17 มิถุนายน 2559

รายงานผลการจัดการความรู้ กิจกรรม ครั้งที่ 6 เรื่อง แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องงานบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น5และชั้น7)

รายงานผลการจัดการความรู้ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
1. ชุมชนแนวปฏิบัติ   ชุมชนคนใกล้หมอ
2. ประเด็นความรู้ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์  พัฒนาห้องสมุดให้เป็น Learning Center
3. องค์ความรู้ที่จำเป็น การบริการและส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ
4. กิจกรรม ครั้งที่ 6
                   เรื่อง  แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องงานบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น5 และชั้น 7)
5. วันที่จัดกิจกรรม 29 ธ.ค. 2558  เวลา  14.0015.00 น.  สถานที่ ห้องประชุมชั้น 5  ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์

6. วัตถุประสงค์  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องงานบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น5 และชั้น 7)
7. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม สมาชิกชุมชนคนใกล้หมอ จำนวน  18 คน
เมื่อวันที่ 29  ธันวาคม 2558 ได้จัดกิจกรรม KM ครั้งที่ 6 ของชุมชนคนใกล้หมอ ในครั้งนี้มีเนื้อหาที่นำมาศึกษาด้วยกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องงานบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น 5 และ 7)  โดยวิทยากรหลัก ได้แก่ คุณเพียงขอบฟ้า  ปัญญาเพ็ชร เป็นผู้ให้ความรู้สำหรับกิจกรรม KM ในครั้งนี้   ก่อนอื่นนั้น คุณชมพูนุช สราวุเดชา หัวหน้างานห้องสมุด (คุณเอื้อ) ได้กล่าวถึงกิจกรรม KM ของครั้งที่ผ่านมา เพื่อเป็นการทบทวนเนื้อหาเดิมที่ผ่านมา โดยในกิจกรรมครั้งที่  5 นั้นเป็นกิจกรรมเติมเต็มความรู้ เรื่อง  แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องงานบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น 8)   ซึ่งสมาชิกในชุมชนต่างก็เข้าร่วมกิจกรรมโดยพร้อมเพียงกัน ทั้งนี้เพื่อเป็นการเติมเต็มความรู้เรื่องการให้บริการห้องสมุดของสมาชิกด้วย นอกจากนี้ประธานชุมชนยังได้เชิญชวนให้สมาชิกในชุมชนเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์ของชุมชนคนใกล้หมอ เพื่อทบทวนเนื้อหากิจกรรม KM ที่ผ่านมาในแต่ละครั้ง รูปภาพกิจกรรมต่างๆ คลังความรู้ และสรุปแบบประเมินผลกิจกรรม KM แต่ละครั้งอีกด้วยเช่นกัน
          จากนั้นคุณเอื้อได้ส่งมอบให้กับวิทยากรรับช่วงต่อในการให้ความรู้ ดังนี้
          1. บริการชั้น 5
          งานบริการชั้น 5 เน้นการส่งต่อบริการให้แก่หน่วยงานอื่นในห้องสมุด เนื่องจากการทำงานหลัก เป็นหารทำงานของหน่วยงานเทคนิคและงานบริหารธุรการ ลักษณะงานมีทั้งบริการบุคคลภายในและบุคคลภายนอก และส่งต่อบริการภายในเพื่อบริการภายนอก และบริการผู้ใช้ภายนอก
