เจ้าหน้าที่ปั่นจักรยานรับ/ส่ง
3. บุคลากรห้องสมุดทุกคนรักการแบ่งปันความรู้ เป็นทั้งผู้เรียนรู้และผู้ถ่ายทอดความรู้
4. ด้านภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมที่จัดตกแต่งให้ดูทันสมัย มีสีสัน น่าดึงดูดใจให้เข้าใช้บริการ
        ห้องสมุดประชาชนจังหวัดระยอง
1. ผู้ใช้บริการเป็นกลุ่มคนรักการอ่าน
2. ห้องสมุดสำหรับเด็ก (Thai Kids) ต้นแบบของจังหวัดระยอง ได้รับการสนับสนุนจาก ปตท.
3. กิจกรรมบริการต่างๆ ของห้องสมุด เน้นการหารายได้และการแสวงหาแนวร่วม/พันธมิตรที่จะเข้ามาร่วมสนับสนุนแหล่งทุนเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนาและดำเนินงานด้านต่างๆ ให้กับห้องสมุด
4. ลักษณะเด่นของบุคลากร มีความกระตือรือร้น เอาใจใส่ในงาน มีแนวคิดทางการตลาด การใช้สถิติการให้บริการเป็นข้อมูลสนับสนุนเพื่อใช้ของบประมาณดำเนินงาน
5. บริการเด่น คือ บริการห้องสมุดมือถือ เป็นบริการกล่องใส่หนังสือให้ผู้ใช้ห้องสมุดสะดวกในการขนหนังสือที่ยืมจำนวนหลายๆ เล่มออกนอกห้องสมุด คิดค่าบริการ 50 บาท

สิ่งที่เพื่อนสมาชิกชุมชนฯ ได้รับจากการร่วมกิจกรรมเล่าสู่กันฟังและเสนอประเด็นหัวข้อที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์กับการพัฒนางานของชุมชนฯ ดังนี้
1. แนวคิดในการพัฒนาปรับปรุงการบริหารจัดการและนำเสนอบริการทรัพยากรสารนิเทศในรูปแบบต่างๆ
2. แนวคิดการการบริหารจัดการด้านการเงิน งบประมาณ และแสวงหารายได้เพื่อการพัฒนาห้องสมุด
3. แนวคิดการพัฒนาส่งเสริมการทำงานของบุคลากร จากแรงบันดาลใจที่เป็นแบบอย่างที่ดีเรื่องความกระตือรือร้น การใส่ใจในงานของบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ของห้องสมุดประชาชนจังหวัดระยอง
4. แนวคิดด้านบริการที่น่าสนใจของสำนักบรรณสารการพัฒนา NIDA นำมาปรับประยุกต์ให้เหมาะสมกับปริบทของคณะแพทยศาสตร์ได้ คือ บริการนำส่งเอกสารให้อาจารย์ที่ภาควิชา เพื่อความสะดวก รวดเร็ว ได้รับหนังสือ/เอกสารทันเวลาตามความต้องการ
5. การออกแบบและการจัดการด้านสถานที่และสิ่งแวดล้อม ให้มีสีสัน ทันสมัย มีบรรยากาศที่ดึงดูดผู้เข้าใช้ห้องสมุด
6. แนวคิดการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับกับการทำงาน และการบริการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

เติมเต็มความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง ผลดำเนินงานประจำปีเพื่อทำแผนปฏิบัติงานสู่ความเป็นเลิศ (Action Plan for Faculty of Excellence) วันที่ 24 มีนาคม 2555

        ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดกิจกรรมสัมมนาบุคลากรต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยคณะแพทยศาสตร์สนับสนุนค่าใช้จ่าย และในปีงบประมาณ 2555 คณะแพทยศาสตร์ ขอความร่วมมือให้บรรจุหัวข้อเรื่อง “การติดตามผลการดำเนินงานประจำปี เพื่อการจัดทำแผนปฏิบัติงานสู่ความเป็นเลิศ (Action Plan for Faculty of Excellence)” เพื่อใช้สัมมนา/อบรมพัฒนาบุคลากรประจำปี (OD) ของหน่วยงาน ตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามนโยบายของคณะฯ และการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้น ห้องสมุดคณะฯ จึงกำหนดจัดสัมมนาบุคลากรห้องสมุด ประจำปี 2555 ตามหัวข้อดังกล่าว ในระหว่างวันที่ 24-25 มีนาคม 2555 ณ รุ่งอรุณรีสอร์ท อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่

