17 มิถุนายน 2559

รายงานผลการจัดการความรู้ กิจกรรม ครั้งที่ 8 เรื่อง บริการที่เป็นความภาคภูมิใจของเรา

รายงานผลการจัดการความรู้ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
1. ชุมชนแนวปฏิบัติ   ชุมชนคนใกล้หมอ
2. ประเด็นความรู้ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์  พัฒนาห้องสมุดให้เป็น Learning Center
3. องค์ความรู้ที่จำเป็น การบริการและส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ
4. กิจกรรม ครั้งที่ 8
                   เรื่อง  บริการที่เป็นความภาคภูมิใจของเรา
5. วันที่จัดกิจกรรม 14 มิถุนายน 2559  เวลา  9.3011.30 น.  สถานที่ ห้องประชุมชั้น 5  ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์
6. วัตถุประสงค์  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องงานบริการห้องสมุดกับชุมชนแนวปฏิบัติชุมชนอื่น

7. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม สมาชิกชุมชนคนใกล้หมอ จำนวน  20 คน
          เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2559  เวลา  9.30 11.30 น. ได้จัดกิจกรรม KM ครั้งที่ 8 ของชุมชนคนใกล้หมอ ในครั้งนี้มีเนื้อหาที่นำมาศึกษาด้วยกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องบริการที่เป็นความภาคภูมิใจของเรา ก่อนอื่นนั้น คุณชมพูนุช สราวุเดชา หัวหน้างานห้องสมุด (คุณเอื้อ) ได้กล่าวถึงกิจกรรม KM ของครั้งที่ผ่านมา เพื่อเป็นการทบทวนเนื้อหาเดิมที่ผ่านมา ซึ่งสมาชิกในชุมชนต่างก็เข้าร่วมกิจกรรมโดยพร้อมเพียงกัน ทั้งนี้เพื่อเป็นการเติมเต็มความรู้เรื่องการให้บริการห้องสมุดของสมาชิกด้วย นอกจากนี้ประธานชุมชนยังได้เชิญชวนให้สมาชิกในชุมชนเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์ของชุมชนคนใกล้หมอ เพื่อทบทวนเนื้อหากิจกรรม KM ที่ผ่านมาในแต่ละครั้ง รูปภาพกิจกรรมต่างๆ คลังความรู้ และสรุปแบบประเมินผลกิจกรรม KM แต่ละครั้งอีกด้วยเช่นกัน
         สำหรับกิจกรรม KM ครั้งที่ 8 ในครั้งนี้นั้น เป็นกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องบริการที่เป็นความภาคภูมิใจของเรา โดยได้มีการเชิญวิทยากรจากชุมชนแนวปฏิบัติอื่น ได้แก่ คุณศุภวรรณ อาจกล้า จากชุมชนแนวปฏิบัติชุมชนบริการ, คุณปราชญ์ สงวนศักดิ์ จากชุมชนแนวปฏิบัติชุมชน New Folder,  คุณทิพวรรณ สุขรวย จากชุมชนแนวปฏิบัติ InfoHealthCoP, คุณชนันท์ฐิดา  ผะสม จากชุมชนแนวปฏิบัติชุมชนคนใกล้หมอ, และคุณเพียงขอบฟ้า  ปัญญาเพ็ชร  ทำหน้าที่เป็นพิธีกรในการดำเนินรายงานในการให้สัมภาษณ์วิทยากรในครั้งนี้ สำหรับกิจกรรม KM ในครั้งนี้นั้น เป็นกิจกรรมในลักษณะการสนทนาถาม-ตอบ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเรื่องงานบริการกับชุมชนอื่นๆ โดยมีประเด็นที่สำคัญและน่าสนใจ ดังนี้
         ทัศนคติต่ออาชีพบรรณารักษ์
         คุณศุภวรรณ: ในครั้งแรกที่ได้มาเรียนในสาขานี้นั้น รู้สึกไม่ชอบในการเรียนบรรณารักษ์และไม่อยากเรียน ต่อมาได้ใช้ความรู้ที่ได้เรียนมาในสาขานี้ช่วยเหลือผู้อื่นในการหาหนังสือในห้องสมุด จึงรู้สึกชอบขึ้นมา และเกิดความภาคภูมิใจ หลังจากนั้นจึงตั้งใจเรียนในสาขานี้ และอยากจะมาเป็นบรรณารักษ์ที่สามารถเป็นตัวของตัวเองได้ โดยสามารถทำงานในวิชาชีพนี้ได้อย่างมีความสุข
          การมีต้นแบบที่ดีและมีประสิทธิภาพ มีอิทธิพลต่อความรู้สึกมั่นคงของบุคคล  บุคคลผู้เป็นต้นแบบในชีวิต ของคุณทิพวรรณ คือ ผอ.เพ็ญสุวรรณ นาคะปรีชา อดีตผู้อำนวยการสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เนื่องจากท่านเป็นผู้ที่มีความสามารถมาก มีบุคลิกที่ดี ทำงานเก่ง มีแนวคิดกว้างไกล และเป็นผู้นำที่ดี จึงอยากจะทำงานได้เหมือนกับแบบของท่าน
        ความภาคภูมิใจในตนเองต่อการทำงาน
         คุณปราชญ์ : งานทุกอย่างเกิดความภาคภูมิใจในงานอยู่แล้ว  เพราะพยายามงานทุกอย่างอย่างเต็มที่  แต่ก็ยังมีความรู้สึกว่าผลงานน่าจะออกมาดีกว่านี้  ยังสามารถพัฒนาได้อีก  และอยากจะให้เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์มีส่วนช่วยในการให้บริการได้มากที่สุด  มากว่าการติดต่อกับผู้ให้บริการโดยตรง  ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวก รวดเร็วในการรับบริการ  และอยากจะสร้างระบบที่เอื้อต่อทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการให้มากที่สุดเช่นกัน
                ผลงานที่ได้ทำขึ้น  ได้แก่ แอพพลิเคชั่น CMUL AirPAC for Android, แอพพลิเคชัน CMU e-Theses CMU e-Research ในระบบปฏิบัติการ Android และ IOS, แอพพลิเคชั่น CMU e-Textbooks for Android, แอพพลิเคชั่น CMUL Find Library for Android เป็นแอพพลิเคชั่นช่วยหาหนังสือ จากห้องสมุดที่ท่านสะดวกเข้าใช้บริการ มีประโยชน์เมื่อต้องการทราบว่าจะหาหนังสือเรื่องที่สนใจมีให้บริการที่ห้องสมุดหรือไม่ และมีที่ห้องสมุดใด เพียงสแกนบาร์โค้ดของหนังสือเรื่องนั้นๆ แอพพลิเคชั่นนี้จะแสดงข้อมูลห้องสมุดที่มีหนังสือเรื่องดังกล่าว ซึ่งท่านอาจตัดสินใจไปยืมหนังสือจากห้องสมุดที่ท่านสะดวกได้