          หน่วยบริหารธุรการ
          ประกอบด้วยงานบริการ ดังนี้ 
          1. บริการจองห้องประชุมชั้น 5  ชั้น 8 และห้องปฏิบัติธรรม
          2. บริการห้องสมุดในสวน (ความเรียบร้อยทางกายภาพ)
          3. การขอ
CIP และ ISBN  คือ CIP : Cataloguing in Publication หรือ บรรณานุกรมของหนังสือ และ ISBN : International Standard Book Number หรือ เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ
           หน่วยงานเทคนิค
           ประกอบด้วยงานบริการ ดังนี้ 
           1. บริการสั่งซื้อหนังสือ เป็นบริการสั่งซื้อหนังสือ  ทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ โสตทัศนวัสดุส่วนตัวให้แก่นักศึกษา อาจารย์  โดยจะส่งรายการหนังสือใหม่ให้แต่ละภาควิชา หน่วยงานในคณะแพทย์ฯ เพื่อคัดเลือกให้จัดซื้อเข้าห้องสมุด
           2. หนังสือบริจาค โดยจะคัดเลือกหนังสือเพื่อนำไปบริจาคตามคำขอของหน่วยงานต่างๆ เมื่อคัดเลือกเสร็จแล้ว จะต้องแก้ไขสถานะของหนังสือในฐานข้อมูล
OPAC ก่อนที่จะนำออกบริจาค รวมทั้งบริการอื่นๆเกี่ยวกับหนังสือบริจาค
           3. บริการช่วยค้นหาหนังสือในห้องหนังสือเก่า โดยจะให้บริการในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-16.30 น. โดยจะจัดเรียงตามหมวดหมู่เหมือนชั้นหนังสืออื่นๆในห้องสมุด  จากนั้นจะส่งตัวเล่มไปทางลิฟต์ส่งหนังสือ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถยืมได้ที่เคาท์เตอร์ให้บริการ ชั้น 6  จัดเรียง/แบ่งชั้นไล่จากซ้ายไปขวา ด้านบนลงล่าง
, แบ่งช่วงบนชั้นระยะ 2 ช่อง/ล็อค และวิทยานิพนธ์ ยืมออกได้ บางชื่ออยู่ในฐานข้อมูล e-Theses อ่านฉบับเต็มได้
          4. บริการยืมหนังสือก่อนออกให้บริการ จะให้บริการยืมหนังสือเรียน  หรือตำราทางการแพทย์ ให้แก่อาจารยหรือภาควิชา รวมทั้งนิยาย ซึ่งจะให้บริการแก่ผู้ใช้ที่ต้องการอ่านหนังสือเล่มนั้นก่อน ซึ่งจะใช้เวลาในการลงรายการเร็วสุดคือครึ่งวันทำการ กรณีนักศึกษา บุคลากร คณาจารย์ สามารถติดต่อยืมได้ โดยขอเป็นกรณีพิเศษ และมีการเซ็นต์สมุดยืม กรณี บุคลากรห้องสมุดสามารถขอยืมได้โดยการเซ็นต์สมุดยืม
           5. ห้องสมุดในสวน  ให้บริการพื้นที่นั่งอ่านในบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติ ให้บริการในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-16.30 น. โดยผู้ใช้สามารถเข้าใช้บริการได้ทางประตูเข้า-ออก ชั้น 5  และให้บริการในวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 9.00-17.00 น. โดยผู้ใช้สามารถเข้าใช้บริการได้ทางประตูเข้า-ออก ชั้น 6 แล้วเดินลงไปที่ชั้น 5
           6. บริการตรวจบรรณานุกรม และจัดทำดรรชนีหนังสือ จะให้บริการตรวจบรรณานุกรมและจัดทำดรรชนีหนังสือเฉพาะเป็นกรณีพิเศษที่คณะขอความอนุเคราะห์มาทางห้องสมุด โดยส่วนใหญ่จะเป็นหนังสือที่คณะแพทย์จัดทำขึ้นในโอกาสพิเศษ เช่น ครบรอบการก่อตั้งคณะ 45 ปี หรือ 50 ปี หรือหนังสือของอาจารย์ในคณะแพทย์ที่จัดทำขึ้นมาในโอกาสพิเศษต่างๆเช่นกัน