        แนวทางดำเนินงานของชุมชนฯ
1. ประชุมคณะทำงานห้องสมุด ประธานชุมชนฯ มอบหมายให้หัวหน้าหน่วย/หมวดงานคิดหัวข้อการดำเนินงานของหน่วยที่น่าสนใจเพื่อกำหนดทำแผนปฏิบัติงาน (Action Plan)
2. กำหนดหัวข้อและจัดทำร่างแผนปฏิบัติงาน จำนวน 4 แผน คือ
    2.1 การประหยัดพลังงานในห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ โดย หน่วยบริหารและธุรการ
    2.2 การเพิ่มสารบัญหนังสือภาษาอังกฤษที่จัดซื้อโดยคณะแพทยศาสตร์ให้สามารถสืบค้นได้จาก CMUL OPAC โดย หน่วยเทคนิค หมวดงานวิเคราะห์หมวดหมู่ทรัพยากรสารนิเทศ
    2.3 การจัดทำคำของบประมาณวงเงินรวม (Block Grant) เพื่อจัดซื้อวารสาร ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดย หน่วยเทคนิค หมวดงานจัดซื้อจัดหาทรัพยากรสารนิเทศ
    2.4 การปรับปรุงข้อมูลวารสารในฐานข้อมูล PubMed (LinkOut) ของห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย หน่วยบริการ
3. ประชุมหารือร่วมกันในกลุ่มเพื่อนร่วมงานภายในหน่วยฯ พิจารณาปรับแก้ไขร่างแผนปฏิบัติงาน
4. สรุปประเด็นหัวข้อเพื่อจัดทำไฟล์นำเสนอ (PowerPoint) โดยผู้รับผิดชอบของแต่ละหน่วยฯ
5. นำเสนอแผนปฏิบัติงาน 4 แผน โดยคุณกิจของชุมชนฯ 5 คน มีการเติมเต็มความรู้ พูดคุยแบ่งปันประสบการณ์การทำงานตาม Action Plan และเปิดรับข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะ ตอบคำถาม ทำความเข้าใจในข้อสงสัยของสมาชิก
6. นำแผนปฏิบัติงานที่มีค่าใช้จ่าย มาจัดทำแผนดำเนินงาน/โครงการส่งขอพิจารณาอนุมัติงบประมาณตามแบบคำขอเสนอแผนดำเนินงาน/โครงการของบประมาณประจำปี ของงานนโยบายและแผน ได้แก่
- โครงการการประหยัดพลังงานในห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์
- โครงการการขอตั้งงบวงเงินรวมเพื่อใช้เป็นค่าบอกรับวารสาร ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ปีงบประมาณ 2556

ตัวอย่าง การจัดทำแผนดำเนินงาน/โครงการที่ประกอบคำขอพิจารณาอนุมัติงบประมาณของคณะแพทยศาสตร์

สิ่งที่สมาชิกชุมชนฯ ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรม โดยสรุปมีดังนี้
- ได้ร่วมวิพากษ์ Action plan ของห้องสมุด
- ทราบรายละเอียดของแผนปฏิบัติงาน/โครงการใหม่และที่กำลังดำเนินงานเพื่อพัฒนาห้องสมุดและมีประโยชน์ในงาน
- ได้แบ่งปันประสบการณ์ส่วนที่มีในการทำงานและได้รับรู้สิ่งใหม่ๆ ที่ยังไม่มีประสบการณ์จากเพื่อนร่วมงาน
- ได้รับสาระความรู้ เข้าใจระบบงานร่วมกันเพิ่มยิ่งขึ้น และช่วยให้เกิดการเตรียมพร้อมในการทำงานในอนาคต

ผลงานจากแผนปฏิบัติงานที่ได้ดำเนินการแล้ว
โครงการการประหยัดพลังงานในห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์

โครงการการปรับปรุงข้อมูลวารสารในฐานข้อมูล PubMed (LinkOut)

โครงการเพิ่มสารบัญหนังสือภาษาอังกฤษที่จัดซื้อโดยคณะแพทยศาสตร์ให้สืบค้นจาก CMUL OPAC


24 กุมภาพันธ์ 2555


Refresh การพัฒนางานบริการห้องสมุด ครั้งที่ 1/2555 วันที่ 14 ก.พ.. 55
ณ.ห้องประชุม ห้องสมุดชั้น 8