           คุณศุภวรรณ: งานบริการทำให้เราเกิดความภาคภูมิใจในตนเองมากที่สุด  คือ  งานที่จะต้องติดต่อประสานงานกับหน่วยงานอื่น  เนื่องจากการแก้ไขปัญหาบางปัญหาจะต้องใช้ความร่วมมือจากหลายๆฝ่าย  ดังนั้นหากสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้แก่ผู้ใช้  ให้ผู้ใช้ไม่รู้สึกไม่ประทับใจได้  และสามารถติดต่อประสานงานได้อย่างราบรื่น  และได้รับคำตอบที่ดี  ผู้ใช้ประทับใจนั้น  จะเกิดความภาคภูมิใจมากที่สามารถจัดการปัญหาต่างๆได้
          การพัฒนาตนเอง
          คุณชนันท์ฐิดา:  งานบริการเป็นงานที่ตัวเองไม่ถนัด  จึงต้องพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ  จะขอยกตัวอย่างการพัฒนาตัวเองในด้าน การสอนโปรแกรม (Training)  มีวิธีการพัฒนาตัวเอง  คือ 
1.            ค้นหาความรู้ด้วยตัวเองก่อน  โดยการดูการสอนจากแหล่งอื่นๆ
2.            จากนั้นจะนำความรู้ที่ได้มาทดลองสอนเพื่อน  แล้วให้เพื่อนเสนอแนะ  เสนอความคิดเห็นต่างๆเกี่ยวกับการสอน
3.            นำข้อเสนอแนะและความคิดเห็นต่างๆที่ได้ มาปรับปรุงการสอนให้ดีขึ้น
4.            จากนั้นก็ทดลองสอนอีกครั้ง  โดยทดลองสอนให้แก่บุคลากรของห้องสมุด  และมีพี่เลี้ยงที่คอยให้คำแนะนำในการสอนด้วยเช่นกัน
5.            ทำการสอนให้แก่ผู้ใช้บริการ  หากผู้ใช้เกิดความเข้าใจ สามารถปฏิบัติได้จะเกิดความภาคภูมิใจในตัวเองเป็นอย่างมาก
คุณชนันท์ฐิดา:  ได้พัฒนาทักษะด้านการพูด  ความกล้าแสดงออก  ทักษะด้านการสืบค้นที่จะต้องพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ  ต้องตามผู้ใช้ให้ทัน  ทักษะการสอน  ซึ่งเป็นส่วนที่สามารถพัฒนาทักษะด้านอื่นๆตามมาด้วยเช่นกัน
              คุณทิพวรรณ:  เนื่องจากได้รับมอบหมายในด้านงานบริหารในการเป็นหัวหน้างานห้องสมุดคณะเทคนิคการแพทย์  ทำให้ได้พัฒนาทักษะด้านการทำงานเป็นทีม  มีทีมงานที่ดี เนื่องจากที่ห้องสมุดมีผู้ปฏิบัติงานอยู่ 3 คน  แต่ก็สามารถปฏบัติงานได้อย่างราบรื่น  ทำงานเป็นระบบและสามารถทำงานแทนกันได้  นอกจากนี้มีความท้าทายในการให้บริการ  เนื่องจากจะต้องพัฒนาตัวเองให้ทันต่อผู้ใช้เสมอเช่นกัน
            งานบริการที่ภาคภูมิใจ
            คุณปราชญ์ : ส่วนผลงานที่ภูมิใจที่สุด  คือ ระบบการจองห้องค้นคว้ากลุ่ม (Group Study Room) ที่ผู้ใช้สามารถลงทะเบียนที่หน้าจอ Touch Screen  ด้านหน้าของสำนักหอสมุด  เนื่องจากจากที่ไปศึกษาดูงานจากห้องสมุดอื่นนั้น ยังไม่มีห้องสมุดไหนที่สามารถสร้างระบบได้ครอบคลุม และเทียบเท่ากับที่สำนักหอสมุดมช. จัดทำขึ้น  ซึ่งจัดทำโดยไม่ใช้ค่าใช้จ่ายอีกด้วย  ทำให้ผู้ที่สนใจจากมหาวิทยาลัยอื่นสอบถามมาทางอีเมลจำนวนมาก  ทำให้เกิดความภาคภูมิใจเป็นอย่างมาก  แต่ก็ยังอยากจะพัฒนาระบบให้ดีขึ้นกว่าเดิมเช่นกัน
              ขณะนี้กำลังพัฒนาระบบการลงรายการทรัพยากร  ระบบแสดงหนังสือใหม่  ซึ่งขณะนี้กำลังพัฒนาระบบการลงรายการในรูปแบบของปัญญาประดิษฐ์  ในการจัดการข้อมูลและเนื้อหาที่ต้องการนำมาลงรายการ  และระบบแสดงหนังสือใหม่  ก็จะสามารถพรีวิวดูส่วนต่างๆของหนังสือได้
              คุณทิพวรรณ:  บริการคลินิกภาคนิพนธ์  ซึ่งเป็น บริการช่วยการค้นคว้า เพื่อการทำภาคนิพนธ์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะเทคนิคการแพทย์ โดยบรรณารักษ์จะให้คำปรึกษา แนะนำในการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ ตลอดจนแนะนำการเขียนบรรณานุกรมและเอกสารอ้างอิง  โดยที่ใช้แนวทางปฏิบัติ PDCA  ในการทำงาน  มีการพัฒนาปรับปรุงการให้บริการอยู่เสมอ  นอกจากนี้ในหลักสูตรของภาควิชากายภาพบำบัด  ที่มีการนำบริการคลินิกภาคนิพนธ์  เข้าเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรในการจบการศึกษาของนักศึกษา  โดยเปิดการสอนเป็นห้องเรียน  จำนวน 3 ครั้งต่อ 1 ภาคการศึกษา  นอกจากนี้ก็ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับบริการคลินิกภาคนิพนธ์ ให้แก่นักศึกษาในสาขาอื่นๆด้วยเช่นกัน  หากผู้ใช้เกิดความเข้าใจ และประทับใจในการสอนของเรานั้น  ก็จะได้รับรอยยิ้มจากผู้ใช้  จากนั้นผู้ใช้ก็จะบอกต่อ และหากมีผู้ใช้ที่ได้รับการบอกต่อมาใช้บริการก็จะเกิดความภูมิใจเป็นอย่างมาก
            คุณชนันท์ฐิดา:  การได้รับหน้าที่ในการสอน  Library Class  คือ การสอน  Endnote X7  ที่สามารถสอนให้ผู้ใช้เข้าใจได้  และสามารถกลับไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
             คุณศุภวรรณ: การที่ผู้ใช้เกิดความประทับใจในการรับบริการ  โดยการที่พยายามให้คำแนะนำแก่ผู้ใช้  พยายามช่วยหาข้อมูล  เพื่อให้ผู้ใช้รู้สึกว่าเราพยายามช่วยอย่างเต็มที่  ให้ผู้ใช้เกิดความประทับใจ  และพยายามสร้างบรรยากาศในการให้บริการอย่างราบรื่นที่สุด  นอกจากนี้ยังได้รับมอบหมายในส่วนงาน American  Corner  ซึ่งเป็นงานหนักมากๆ ที่จะต้องจัดการงานทุกๆอย่างด้วยตัวเอง  และจะต้องติดต่อกับหน่วยงานอื่นๆอยู่เสมอเช่นกัน  เป็นงานที่เหนื่อยที่จะต้องจัดการให้ได้  ซึ่งเกิดความภาคภูมิใจเป็นอย่างมากที่ได้ปฏิบัติงานในส่วนนี้
           1 คำที่บ่งบอกถึงความภูมิใจในการทำงาน
           คุณทิพวรรณ:  รอยยิ้มของผู้ใช้บริการ  ทำให้รู้สึกว่าผู้ใช้มีความสุขกับการรับบริการ
