17 มิถุนายน 2559

รายงานผลการจัดการความรู้ กิจกรรม ครั้งที่ 8 เรื่อง บริการที่เป็นความภาคภูมิใจของเรา

รายงานผลการจัดการความรู้ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
1. ชุมชนแนวปฏิบัติ   ชุมชนคนใกล้หมอ
2. ประเด็นความรู้ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์  พัฒนาห้องสมุดให้เป็น Learning Center
3. องค์ความรู้ที่จำเป็น การบริการและส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ
4. กิจกรรม ครั้งที่ 8
                   เรื่อง  บริการที่เป็นความภาคภูมิใจของเรา
5. วันที่จัดกิจกรรม 14 มิถุนายน 2559  เวลา  9.3011.30 น.  สถานที่ ห้องประชุมชั้น 5  ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์
6. วัตถุประสงค์  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องงานบริการห้องสมุดกับชุมชนแนวปฏิบัติชุมชนอื่น

7. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม สมาชิกชุมชนคนใกล้หมอ จำนวน  20 คน
          เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2559  เวลา  9.30 11.30 น. ได้จัดกิจกรรม KM ครั้งที่ 8 ของชุมชนคนใกล้หมอ ในครั้งนี้มีเนื้อหาที่นำมาศึกษาด้วยกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องบริการที่เป็นความภาคภูมิใจของเรา ก่อนอื่นนั้น คุณชมพูนุช สราวุเดชา หัวหน้างานห้องสมุด (คุณเอื้อ) ได้กล่าวถึงกิจกรรม KM ของครั้งที่ผ่านมา เพื่อเป็นการทบทวนเนื้อหาเดิมที่ผ่านมา ซึ่งสมาชิกในชุมชนต่างก็เข้าร่วมกิจกรรมโดยพร้อมเพียงกัน ทั้งนี้เพื่อเป็นการเติมเต็มความรู้เรื่องการให้บริการห้องสมุดของสมาชิกด้วย นอกจากนี้ประธานชุมชนยังได้เชิญชวนให้สมาชิกในชุมชนเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์ของชุมชนคนใกล้หมอ เพื่อทบทวนเนื้อหากิจกรรม KM ที่ผ่านมาในแต่ละครั้ง รูปภาพกิจกรรมต่างๆ คลังความรู้ และสรุปแบบประเมินผลกิจกรรม KM แต่ละครั้งอีกด้วยเช่นกัน
         สำหรับกิจกรรม KM ครั้งที่ 8 ในครั้งนี้นั้น เป็นกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องบริการที่เป็นความภาคภูมิใจของเรา โดยได้มีการเชิญวิทยากรจากชุมชนแนวปฏิบัติอื่น ได้แก่ คุณศุภวรรณ อาจกล้า จากชุมชนแนวปฏิบัติชุมชนบริการ, คุณปราชญ์ สงวนศักดิ์ จากชุมชนแนวปฏิบัติชุมชน New Folder,  คุณทิพวรรณ สุขรวย จากชุมชนแนวปฏิบัติ InfoHealthCoP, คุณชนันท์ฐิดา  ผะสม จากชุมชนแนวปฏิบัติชุมชนคนใกล้หมอ, และคุณเพียงขอบฟ้า  ปัญญาเพ็ชร  ทำหน้าที่เป็นพิธีกรในการดำเนินรายงานในการให้สัมภาษณ์วิทยากรในครั้งนี้ สำหรับกิจกรรม KM ในครั้งนี้นั้น เป็นกิจกรรมในลักษณะการสนทนาถาม-ตอบ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเรื่องงานบริการกับชุมชนอื่นๆ โดยมีประเด็นที่สำคัญและน่าสนใจ ดังนี้
         ทัศนคติต่ออาชีพบรรณารักษ์
         คุณศุภวรรณ: ในครั้งแรกที่ได้มาเรียนในสาขานี้นั้น รู้สึกไม่ชอบในการเรียนบรรณารักษ์และไม่อยากเรียน ต่อมาได้ใช้ความรู้ที่ได้เรียนมาในสาขานี้ช่วยเหลือผู้อื่นในการหาหนังสือในห้องสมุด จึงรู้สึกชอบขึ้นมา และเกิดความภาคภูมิใจ หลังจากนั้นจึงตั้งใจเรียนในสาขานี้ และอยากจะมาเป็นบรรณารักษ์ที่สามารถเป็นตัวของตัวเองได้ โดยสามารถทำงานในวิชาชีพนี้ได้อย่างมีความสุข