หัวหน้างานห้องสมุดแจ้งให้ทราบเรื่องต่างๆ ดังนี้
· คณะฯแจ้งเตือนบุคลากรทุกคนให้งดเว้นการดื่ม การเล่นพนันและการใช้สารเสพติดในที่ทำงานโดยเด็ดขาด
· ห้องสมุดเลื่อนกำหนดไปสัมมนาจาก 25-26 กพ. นี้เป็น 10-11 มีนาคม 2555 เพื่อความพร้อมเพียง และกำลังหาสถานที่
· ในการสัมมนาครั้งนี้ จะมีการจัดทำโครงการแผนปฏิบัติงาน หรือ Action plan เสนอคณะฯ ซึ่งห้องสมุดกำหนดไว้ 3 โครงการ ตามหน่วยที่รับผิดชอบ คือ หน่วยบริหารและธุรการ หน่วยบริการ และหน่วยเทคนิคของห้องสมุด
· การดำเนินงานเรื่อง KM ห้องสมุดได้จัดทำแผนการดำเนินงานในปี 2555 เรียบร้อยแล้ว และเพื่อให้สอดคล้องกับยโยบายเรื่อง learning center ของสำนักหอสมุด (มีองค์ประกอบ 5 ประการ คือ IT, Resources, Service, Activity และ Atmosphere) ห้องสมุดจะจัด Collection display ตามโอกาส และพร้อมกันนี้จะทำการขยับ จัดชั้นใหม่ที่ living library ชั้น 8ด้วย
Refresh
- ควรมีการกวดขัน ดูแลเรื่องคนงานบริษัทให้ทำความสะอาดหน้าลิฟต์ ห้องน้ำ ต้นไม้ และเซ็นต์ชื่อในสมุด พร้อมกับที่เชคเกอร์คอยตรวจสอบ ดูแล
- ในส่วนของห้องชมภาพยนตร์ ให้จัดบอร์ดแแนะนำภาพยนตร์ หรือ สารคดีที่น่าสนใจแสดงไว้ที่หน้าห้องด้วย ซึ่งได้จัดทำเรียบร้อยแล้ว
- ปัญหาการให้บริการห้องอ่านเดี่ยวประการหนึ่ง คือ ผู้ใช้บริการคืนห้องแล้ว แต่ไม่ได้ล๊อคประตูไว้ ทำให้มีผู้อื่นเข้าไปใช้ห้องต่อได้โดยไม่ได้รับอนุญาต แนวทางแก้ไข คือให้เจ้าหน้าที่เดินตรวจตราห้องอ่านเดี่ยวเป็นระยะ และสอบถามผู้ใช้บริการ ว่าได้ล็อคห้องเรียบร้อยดีแล้ว เมื่อตอนมาคืนกุญแจ
- ขอส่งสถิติการใช้งานห้องศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศให้ธุรการให้ตรงเวลา เพื่อส่งต่อให้ ITSC เบิกจ่ายเงินต่อไป
- หมวดวารสารแจ้งปัญหา ชั้นวารสารภาษาไทยแน่นมากแล้ว ที่ประชุมร่วมกันคิดหาวิธีแก้ปัญหาโดย ให้นำสิ่งพิมพ์ GP (General Practice) ลงกล่องและนำไปไว้ที่ชั้น 5 และ นำสิ่งพิมพ์เบ็ดเตร็ดก๊อปปี้ซ้ำออกจำหน่ายต่อไป
- ที่ประชุมเห็นด้วยที่จะมีการสร้างเกณฑ์ การรับหนังสือบริจาคเข้าห้องสมุดขึ้น เพื่อใช้เป็นระเบียบการปฏิบัติ ให้เกิดมาตรฐานและประโยชน์สูงสุดกับห้องสมุด
- ปัญหาเรื่องเครื่องสแกนชำรุด ใช้งานได้ไม่เต็มที่ในงานบริการยืมระหว่างห้องสมุด ทำให้งานล่าช้า เสียหาย จึงเห็นควรต้องจัดซื้อมาเปลี่ยนโดยเร็ว
- ห้องสมุดควรทำสรุปยอดค่าปรับที่นำส่งคณะฯ เพื่อให้ผู้บริหารรับทราบ ซึ่งจะมีผลดีต่อการดำเนินงานของห้องสมุดต่อไป
- ธุรการแจ้งเตือนเรื่องการใช้วันลาป่วย ว่าควรใช้เท่าที่จำเป็น ไม่เช่นนั้นจะมีผลกระทบ หากเกิดเจ็บป่วยต้องลาเป็นเวลานาน ซึ่งจะเกินจำนวนวันที่มีตามสิทธิ์ได้