           คุณศุภวรรณ: นึกถึงคำว่าทำไม”  เนื่องจากทำให้ตัวเองได้เกิดความคิด  และใส่ใจกับวฃสิ่งนั้น ทำให้สามารถทำงานต่อไปได้
           คุณชนันท์ฐิดา:  คำขอบคุณของผู้ใช้บริการ  ทำให้มีกำลังใจในการให้บริการต่อไป  ทำให้รู้สึกว่าเราเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้บริการ 
            คุณปราชญ์: นึกถึงคำว่า เข้าใจ”  ผู้ใช้เข้าใจในระบบที่เราสร้างขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ เหมือนกับว่าเราตอบสนองการให้บริการเหนือความคาดหวังของผู้ใช้
           สรุป การทำงานทำให้สามารถมองเห็นกระบวนการทำงาน  คือ  ต้องมีการทำงานเป็นทีม เป็นกระบวนการ มีเบื้องหลังที่เก่งเหมือนคุณปราชญ์  มีผู้ให้บริการที่เหมือนคุณศุภวรรณ  มีผู้นำที่ดีเหมือนคุณทิพวรรณ  และมีผู้ที่หมั่นพัฒนาตัวเองเหมือนคุณชนันท์ฐิดา
          ความถามจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม (อื่นๆ)
            คุณชมพูนุช: มีการนำ AI ในการทำงานอย่างไร  มีแนวโน้มอย่างไรในอนาคต (AI: Artificial Intelligence หรือปัญญาประดิษฐ์ คือ การพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ ให้มีพฤติกรรมเหมือนคน โดยเฉพาะความสามารถในการเรียนรู้และความสามารถทางประสาทสัมผัสซึ่งเลียนแบบการเรียนรู้และการตัดสินใจของมนุษย์)
             คุณปราชญ์: แนวโน้มในอนาคตจะมีการนเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการสนับสนุนด้านต่างๆมากขึ้น  โดยเฉพาะด้านของข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ  ซึ่งจะต้องเกิดงานวิจัยเพิ่มมากขึ้น  เพื่อนำความรู้ที่ได้นั้นมาเป็นฐานในการสร้างสิ่งต่างๆต่อไป
 คุณชมพูนุช: หากเราไม่ได้ Born to be ที่จะเป็นบรรณารักษ์  จะสามารถพัฒนาตัวเองได้อย่างไร
             คุณศุภวรรณ: ในการทำงานจะต้องแบ่งความคิด  แบ่งเวลาให้ถูก  ทำงานให้สนุก ทำงานให้มีความสุข ปรับมุมมองใหม่  มองโลกในแง่ดี หากทำให้ตัวเองมีความสุขไม่ได้  ก็ทำให้คนอื่นมีความสุข  หากได้รับมอบหมายงาน  แสดงว่าเขาไว้วางใจเรา 50% แล้ว  และอีก 50%  เราจะต้องพัฒนาตัวเองในการทำงาน  ในการทำงานร่วมกันนั้น  เราจะต้องให้กำลังใจและชื่นชมผู้ร่วมงานเสมอ  เห็นว่าทุกคนคือส่วนสำคัญของการทำงาน  รู้จักเผื่อแผ่ให้คนรอบข้าง มีแนวคิดที่ว่า ทุกคนมี 1 โอกาสในการทำสิ่งต่างๆ”  ต้องทำให้เต็มที่และเต็มความสามารถ
          ความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม
          คุณกัลยา: สภาพแวดล้อมในการทำงานให้บริการของแต่ละที่แตกต่างกัน  ดังนั้นจะต้องถือว่า  ผู้ใช้เป็นที่1 ในการให้บริการ  ไม่สามารถเอาเรื่องอื่นมาตัดสินได้
           คุณศุภวรรณ: ในการทำงานบริการก็จะต้องปรับตัวเองอยู่เสมอเช่นกัน  จะต้องพัฒนาตัวเองให้เหนือกว่าผู้มาใช้บริการ  เพื่อให้ผู้ใช้ไว้วางใจตัวในการให้บริการ  มีแนวคิดว่า  รทำงานบริการขึ้นอยู่กับคน  ผู้ใช้  และผู้ให้บริการจะต้องปรับตัวเองอยุ่เสมอ
          คุณชมพูนุช: ท่าทีในการให้บริการเป็นส่วนสำคัญ  ควรใส่ใจและทำงานให้เต็มที่
          คุณทิพวรรณ: ตัวเราเองจะต้องมีความรู้ และเชี่ยวชาญในการให้บริการ  เพื่อจะได้ให้ความรู้ได้ถูกต้อง  โดยจะต้องซื้อใจผู้รับบริการ และใส่ใจกับการให้บริการของเรา
           ปัญหาเรื่องการไม่จ่ายค่าปรับของอาจารย์ 
           คุณศุภวรรณ: ปัญหาเรื่องการไม่จ่ายค่าปรับของอาจารย์  เป็นเรื่องของนโยบายที่จะต้องจัดการอย่างเป็นระบบ  ต้องให้หัวหน้างานเป็นผู้ดำเนินการต่อไป
           คุณทิพวรรณ: ปัญหาเรื่องการไม่จ่ายค่าปรับของอาจารย์  จะดูจากสถานการณ์ของผู้ใช้  แต่ที่ห้องสมุดจะสร้างมาตรฐานในเรื่องนี้ให้เป็นระบบ  เพราจะสามารถทำงานได้อย่างเป็นระบบเช่นกัน
            คุณชนันท์ฐิดา:  ปัญหาเรื่องการไม่จ่ายค่าปรับของอาจารย์  ที่ห้องสมุดจะจัดการโดยอาจจะมีส่วนลดให้กับอาจารย์ 30% เนื่องจากเป็นหนังสือที่มีราคาแพง  หรืออาจจะดูจากสถานการณ์ของผู้ใช้เช่นกัน  หากไม่สามารถจัดการได้จะส่งเรื่องต่อไปยังหัวหน้างานห้องสมุด
          เรื่องการแต่งกาย
          คุณบัวเงา: นักศึกษาชอบอ้างว่าที่สำนักหอสมุดแต่งตัวได้ตามสบาย
            คุณสุรชาติ: นศ.จะได้รับการปลูกฝังในเรื่องการแต่งตัว ว่าการที่จะเป็นแพทย์ที่ดี จะต้องเริ่มจากเรื่องการแต่งกาย  เพื่อให้มีความน่าเชื่อถือ  ส่วนผู้ให้บริการจะต้องสำรวจตัวเองก่อน ว่ามีความพร้อมในการแต่งกายก่อนมาให้บริการ
            คุณปราชญ์: เห็นว่าผู้ใช้มีการปรับเปลี่ยนเรื่องการแต่งกายที่ยืดหยุ่นมากขึ้น  แต่ก็ยังคงในกฎระเบียบเดิมไว้อยู่
            คุณชมพูนุช: ต้องยึดกฎระเบียบเป็นที่ตั้ง  ปฏิบัติตามกฎ และมีการปรับตามสถานการณ์ในขณะนั้น
           สำหรับกิจกรรม KM ในครั้งนี้มีสมาชิกชุมชนให้ความสนใจเข้าร่วมอบรมจำนวน 20 คน จากสมาชิกของชุมชนทั้งหมด 27 คน คิดเป็นร้อยละ 90 ซึ่งคาดว่าสมาชิกชุมชนที่มาเข้าร่วมกิจกรรม KM ในครั้งจะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหัวข้อเรื่อง “บริการที่เป็นความภาคภูมิใจของเรา” ความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรม ระดับความพึงพอใจอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด 