          การมีต้นแบบที่ดีและมีประสิทธิภาพ มีอิทธิพลต่อความรู้สึกมั่นคงของบุคคล  บุคคลผู้เป็นต้นแบบในชีวิต ของคุณทิพวรรณ คือ ผอ.เพ็ญสุวรรณ นาคะปรีชา อดีตผู้อำนวยการสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เนื่องจากท่านเป็นผู้ที่มีความสามารถมาก มีบุคลิกที่ดี ทำงานเก่ง มีแนวคิดกว้างไกล และเป็นผู้นำที่ดี จึงอยากจะทำงานได้เหมือนกับแบบของท่าน
        ความภาคภูมิใจในตนเองต่อการทำงาน
         คุณปราชญ์ : งานทุกอย่างเกิดความภาคภูมิใจในงานอยู่แล้ว  เพราะพยายามงานทุกอย่างอย่างเต็มที่  แต่ก็ยังมีความรู้สึกว่าผลงานน่าจะออกมาดีกว่านี้  ยังสามารถพัฒนาได้อีก  และอยากจะให้เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์มีส่วนช่วยในการให้บริการได้มากที่สุด  มากว่าการติดต่อกับผู้ให้บริการโดยตรง  ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวก รวดเร็วในการรับบริการ  และอยากจะสร้างระบบที่เอื้อต่อทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการให้มากที่สุดเช่นกัน
                ผลงานที่ได้ทำขึ้น  ได้แก่ แอพพลิเคชั่น CMUL AirPAC for Android, แอพพลิเคชัน CMU e-Theses CMU e-Research ในระบบปฏิบัติการ Android และ IOS, แอพพลิเคชั่น CMU e-Textbooks for Android, แอพพลิเคชั่น CMUL Find Library for Android เป็นแอพพลิเคชั่นช่วยหาหนังสือ จากห้องสมุดที่ท่านสะดวกเข้าใช้บริการ มีประโยชน์เมื่อต้องการทราบว่าจะหาหนังสือเรื่องที่สนใจมีให้บริการที่ห้องสมุดหรือไม่ และมีที่ห้องสมุดใด เพียงสแกนบาร์โค้ดของหนังสือเรื่องนั้นๆ แอพพลิเคชั่นนี้จะแสดงข้อมูลห้องสมุดที่มีหนังสือเรื่องดังกล่าว ซึ่งท่านอาจตัดสินใจไปยืมหนังสือจากห้องสมุดที่ท่านสะดวกได้
           คุณศุภวรรณ: งานบริการทำให้เราเกิดความภาคภูมิใจในตนเองมากที่สุด  คือ  งานที่จะต้องติดต่อประสานงานกับหน่วยงานอื่น  เนื่องจากการแก้ไขปัญหาบางปัญหาจะต้องใช้ความร่วมมือจากหลายๆฝ่าย  ดังนั้นหากสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้แก่ผู้ใช้  ให้ผู้ใช้ไม่รู้สึกไม่ประทับใจได้  และสามารถติดต่อประสานงานได้อย่างราบรื่น  และได้รับคำตอบที่ดี  ผู้ใช้ประทับใจนั้น  จะเกิดความภาคภูมิใจมากที่สามารถจัดการปัญหาต่างๆได้
          การพัฒนาตนเอง
          คุณชนันท์ฐิดา:  งานบริการเป็นงานที่ตัวเองไม่ถนัด  จึงต้องพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ  จะขอยกตัวอย่างการพัฒนาตัวเองในด้าน การสอนโปรแกรม (Training)  มีวิธีการพัฒนาตัวเอง  คือ 
1.            ค้นหาความรู้ด้วยตัวเองก่อน  โดยการดูการสอนจากแหล่งอื่นๆ
2.            จากนั้นจะนำความรู้ที่ได้มาทดลองสอนเพื่อน  แล้วให้เพื่อนเสนอแนะ  เสนอความคิดเห็นต่างๆเกี่ยวกับการสอน
3.            นำข้อเสนอแนะและความคิดเห็นต่างๆที่ได้ มาปรับปรุงการสอนให้ดีขึ้น