ผู้เข้าร่วม Refresh

1. ไพจิตต์ ลัอังกูรเสถียร      
2. ชมพูนุช สราวุเดชา
3. รำไพ ชื่นมนุษย์
4. เพียงขอบฟ้า ปัญญาเพ็ชร     
5. ชัยรัตน์ คีรีเมฆ
6. มัณทะนีย์ คำโพธิ์
7. สุรชาติ สุวรรณ์
8. คนองเดช สินธุยา
9. รัชนีวรรณ สินธุยา
10. กัลยา ปริยะ
11. ทรัพย์ เรือนมั่น
12. พิมพรรณ ชัยวุฒ
13. เกตุ เถาปาอินทร์
14. ยงยุทธ เรืองศักดิ์
15. สุพิน วงค์สวงน
16. ศรานุวัตร ยศอินต๊ะ
ลาป่วย กิตติกร กิตติกา

KM #8/2554: Library Cleaning Day 2011

วันที่ 3 มิถุนายน 2554 เวลา 9.00 16.00 น.
สถานที่ ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ ชั้น 5 - 8
หัวข้อ/ประเด็น การเช็คซ้ำรายการหนังสือจากการสำรวจหนังสือที่หาไม่พบบนชั้น และการอ่านตรวจชั้นจัดเก็บหนังสือห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2554
สาเหตุที่เลือกประเด็นดังกล่าว จากผลการสำรวจรายการหนังสือและทรัพยากรสารนิเทศในห้องสมุดของนักศึกษาช่วยงานภาคฤดูร้อน พบว่า จำนวนทรัพยากรสารนิเทศที่หาไม่พบบนชั้นมีจำนวนมากอย่างผิดสังเกต และปัญหาเรื่อง หนังสือบนชั้นจัดเรียงอยู่ผิดหมวดหมู่ ไม่เป็นระเบียบ จำเป็นต้องเร่งแก้ไขปัญหา โดยการตรวจสอบซ้ำรายการหนังสือที่หาไม่พบ และจัดเรียงหนังสือให้ถูกต้องตามประเภท และหมวดหมู่ รวมทั้งขยายปรับพื้นที่บนชั้นหนังสือให้ เป็นระเบียบ สะดวกต่อการจัดเก็บหนังสือของเจ้าหน้าที่ และง่ายต่อการค้นหาของผู้ใช้บริการ