คลังความรู้ กิจกรรม KM ครั้งที่ 7

คลังความรู้ กิจกรรม KM ครั้งที่ 7
เรื่อง ทุกอย่างเพื่อการบริการที่ดีที่สุดของเรา
วันที่จัดกิจกรรม 15 มี.ค. 2559   เวลา  13.30 – 15.00 น. 
สถานที่ ห้องชมวิดิทัศน์ ชั้น 8  ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์

สไลด์หลักการออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์ (Media Design)
http://www.med.cmu.ac.th/library/km-neardr/neadr58/KM%207nd/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%20%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%20KM%20%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%207.pdf

รายงานผลการจัดการความรู้ กิจกรรม ครั้งที่ 7 เรื่อง ทุกอย่างเพื่อการบริการที่ดีที่สุดของเรา

รายงานผลการจัดการความรู้ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
1. ชุมชนแนวปฏิบัติ   ชุมชนคนใกล้หมอ
2. ประเด็นความรู้ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์  พัฒนาห้องสมุดให้เป็น Learning Center
3. องค์ความรู้ที่จำเป็น การบริการและส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ
4. กิจกรรม ครั้งที่ 7
                   เรื่อง  ทุกอย่างเพื่อการบริการที่ดีที่สุดของเรา
5. วันที่จัดกิจกรรม 15 มีนาคม 2559  เวลา  13.3015.00 น.  สถานที่ ห้องชมวิดิทัศน์ ชั้น 8  ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์
6. วัตถุประสงค์  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องงานบริการของทุกหน่วยภายในห้องสมุด

7. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม สมาชิกชุมชนคนใกล้หมอ จำนวน  18 คน 
              เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2559  เวลา  13.30 15.00 น. ได้จัดกิจกรรม KM ครั้งที่ 7 ของชุมชนคนใกล้หมอ ในครั้งนี้มีเนื้อหาที่นำมาศึกษาด้วยกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องทุกอย่างเพื่อการบริการที่ดีที่สุดของเรา ก่อนอื่นนั้น คุณชมพูนุช สราวุเดชา หัวหน้างานห้องสมุด (คุณเอื้อ) ได้กล่าวถึงกิจกรรม KM ของครั้งที่ผ่านมา เพื่อเป็นการทบทวนเนื้อหาเดิมที่ผ่านมา ซึ่งสมาชิกในชุมชนต่างก็เข้าร่วมกิจกรรมโดยพร้อมเพียงกัน ทั้งนี้เพื่อเป็นการเติมเต็มความรู้เรื่องการให้บริการห้องสมุดของสมาชิกด้วย นอกจากนี้ประธานชุมชนยังได้เชิญชวนให้สมาชิกในชุมชนเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์ของชุมชนคนใกล้หมอ เพื่อทบทวนเนื้อหากิจกรรม KM ที่ผ่านมาในแต่ละครั้ง รูปภาพกิจกรรมต่างๆ คลังความรู้ และสรุปแบบประเมินผลกิจกรรม KM แต่ละครั้งอีกด้วยเช่นกัน
          จากนั้นคุณเอื้อได้ส่งมอบให้กับวิทยากรรับช่วงต่อในการให้ความรู้ ดังนี้
          1. การนำ Infographics มาประยุกต์ใช้ในการทำงาน
          วิทยากรโดย คุณวุฒิไกร  อุสุยะ ได้นำความรู้ที่ได้รับจากการไปอบรมเรื่อง หลักการออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์ จากสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาเผยแพร่ให้แก่สมาชิกในชุมชนฟัง โดยเนื้อหาหลักที่เป็นประโชยน์ มีดังนี้
           1) การออกแบบกราฟฟิก
           2) องค์ประกอบของการออกแบบกราฟฟิก