4.            จากนั้นก็ทดลองสอนอีกครั้ง  โดยทดลองสอนให้แก่บุคลากรของห้องสมุด  และมีพี่เลี้ยงที่คอยให้คำแนะนำในการสอนด้วยเช่นกัน
5.            ทำการสอนให้แก่ผู้ใช้บริการ  หากผู้ใช้เกิดความเข้าใจ สามารถปฏิบัติได้จะเกิดความภาคภูมิใจในตัวเองเป็นอย่างมาก
คุณชนันท์ฐิดา:  ได้พัฒนาทักษะด้านการพูด  ความกล้าแสดงออก  ทักษะด้านการสืบค้นที่จะต้องพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ  ต้องตามผู้ใช้ให้ทัน  ทักษะการสอน  ซึ่งเป็นส่วนที่สามารถพัฒนาทักษะด้านอื่นๆตามมาด้วยเช่นกัน
              คุณทิพวรรณ:  เนื่องจากได้รับมอบหมายในด้านงานบริหารในการเป็นหัวหน้างานห้องสมุดคณะเทคนิคการแพทย์  ทำให้ได้พัฒนาทักษะด้านการทำงานเป็นทีม  มีทีมงานที่ดี เนื่องจากที่ห้องสมุดมีผู้ปฏิบัติงานอยู่ 3 คน  แต่ก็สามารถปฏบัติงานได้อย่างราบรื่น  ทำงานเป็นระบบและสามารถทำงานแทนกันได้  นอกจากนี้มีความท้าทายในการให้บริการ  เนื่องจากจะต้องพัฒนาตัวเองให้ทันต่อผู้ใช้เสมอเช่นกัน
            งานบริการที่ภาคภูมิใจ
            คุณปราชญ์ : ส่วนผลงานที่ภูมิใจที่สุด  คือ ระบบการจองห้องค้นคว้ากลุ่ม (Group Study Room) ที่ผู้ใช้สามารถลงทะเบียนที่หน้าจอ Touch Screen  ด้านหน้าของสำนักหอสมุด  เนื่องจากจากที่ไปศึกษาดูงานจากห้องสมุดอื่นนั้น ยังไม่มีห้องสมุดไหนที่สามารถสร้างระบบได้ครอบคลุม และเทียบเท่ากับที่สำนักหอสมุดมช. จัดทำขึ้น  ซึ่งจัดทำโดยไม่ใช้ค่าใช้จ่ายอีกด้วย  ทำให้ผู้ที่สนใจจากมหาวิทยาลัยอื่นสอบถามมาทางอีเมลจำนวนมาก  ทำให้เกิดความภาคภูมิใจเป็นอย่างมาก  แต่ก็ยังอยากจะพัฒนาระบบให้ดีขึ้นกว่าเดิมเช่นกัน
              ขณะนี้กำลังพัฒนาระบบการลงรายการทรัพยากร  ระบบแสดงหนังสือใหม่  ซึ่งขณะนี้กำลังพัฒนาระบบการลงรายการในรูปแบบของปัญญาประดิษฐ์  ในการจัดการข้อมูลและเนื้อหาที่ต้องการนำมาลงรายการ  และระบบแสดงหนังสือใหม่  ก็จะสามารถพรีวิวดูส่วนต่างๆของหนังสือได้
              คุณทิพวรรณ:  บริการคลินิกภาคนิพนธ์  ซึ่งเป็น บริการช่วยการค้นคว้า เพื่อการทำภาคนิพนธ์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะเทคนิคการแพทย์ โดยบรรณารักษ์จะให้คำปรึกษา แนะนำในการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ ตลอดจนแนะนำการเขียนบรรณานุกรมและเอกสารอ้างอิง  โดยที่ใช้แนวทางปฏิบัติ PDCA  ในการทำงาน  มีการพัฒนาปรับปรุงการให้บริการอยู่เสมอ  นอกจากนี้ในหลักสูตรของภาควิชากายภาพบำบัด  ที่มีการนำบริการคลินิกภาคนิพนธ์  เข้าเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรในการจบการศึกษาของนักศึกษา  โดยเปิดการสอนเป็นห้องเรียน  จำนวน 3 ครั้งต่อ 1 ภาคการศึกษา  นอกจากนี้ก็ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับบริการคลินิกภาคนิพนธ์ ให้แก่นักศึกษาในสาขาอื่นๆด้วยเช่นกัน  หากผู้ใช้เกิดความเข้าใจ และประทับใจในการสอนของเรานั้น  ก็จะได้รับรอยยิ้มจากผู้ใช้  จากนั้นผู้ใช้ก็จะบอกต่อ และหากมีผู้ใช้ที่ได้รับการบอกต่อมาใช้บริการก็จะเกิดความภูมิใจเป็นอย่างมาก