          2. บริการชั้น 7
          1. บริการวารสารเล่มปลีกวารสารเย็บเล่ม
          2. บริการชี้แหล่งวารสาร
          3. บริการค้นหาวารสาร และ บทความวารสาร
          4. บริการตอบคำถามช่วยการค้นคว้า การค้นบทความฉบับเต็ม โดยใช้
VPNให้บริการโรงพยาบาลสมทบ
          5. บริการติดตามวารสารที่เข้าใช้ไม่ได้
           หลังจากนั้น คุณอัมพร  อินทรัตน์ ได้เพิ่มเติมรายละเอียดของบริการหรือกิจกรรม Free Book For Shared ซึ่งเป็นหนังสือหรือทรัพยากรอื่นๆที่ได้รับบริจาคจากผู้ใช้หรือเป็นหนังสือที่ห้องสมุดได้บริจาคให้แก่ผู้ใช้ โดยก่อนที่จะนำหนังสือออกให้บริการนั้น จะต้องกรอกข้อมูลของหนังสือลงในแบบฟอร์มก่อน หากหนังสือเล่มไหนที่ห้องสมุดบริจาคนั้นจะมีจุดสีเขียวติดอยู่ที่ตัวเล่ม ซึ่งรายชื่อหนังสือที่ได้บริจาคออกไปนั้น บุคลากรสามารถตรวจสอบรายชื่อได้ที่ไฟล์ที่แชร์ให้ ชื่อไฟลล์ Data Free Book 4 Shared ซึ่งหลังจากนี้จะแชร์ไฟล์ให้แก่บุคลากรในห้องสมุดทุกๆคน เพื่อให้สามารถตรวจสอบข้อมูลของหนังสือบริจาคได้              
          นอกจากนี้ ยังมีการถามคำถามและตอบคำถามในการแลกเปลี่ยนความรู้ในครั้งนี้  ซึ่งได้รับข้อมูลเพิ่มเติม ดังนี้
         1. การสั่งซื้อหนังสือเป็นการส่วนตัวของนักศึกษาและอาจารย์มีความถี่ในการใช้งานนานๆคร้ง แต่ก็ยังมีการใช้บริการอยู่เรื่อยๆ
          2. บริการหนังสือเก่าในห้องหนังสือเก่า มีหนังสือภาษาอังกฤษตั้งแต่ปี 1980-1999 และหนังสือภาษาไทย ตั้งปต่ปี 2523-2542 ในการให้บริการนั้น ส่วนใหญ่ผู้ใช้จะมีเลขหมู่หนังสือที่ต้องการแล้ว และมาหาเจ้าหน้าที่หน่วยเทคนิคเพื่อช่วยผู้ใช้ในการค้นหาต่อไป 
          3. การต้นหาวิทยานิพนธ์ ในห้องหนังสือเก่า เนื่องจากปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ให้บริการในห้องหนังสือเด่า และมีการย้ายพื้นที่จัดเก็บวิทยานิพนธ์ จึงทำให้การค้นหาตัวเล่มทำได้ช้าลง และเนื่องจากปัจจุบันจะแนะนำให้ผู้ใช้ใช้บริการ
E-Thesis ในฐานข้อมูลของสำนักหอสมุดมากยิ่งขึ้น จึงจะแนะนำให้ผุ้ใช้ใช้บริการนั้นก่อน ก่อนที่จะมาหาตัวเล่มในห้องหนังสือเก่า
          4. งบประมาณที่ใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาห้องสมุดในสวน ยังไม่ได้กำหนดงบประมาณที่แน่นอนไว้ล่วงหน้า และก็ให้ความสำคัญและจะพัฒนาปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ
           สำหรับกิจกรรม KM ในครั้งนี้มีสมาชิกชุมชนให้ความสนใจเข้าร่วมอบรมจำนวน 18 คน จากสมาชิกของชุมชนทั้งหมด 27 คน คิดเป็นร้อยละ 67 ซึ่งคาดว่าสมาชิกชุมชนที่มาเข้าร่วมกิจกรรม KM ในครั้งจะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับบริการพื้นฐานของห้องสมุด (ชั้น5 และชั้น7)  และสื่อที่วิทยากรนำเสนอในครั้งนี้ จะจัดเก็บไว้ในคลังความรู้ของกิจกรรม KM  ของทางชุมชน  ซึ่งสมาชิกในชุมชนสามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น