           3) เทคนิคการเลือกใช้สีสำหรับการออกแบบกราฟิก
           4) หลักการสร้างสรรค์งาน

           5) Infographics
           โดยการออกแบบที่ดีนั้น 1) เส้นจะมีอยู่ทุกๆงานออกแบบ โดยถูกนำไปใช้ร่วมกับองค์ประกอบต่างๆ จนสื่อถึงอารมณ์ของผลงานออกมาได้ ในแบบที่ต้องการ 2) รูปร่างนั้นเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับงานหรือจะใช้เน้นส่วนประกอบในงานออกแบบ ซึ่งรูปทรงแต่ละแบบก็มีความหมายในทางที่ต่างกัน 3) พื้นผิวจะเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่ช่วยสื่ออารมณ์ของงานออกมาได้ชัดเจนมากขึ้น  พื้นผิวทั้งในองค์ประกอบต่างๆ ที่ใส่ลงไปในภาพ รวมทั้งวัสดุที่ใช้พิมพ์งานดังกล่าวลงไป ก็จะสามารถช่วยสื่อความหมายที่ต้องการได้อย่างเหมาะสม 4) พื้นที่สามารถสร้างรูปทรงที่แปลกตาขึ้นมาได้ มักจะนำไปใช้ในโลโก้หรืองานออกแบบ ทีต้องการแฝงความหมายต่างๆเอาไว้ 5) สี เป็นหัวใจสำคัญของการออกแบบ เพราะสีจะสื่ออารมณ์ได้อย่างชัดเจน  นอกจากสีจะแสดงถึงความรู้สึกต่างๆแล้ว เมื่อนำมาใช้ร่วมกันยังสามารถสื่ออารมณ์ได้อีกแบบ
           Infographic ย่อมาจาก Information Graphic คือ ภาพหรือกราฟิกซึ่งบ่งชี้ถึงข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นสถิติ ความรู้ ตัวเลข ฯลฯ เรียกว่าเป็นการย่นย่อข้อมูลเพื่อให้ประมวลผลได้ง่ายเพียงแค่กวาดตามอง ซึ่งเหมาะสำหรับผู้คนในยุคไอทีที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลซับซ้อนมหาศาลในเวลาอันจำกัด สามารถทำให้คนทั่วๆไปสามารถเข้าถึง เข้าใจ ข้อมูลปริมาณมากๆ ด้วยแผนภาพภาพเดียวเท่านั้น ด้วยข้อมูลที่ถูกคัดกรองมาเป็นอย่างดี ทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย เป็นวิธีการนำเสนอข้อมูลเชิงสร้างสรรค์ รูปแบบหรือประเภทของ Infographic ตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน
          ส่วนโปรแกรมที่ใช้ในการออกแบบนั้น ส่วนใหญ่จะใช้โปรแกรมประเภท Adobe เช่น Adobe photoshop และ Adobe illustrator เนื่องจากจะมีฟังก์ชั่นในการทำงานประเภทออกแบบ และงานกราฟฟิกโดยเฉพาะ ซึ่งมีฟังก์ชั่นการทำงานต่างๆมากมาย และในทำงานออกแบบนั้น ทั้งงานออกแบบสื่อต่างๆหรืองานออกแบบ Infographic ผู้ที่ทำนั้นจะต้องมีแรงจุงใจหรือแรงบันดาลใจในการทำก่อน จึงจะสามารถออกแบบมาได้ดี สวยงาม และเกิดประโยชน์แก่ผู้สนใจมากที่สุด ทั้งนี้ยังมีแหล่งข้อมูลที่ใช้ดาวน์โหลดทั้งรูปภาพและฟอนต์ที่ใช้ในการออกแบบสื่อต่างๆอีกมากมาย (รายละเอียดอยู่ในคลังความรู้)
          2. การอยู่เวรล่วงเวลา ในวันจันทร์-ศุกร์ (8.30 น. – 22.30 น.)
          คุณชัยรัตน์  คีรีเมฆ ได้พูดคุยถึงเรื่องการอยู่เวรล่วงเวลา ในวันจันทร์-ศุกร์ (8.30 น.
22.30 น.) ซึ่งห้องสมุดเปิดให้บริการแก่ผู้ใช้ในระหว่างวันที่ 14 มีนาคม 2559 – 12 เมษายน 2559 มีรายละเอียดคร่าวๆ ดังนี้ หลังเวลา 20.00 น. เป็นต้นไป ผู้ใช้บริการจะใช้บริการห้องสมุดในการใช้เป็นพื้นที่นั่งอ่านหนังสือจำนวนมาก มากกว่าใช้บริการยืม-คืนหนังสือ ซึ่งในบริการชั้น 6 จะมีผู้ใช้จำนวนมากกว่าชั้นอื่น มีนักศึกษาจากคณะอื่น เช่น คณะเภสัชศาสตร์ เข้ามาใช้บริการด้วย บรรยากาศการใช้ห้องสมุดโดยรวมค่อนข้างดี ได้รับการตอบรับที่ดี ส่วนการเก็บสถิตินั้น จะเก็บในเวลา 16.30 น. , 20.00 น. และเวลา 22.30 น. และจะเก็บหนังสือในเวลา 21.30 น.
           3. คุณชมพูนุช  สราวุเดชา (คุณเอื้อ ประธานชุมชนฯ)  ได้แลกเปลี่ยนสิ่งที่รับจากการศึกษาดูงาน และไปประชุมจากสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยนเรศวร เรื่อง
NULIB Staff Learning ครั้งที่ 2 เรียนรู้ร่วมกัน แบ่งปันความรู้ สู่องค์กรแห่งความสุข และ กิจกรรม Library Say Hi: เรื่องเล่าชาวสำนัก ซึ่งจัดในห้องฉายภาพยนตร์ อาคารสำนักหอสมุด โดยบรรยากาศในการประชุมมีลักษณะเป็นกันเอง สบายๆ นอกจากนี้ยังเป็นการจัดกิจกรรม KM ของสำนักหอสมุด โดยเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ มีความเป็นกันเอง มีบรรยากาศในการเรียนรู้ที่ดี ไม่มีตำแหน่งหรือหน้าที่รับผิดชอบชัดเจนในการดำเนินงานต่างๆ ส่วนการกำหนดหัวข้อ KM ไม่เน้นประเด็นองค์ความรู้หลักของชุมชน แต่จะเน้นเรื่องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันมากกว่า ซึ่งเมื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเสร็จแล้ว ถึงจะนำมากำหนดประเด็นองค์ความรู้
           4.  คุณชนันท์ฐิดา  ผะสม หัวหน้าหน่วยบริการห้องสมุด ได้แลกเปลี่ยนเรื่องบอร์ดแนะนำ
E-book Recommended ซึ่งเป็นบอร์ดที่ใช้แนะนำ E-book ของฐานข้อมูล Clinical Key และ Access Medicine โดยได้จัดทำบอร์ดไว้ที่ประตูชั้น 5 , ชั้น 6 และในห้องหนังสือภาษาไทย ชั้น 6 โดยนำเทคโนโลยี Qr code มาใช้ในการเข้าถึง E-book ซึ่งผู้ใช้จะต้องมีแอพลิเคชั่นที่สามารถอ่าน Qr code ได้ หรือใช้แอพลิเคชั่น LINE  ในฟังก์ชั่นเพิ่มรายชื่อด้วย Qr code แล้วนำมาถ่าย Qr code ที่ติดไว้ในโปสเตอร์ เพื่อเข้าถึง E-book ชื่อเรื่องนั้น แต่ผู้ใช้จะต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตของ Jumbo หรือ Med-Library ก่อน จึงจะสามารถเข้าถึง E-book ได้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้ E-book และเป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเข้าถึงทรัพยากรที่สะดวกและง่ายยิ่งขึ้น
          5. คุณเพียงขอบฟ้า  ปัญญาเพ็ชร หัวหน้าหน่วยเทคนิคห้องสมุด ได้พูดคุยเกี่ยวกับฐานข้อมูล
Embase ของสำนักพิมพ์ Elsevier เป็นฐานข้อมูลที่สนับสนุนการค้นข้อมูลแบบ Evidence Base Medicine คล้ายกับฐานข้อมูล Uptodate ที่เปิดให้ทดลองใช้ ตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2559 - 13 พฤษภาคม 2559 เป็นเวลา 2 เดือน นอกจากนี้มีกิจกรรมร่วมสนุก "Elsevier Embase  Online Quiz 2016" โดยใช้ผู้ใช้เข้าไปตอบคำถามชิงรางวัล มีดังนี้ 1. บัตรของขวัญ Starbucks Card มูลค่า 1,500 บาท 2. บัตรของขวัญ Starbucks Card มูลค่า 500 บาท 3. Power Bank 10,000 mAh จาก Elsevier สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปดูรายละเอียดและร่วมสนุกได้ที่ http://asia.elsevier.com/CMUembase2016 และหมดเขตร่วมสนุก วันที่ 13 พฤษภาคม 2559  นี้
         นอกจากนี้ มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลการใช้ห้อง
Group Study room หรือห้องอ่านกลุ่ม ชั้น 7 โดยมีการนำเอาห้องถ่ายเอกสารเดิมมาปรับปรุงโดยการนำโต๊ะ เก้าอี้ และนำกระดานไวท์บอร์ดมาติดเพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้เป็นพื้นที่นั่งอ่านหนังสือและแลกเปลี่ยนกันได้ แต่ต้องคอยตรวจสอบเรื่องการสอนพิเศษของผู้ใช้ เพราะเน้นย้ำไม่ให้ใช้เป็นสถานที่ในการสอนพิเศษ ให้ใช้เฉพาะเป็นพื้นที่นั่งอ่านหนังสือและแลกเปลี่ยนกันได้เท่านั้น
           สำหรับกิจกรรม KM ในครั้งนี้มีสมาชิกชุมชนให้ความสนใจเข้าร่วมอบรมจำนวน 19 คน จากสมาชิกของชุมชนทั้งหมด 27 คน คิดเป็นร้อยละ 70 ซึ่งคาดว่าสมาชิกชุมชนที่มาเข้าร่วมกิจกรรม KM ในครั้งจะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหัวข้อเรื่อง “ทุกอย่างเพื่อการบริการที่ดีที่สุดของเรา” และสื่อที่วิทยากรนำเสนอในครั้งนี้ จะจัดเก็บไว้ในคลังความรู้ของกิจกรรม KM  ของทางชุมชน  ซึ่งสมาชิกในชุมชนสามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้