            คุณชนันท์ฐิดา:  การได้รับหน้าที่ในการสอน  Library Class  คือ การสอน  Endnote X7  ที่สามารถสอนให้ผู้ใช้เข้าใจได้  และสามารถกลับไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
             คุณศุภวรรณ: การที่ผู้ใช้เกิดความประทับใจในการรับบริการ  โดยการที่พยายามให้คำแนะนำแก่ผู้ใช้  พยายามช่วยหาข้อมูล  เพื่อให้ผู้ใช้รู้สึกว่าเราพยายามช่วยอย่างเต็มที่  ให้ผู้ใช้เกิดความประทับใจ  และพยายามสร้างบรรยากาศในการให้บริการอย่างราบรื่นที่สุด  นอกจากนี้ยังได้รับมอบหมายในส่วนงาน American  Corner  ซึ่งเป็นงานหนักมากๆ ที่จะต้องจัดการงานทุกๆอย่างด้วยตัวเอง  และจะต้องติดต่อกับหน่วยงานอื่นๆอยู่เสมอเช่นกัน  เป็นงานที่เหนื่อยที่จะต้องจัดการให้ได้  ซึ่งเกิดความภาคภูมิใจเป็นอย่างมากที่ได้ปฏิบัติงานในส่วนนี้
           1 คำที่บ่งบอกถึงความภูมิใจในการทำงาน
           คุณทิพวรรณ:  รอยยิ้มของผู้ใช้บริการ  ทำให้รู้สึกว่าผู้ใช้มีความสุขกับการรับบริการ
           คุณศุภวรรณ: นึกถึงคำว่าทำไม”  เนื่องจากทำให้ตัวเองได้เกิดความคิด  และใส่ใจกับวฃสิ่งนั้น ทำให้สามารถทำงานต่อไปได้
           คุณชนันท์ฐิดา:  คำขอบคุณของผู้ใช้บริการ  ทำให้มีกำลังใจในการให้บริการต่อไป  ทำให้รู้สึกว่าเราเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้บริการ 
            คุณปราชญ์: นึกถึงคำว่า เข้าใจ”  ผู้ใช้เข้าใจในระบบที่เราสร้างขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ เหมือนกับว่าเราตอบสนองการให้บริการเหนือความคาดหวังของผู้ใช้
           สรุป การทำงานทำให้สามารถมองเห็นกระบวนการทำงาน  คือ  ต้องมีการทำงานเป็นทีม เป็นกระบวนการ มีเบื้องหลังที่เก่งเหมือนคุณปราชญ์  มีผู้ให้บริการที่เหมือนคุณศุภวรรณ  มีผู้นำที่ดีเหมือนคุณทิพวรรณ  และมีผู้ที่หมั่นพัฒนาตัวเองเหมือนคุณชนันท์ฐิดา
          ความถามจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม (อื่นๆ)
            คุณชมพูนุช: มีการนำ AI ในการทำงานอย่างไร  มีแนวโน้มอย่างไรในอนาคต (AI: Artificial Intelligence หรือปัญญาประดิษฐ์ คือ การพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ ให้มีพฤติกรรมเหมือนคน โดยเฉพาะความสามารถในการเรียนรู้และความสามารถทางประสาทสัมผัสซึ่งเลียนแบบการเรียนรู้และการตัดสินใจของมนุษย์)
             คุณปราชญ์: แนวโน้มในอนาคตจะมีการนเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการสนับสนุนด้านต่างๆมากขึ้น  โดยเฉพาะด้านของข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ  ซึ่งจะต้องเกิดงานวิจัยเพิ่มมากขึ้น  เพื่อนำความรู้ที่ได้นั้นมาเป็นฐานในการสร้างสิ่งต่างๆต่อไป
 คุณชมพูนุช: หากเราไม่ได้ Born to be ที่จะเป็นบรรณารักษ์  จะสามารถพัฒนาตัวเองได้อย่างไร
             คุณศุภวรรณ: ในการทำงานจะต้องแบ่งความคิด  แบ่งเวลาให้ถูก  ทำงานให้สนุก ทำงานให้มีความสุข ปรับมุมมองใหม่  มองโลกในแง่ดี หากทำให้ตัวเองมีความสุขไม่ได้  ก็ทำให้คนอื่นมีความสุข  หากได้รับมอบหมายงาน  แสดงว่าเขาไว้วางใจเรา 50% แล้ว  และอีก 50%  เราจะต้องพัฒนาตัวเองในการทำงาน  ในการทำงานร่วมกันนั้น  เราจะต้องให้กำลังใจและชื่นชมผู้ร่วมงานเสมอ  เห็นว่าทุกคนคือส่วนสำคัญของการทำงาน  รู้จักเผื่อแผ่ให้คนรอบข้าง มีแนวคิดที่ว่า ทุกคนมี 1 โอกาสในการทำสิ่งต่างๆ”  ต้องทำให้เต็มที่และเต็มความสามารถ
          ความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม
          คุณกัลยา: สภาพแวดล้อมในการทำงานให้บริการของแต่ละที่แตกต่างกัน  ดังนั้นจะต้องถือว่า  ผู้ใช้เป็นที่1 ในการให้บริการ  ไม่สามารถเอาเรื่องอื่นมาตัดสินได้
           คุณศุภวรรณ: ในการทำงานบริการก็จะต้องปรับตัวเองอยู่เสมอเช่นกัน  จะต้องพัฒนาตัวเองให้เหนือกว่าผู้มาใช้บริการ  เพื่อให้ผู้ใช้ไว้วางใจตัวในการให้บริการ  มีแนวคิดว่า  รทำงานบริการขึ้นอยู่กับคน  ผู้ใช้  และผู้ให้บริการจะต้องปรับตัวเองอยุ่เสมอ
          คุณชมพูนุช: ท่าทีในการให้บริการเป็นส่วนสำคัญ  ควรใส่ใจและทำงานให้เต็มที่
          คุณทิพวรรณ: ตัวเราเองจะต้องมีความรู้ และเชี่ยวชาญในการให้บริการ  เพื่อจะได้ให้ความรู้ได้ถูกต้อง  โดยจะต้องซื้อใจผู้รับบริการ และใส่ใจกับการให้บริการของเรา
           ปัญหาเรื่องการไม่จ่ายค่าปรับของอาจารย์ 
           คุณศุภวรรณ: ปัญหาเรื่องการไม่จ่ายค่าปรับของอาจารย์  เป็นเรื่องของนโยบายที่จะต้องจัดการอย่างเป็นระบบ  ต้องให้หัวหน้างานเป็นผู้ดำเนินการต่อไป
           คุณทิพวรรณ: ปัญหาเรื่องการไม่จ่ายค่าปรับของอาจารย์  จะดูจากสถานการณ์ของผู้ใช้  แต่ที่ห้องสมุดจะสร้างมาตรฐานในเรื่องนี้ให้เป็นระบบ  เพราจะสามารถทำงานได้อย่างเป็นระบบเช่นกัน
            คุณชนันท์ฐิดา:  ปัญหาเรื่องการไม่จ่ายค่าปรับของอาจารย์  ที่ห้องสมุดจะจัดการโดยอาจจะมีส่วนลดให้กับอาจารย์ 30% เนื่องจากเป็นหนังสือที่มีราคาแพง  หรืออาจจะดูจากสถานการณ์ของผู้ใช้เช่นกัน  หากไม่สามารถจัดการได้จะส่งเรื่องต่อไปยังหัวหน้างานห้องสมุด
          เรื่องการแต่งกาย
          คุณบัวเงา: นักศึกษาชอบอ้างว่าที่สำนักหอสมุดแต่งตัวได้ตามสบาย
            คุณสุรชาติ: นศ.จะได้รับการปลูกฝังในเรื่องการแต่งตัว ว่าการที่จะเป็นแพทย์ที่ดี จะต้องเริ่มจากเรื่องการแต่งกาย  เพื่อให้มีความน่าเชื่อถือ  ส่วนผู้ให้บริการจะต้องสำรวจตัวเองก่อน ว่ามีความพร้อมในการแต่งกายก่อนมาให้บริการ
            คุณปราชญ์: เห็นว่าผู้ใช้มีการปรับเปลี่ยนเรื่องการแต่งกายที่ยืดหยุ่นมากขึ้น  แต่ก็ยังคงในกฎระเบียบเดิมไว้อยู่
            คุณชมพูนุช: ต้องยึดกฎระเบียบเป็นที่ตั้ง  ปฏิบัติตามกฎ และมีการปรับตามสถานการณ์ในขณะนั้น
           สำหรับกิจกรรม KM ในครั้งนี้มีสมาชิกชุมชนให้ความสนใจเข้าร่วมอบรมจำนวน 20 คน จากสมาชิกของชุมชนทั้งหมด 27 คน คิดเป็นร้อยละ 90 ซึ่งคาดว่าสมาชิกชุมชนที่มาเข้าร่วมกิจกรรม KM ในครั้งจะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหัวข้อเรื่อง “บริการที่เป็นความภาคภูมิใจของเรา” ความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรม ระดับความพึงพอใจอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น