รายละเอียด
กลุ่มสิ่งพิมพ์รัฐบาล รายงานวิจัย หนังสือสำรอง
กลุ่มหนังสือภาษาไทย
กลุ่มหนังสือภาษาอังกฤษ
กลุ่มหนังสือชมรมฯ และมุมอาจารย์
ขั้นตอนการจัดการความรู้
1. นัดหมายพบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยน กำหนดเป้าหมายการดำเนินการซักซ้อมทำความเข้าใจในกิจกรรมที่ทำ
2. ลงมือปฏิบัติตามภารกิจที่มอบหมาย
3. ปรับปรุง แก้ไข วิธีดำเนินการขณะปฏิบัติเมื่อพบปัญหา
4. บันทึกข้อปัญหา และนำมาพิจารณาหาวิธีดำเนินการที่ดีที่สุด ต่อไป
1. ทุกคนช่วยกันจัดเรียงหนังสือบนชั้น ในแต่ละหมวดที่รับผิดชอบให้ถูกต้องเป็นระเบียบ
2. นำรายชื่อหนังสือที่หาไม่พบ มาตรวจสอบกับหนังสือบนชั้นว่ามีหรือไม่ หากพบว่ามีจะทำเครื่องหมายไว้
3. ทำความสะอาดชั้นหนังสือ และจัดให้เป็นระเบียบอีกครั้ง
1. เติมเต็มความรู้เรื่องการสำรวจทรัพยากรประจำปี 2554
2. แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการจัดเรียงทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ
3. จัดชั้นทรัพยากร ที่ได้รับผิดชอบคือ หมวดหนังสือภาษาอังกฤษ
4. นำรายชื่อหนังสือที่ไม่พบ สำรวจซ้ำบนชั้น
ส่งสรุปการสำรวจหนังสือส่งหัวหน้ากลุ่ม
1. พูดคุยรับรู้จุดประสงค์ ประเภทหนังสือที่กลุ่มรับผิดชอบ
2. จัดแบ่งช่วงชั้นหนังสือ ให้สมาชิกจัดเรียงให้ถูกต้อง จัดชั้นให้เป็นระเบียบ และเช็คซ้ำรายชื่อหนังสือที่หาไม่พบ
3. เติมเต็มความรู้การเรียงหนังสือเชิงปฏิบัติการ ให้เจ้าหน้าที่เช็คเกอร์ ซึ่งไม่เคยเก็บขึ้นชั้นหนังสือ
4. ปัญหา ข้อสงสัยจะพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ให้บรรณารักษ์กลุ่มอธิบายให้เข้าใจตรงกัน ทำให้ขึ้นชั้นจัด เรียงหนังสือประเภทนวนิยาย หนังสือเยาวชน และหนังสือทั่วไปเองได้ถูกต้อง
5. รายการหนังสือที่สำรวจพบตัวเล่มแล้วส่งข้อมูลให้หมวดวิเคราะห์ทรัพยากรฯ รวบรวมสรุปรายงานต่อไป
ผลการจัดการความรู้
การจัดเรียงชั้นสิ่งพิมพ์รัฐบาล รายงานการวิจัย หนังสือสำรองเป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงาม ถูกต้อง ผู้ใช้บริการสามารถสามารถค้นหาสิ่งพิมพ์รัฐบาล รายงานการวิจัย หนังสือสำรอง ได้ถูกต้อง ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการรายการใดที่ไม่เข้าใจหรือเข้าใจคลาดเคลื่อนก็ได้รับความกระจ่าง เรียนรู้และเข้าใจการทำงานเป็นทีมได้ดีขึ้น
สมาชิกได้แบ่งปัน แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันเรื่อง การจัดเรียงหนังสือที่ถูกต้องตามหมวดหมู่บนชั้น
- ได้ทราบถึงวิธีการสำรวจทรัพยากรที่ใช้ในปี 2554 ซึ่งแตกต่างจากการสำรวจในปีก่อนๆ โดยนำคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คและการสร้างไฟล์จากโปรแกรม Innopac เข้ามาประยุกต็ใช้
- ได้ทบทวนการจัดเรียงและการขึ้นชั้นทรัพยากรประเภทหนังสือภาษาอังกฤษ
1. สมาชิกมีโอกาสทบทวนความรู้ ความเข้าใจ ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เรื่อง หลักการจัดเรียงหนังสือที่ถูกต้องตามหมวดหมู่บนชั้น สามารถจัดเรียงหมวดหมู่จากสภาพชั้นจัดเก็บหนังสือของจริง
2. กิจกรรมส่งเสริมให้สมาชิกช่วยเหลือร่วมมือกัน ทำงานเป็นทีม
3. หนังสือบนชั้นจัดเรียงถูกต้องตามหมวดหมู่ สภาพชั้นเป็นระเบียบ สะดวกสำหรับเจ้าหน้าที่จัดเก็บขึ้นชั้นหนังสือในครั้งต่อไปและผู้ใช้ค้นหาง่าย
คุณลิขิต
สุรชาติ สุวรรณ์
สมเจตต์ อินต๊ะมา
เพียงขอบฟ้า ปัญญาเพ็ชร
รำไพ ชื่นมนุษย์
ผู้เข้าร่วมกิจกรรม/สมาชิกกลุ่ม
คนองเดช สินธุยา
ชมพูนุช สราวุเดชา
พรรณเพ็ญ มีชำนาญ
ยงยุทธ เรืองศักดิ์
สุรชาติ สุวรรณ์
สุวพัชร์ อุทรา
ชัยรัตน์ คีรีเมฆ
ทรัพย์ เรือนมั่น
พิมพรรณ ชัยศรี
สมเจตน์ อินต๊ะมา
สุพิน วงค์สงวน
อินเสาร์ สุวรรณนัง
กัลยา ปริยะ
เกตุ เถาปาอินทร์
พิมพรรณ ไชยวุฒิ
เพียงขอบฟ้า ปัญญาเพ็ชร
รัชนีวรรณ สินธุยา
อัมพร สุยะมูล
อัมพร อินทรัตน์
กิตติกร กิติกา
ครรชิต พรมเสพสัก
บัวเงา มีเนตร
มัณทะณี คำโพธิ์
รำไพ ชื่นมนุษย์
ศรานุวัตร ยศอินต๊ะ
เสาวลักษณ์ ธนันชัย