คลังความรู้ กิจกรรม KM ครั้งที่ 6

คลังความรู้ กิจกรรม KM ครั้งที่ 6
เรื่อง แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องงานบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น8)
วันที่จัดกิจกรรม 29 ธ.ค. 2558   เวลา  14.00 – 15.00 น. 
สถานที่ ห้องประชุมชั้น 5  ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์
สไลด์การนำเสนองานบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น5 และชั้น 7)  

โดยวิทยากร ได้แก่ คุณเพียงขอบฟ้า  ปัญญาเพ็ชร

สามารถดาวน์โหลด ได้ที่ :
http://www.med.cmu.ac.th/library/km-neardr/neadr58/KM%206nd/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%20%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%20KM%20%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%206.2558.pdf

รายงานผลการจัดการความรู้ กิจกรรม ครั้งที่ 6 เรื่อง แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องงานบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น5และชั้น7)

รายงานผลการจัดการความรู้ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
1. ชุมชนแนวปฏิบัติ   ชุมชนคนใกล้หมอ
2. ประเด็นความรู้ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์  พัฒนาห้องสมุดให้เป็น Learning Center
3. องค์ความรู้ที่จำเป็น การบริการและส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ
4. กิจกรรม ครั้งที่ 6
                   เรื่อง  แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องงานบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น5 และชั้น 7)
5. วันที่จัดกิจกรรม 29 ธ.ค. 2558  เวลา  14.0015.00 น.  สถานที่ ห้องประชุมชั้น 5  ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์

6. วัตถุประสงค์  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องงานบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น5 และชั้น 7)
7. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม สมาชิกชุมชนคนใกล้หมอ จำนวน  18 คน
เมื่อวันที่ 29  ธันวาคม 2558 ได้จัดกิจกรรม KM ครั้งที่ 6 ของชุมชนคนใกล้หมอ ในครั้งนี้มีเนื้อหาที่นำมาศึกษาด้วยกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องงานบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น 5 และ 7)  โดยวิทยากรหลัก ได้แก่ คุณเพียงขอบฟ้า  ปัญญาเพ็ชร เป็นผู้ให้ความรู้สำหรับกิจกรรม KM ในครั้งนี้   ก่อนอื่นนั้น คุณชมพูนุช สราวุเดชา หัวหน้างานห้องสมุด (คุณเอื้อ) ได้กล่าวถึงกิจกรรม KM ของครั้งที่ผ่านมา เพื่อเป็นการทบทวนเนื้อหาเดิมที่ผ่านมา โดยในกิจกรรมครั้งที่  5 นั้นเป็นกิจกรรมเติมเต็มความรู้ เรื่อง  แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องงานบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น 8)   ซึ่งสมาชิกในชุมชนต่างก็เข้าร่วมกิจกรรมโดยพร้อมเพียงกัน ทั้งนี้เพื่อเป็นการเติมเต็มความรู้เรื่องการให้บริการห้องสมุดของสมาชิกด้วย นอกจากนี้ประธานชุมชนยังได้เชิญชวนให้สมาชิกในชุมชนเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์ของชุมชนคนใกล้หมอ เพื่อทบทวนเนื้อหากิจกรรม KM ที่ผ่านมาในแต่ละครั้ง รูปภาพกิจกรรมต่างๆ คลังความรู้ และสรุปแบบประเมินผลกิจกรรม KM แต่ละครั้งอีกด้วยเช่นกัน
          จากนั้นคุณเอื้อได้ส่งมอบให้กับวิทยากรรับช่วงต่อในการให้ความรู้ ดังนี้
          1. บริการชั้น 5
          งานบริการชั้น 5 เน้นการส่งต่อบริการให้แก่หน่วยงานอื่นในห้องสมุด เนื่องจากการทำงานหลัก เป็นหารทำงานของหน่วยงานเทคนิคและงานบริหารธุรการ ลักษณะงานมีทั้งบริการบุคคลภายในและบุคคลภายนอก และส่งต่อบริการภายในเพื่อบริการภายนอก และบริการผู้ใช้ภายนอก
          หน่วยบริหารธุรการ
          ประกอบด้วยงานบริการ ดังนี้ 
          1. บริการจองห้องประชุมชั้น 5  ชั้น 8 และห้องปฏิบัติธรรม
          2. บริการห้องสมุดในสวน (ความเรียบร้อยทางกายภาพ)
          3. การขอ
CIP และ ISBN  คือ CIP : Cataloguing in Publication หรือ บรรณานุกรมของหนังสือ และ ISBN : International Standard Book Number หรือ เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ
           หน่วยงานเทคนิค
           ประกอบด้วยงานบริการ ดังนี้ 
           1. บริการสั่งซื้อหนังสือ เป็นบริการสั่งซื้อหนังสือ  ทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ โสตทัศนวัสดุส่วนตัวให้แก่นักศึกษา อาจารย์  โดยจะส่งรายการหนังสือใหม่ให้แต่ละภาควิชา หน่วยงานในคณะแพทย์ฯ เพื่อคัดเลือกให้จัดซื้อเข้าห้องสมุด
           2. หนังสือบริจาค โดยจะคัดเลือกหนังสือเพื่อนำไปบริจาคตามคำขอของหน่วยงานต่างๆ เมื่อคัดเลือกเสร็จแล้ว จะต้องแก้ไขสถานะของหนังสือในฐานข้อมูล
OPAC ก่อนที่จะนำออกบริจาค รวมทั้งบริการอื่นๆเกี่ยวกับหนังสือบริจาค
           3. บริการช่วยค้นหาหนังสือในห้องหนังสือเก่า โดยจะให้บริการในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-16.30 น. โดยจะจัดเรียงตามหมวดหมู่เหมือนชั้นหนังสืออื่นๆในห้องสมุด  จากนั้นจะส่งตัวเล่มไปทางลิฟต์ส่งหนังสือ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถยืมได้ที่เคาท์เตอร์ให้บริการ ชั้น 6  จัดเรียง/แบ่งชั้นไล่จากซ้ายไปขวา ด้านบนลงล่าง
, แบ่งช่วงบนชั้นระยะ 2 ช่อง/ล็อค และวิทยานิพนธ์ ยืมออกได้ บางชื่ออยู่ในฐานข้อมูล e-Theses อ่านฉบับเต็มได้
          4. บริการยืมหนังสือก่อนออกให้บริการ จะให้บริการยืมหนังสือเรียน  หรือตำราทางการแพทย์ ให้แก่อาจารยหรือภาควิชา รวมทั้งนิยาย ซึ่งจะให้บริการแก่ผู้ใช้ที่ต้องการอ่านหนังสือเล่มนั้นก่อน ซึ่งจะใช้เวลาในการลงรายการเร็วสุดคือครึ่งวันทำการ กรณีนักศึกษา บุคลากร คณาจารย์ สามารถติดต่อยืมได้ โดยขอเป็นกรณีพิเศษ และมีการเซ็นต์สมุดยืม กรณี บุคลากรห้องสมุดสามารถขอยืมได้โดยการเซ็นต์สมุดยืม
           5. ห้องสมุดในสวน  ให้บริการพื้นที่นั่งอ่านในบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติ ให้บริการในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-16.30 น. โดยผู้ใช้สามารถเข้าใช้บริการได้ทางประตูเข้า-ออก ชั้น 5  และให้บริการในวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 9.00-17.00 น. โดยผู้ใช้สามารถเข้าใช้บริการได้ทางประตูเข้า-ออก ชั้น 6 แล้วเดินลงไปที่ชั้น 5
           6. บริการตรวจบรรณานุกรม และจัดทำดรรชนีหนังสือ จะให้บริการตรวจบรรณานุกรมและจัดทำดรรชนีหนังสือเฉพาะเป็นกรณีพิเศษที่คณะขอความอนุเคราะห์มาทางห้องสมุด โดยส่วนใหญ่จะเป็นหนังสือที่คณะแพทย์จัดทำขึ้นในโอกาสพิเศษ เช่น ครบรอบการก่อตั้งคณะ 45 ปี หรือ 50 ปี หรือหนังสือของอาจารย์ในคณะแพทย์ที่จัดทำขึ้นมาในโอกาสพิเศษต่างๆเช่นกัน
          2. บริการชั้น 7
          1. บริการวารสารเล่มปลีกวารสารเย็บเล่ม
          2. บริการชี้แหล่งวารสาร
          3. บริการค้นหาวารสาร และ บทความวารสาร
          4. บริการตอบคำถามช่วยการค้นคว้า การค้นบทความฉบับเต็ม โดยใช้
VPNให้บริการโรงพยาบาลสมทบ
          5. บริการติดตามวารสารที่เข้าใช้ไม่ได้
           หลังจากนั้น คุณอัมพร  อินทรัตน์ ได้เพิ่มเติมรายละเอียดของบริการหรือกิจกรรม Free Book For Shared ซึ่งเป็นหนังสือหรือทรัพยากรอื่นๆที่ได้รับบริจาคจากผู้ใช้หรือเป็นหนังสือที่ห้องสมุดได้บริจาคให้แก่ผู้ใช้ โดยก่อนที่จะนำหนังสือออกให้บริการนั้น จะต้องกรอกข้อมูลของหนังสือลงในแบบฟอร์มก่อน หากหนังสือเล่มไหนที่ห้องสมุดบริจาคนั้นจะมีจุดสีเขียวติดอยู่ที่ตัวเล่ม ซึ่งรายชื่อหนังสือที่ได้บริจาคออกไปนั้น บุคลากรสามารถตรวจสอบรายชื่อได้ที่ไฟล์ที่แชร์ให้ ชื่อไฟลล์ Data Free Book 4 Shared ซึ่งหลังจากนี้จะแชร์ไฟล์ให้แก่บุคลากรในห้องสมุดทุกๆคน เพื่อให้สามารถตรวจสอบข้อมูลของหนังสือบริจาคได้              
          นอกจากนี้ ยังมีการถามคำถามและตอบคำถามในการแลกเปลี่ยนความรู้ในครั้งนี้  ซึ่งได้รับข้อมูลเพิ่มเติม ดังนี้
         1. การสั่งซื้อหนังสือเป็นการส่วนตัวของนักศึกษาและอาจารย์มีความถี่ในการใช้งานนานๆคร้ง แต่ก็ยังมีการใช้บริการอยู่เรื่อยๆ
          2. บริการหนังสือเก่าในห้องหนังสือเก่า มีหนังสือภาษาอังกฤษตั้งแต่ปี 1980-1999 และหนังสือภาษาไทย ตั้งปต่ปี 2523-2542 ในการให้บริการนั้น ส่วนใหญ่ผู้ใช้จะมีเลขหมู่หนังสือที่ต้องการแล้ว และมาหาเจ้าหน้าที่หน่วยเทคนิคเพื่อช่วยผู้ใช้ในการค้นหาต่อไป 
          3. การต้นหาวิทยานิพนธ์ ในห้องหนังสือเก่า เนื่องจากปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ให้บริการในห้องหนังสือเด่า และมีการย้ายพื้นที่จัดเก็บวิทยานิพนธ์ จึงทำให้การค้นหาตัวเล่มทำได้ช้าลง และเนื่องจากปัจจุบันจะแนะนำให้ผู้ใช้ใช้บริการ
E-Thesis ในฐานข้อมูลของสำนักหอสมุดมากยิ่งขึ้น จึงจะแนะนำให้ผุ้ใช้ใช้บริการนั้นก่อน ก่อนที่จะมาหาตัวเล่มในห้องหนังสือเก่า
          4. งบประมาณที่ใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาห้องสมุดในสวน ยังไม่ได้กำหนดงบประมาณที่แน่นอนไว้ล่วงหน้า และก็ให้ความสำคัญและจะพัฒนาปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ
           สำหรับกิจกรรม KM ในครั้งนี้มีสมาชิกชุมชนให้ความสนใจเข้าร่วมอบรมจำนวน 18 คน จากสมาชิกของชุมชนทั้งหมด 27 คน คิดเป็นร้อยละ 67 ซึ่งคาดว่าสมาชิกชุมชนที่มาเข้าร่วมกิจกรรม KM ในครั้งจะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น5 และชั้น7)  และสื่อที่วิทยากรนำเสนอในครั้งนี้ จะจัดเก็บไว้ในคลังความรู้ของกิจกรรม KM  ของทางชุมชน  ซึ่งสมาชิกในชุมชนสามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้







21 ธันวาคม 2558

ภาพกิจกรรม KM Day ครั้งที่ 9 วันที่ 16 ธันวาคม 2558

ภาพกิจกรรม KM Day 

ภาพกิจกรรม KM Day ครั้งที่ 9 วันที่ 16 ธันวาคม 2558
ณ ห้องโถงชั้น 1 สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่








สามารถเข้าชมรูปภาพงานกิจกรรม ได้ที่ :

http://www.med.cmu.ac.th/library/km-neardr/pickm/KM02/pickm2558.html

และ

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.10153843602532792.1073741970.162309272791&type=3

คลังความรู้ กิจกรรม KM ครั้งที่ 5 เรื่อง แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องงานบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น8)

คลังความรู้ กิจกรรม KM ครั้งที่ 5

เรื่อง แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องงานบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น8)
วันที่จัดกิจกรรม 17 พ.ย. 2558 เวลา  13.00 – 15.30 น 
สถานที่ ห้องประชุมชั้น 8  ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์

สไลด์การนำเสนองานบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น8)  โดยวิทยากร ได้แก่ คุณวุฒิไกร  อุสุยะ
คุณวิชชนน  วศินเมธากูร และ อ.กมลชนก มาแสงตา 

สามารถดาวน์โหลด ได้ที่ :

http://www.med.cmu.ac.th/library/km-neardr/neadr58/KM%205nd/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%20%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%20KM%20%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%205.pdf